เครือข่ายการค้าภายในภูมิภาคเอเชีย: ความแข็งแกร่งในความหลากหลาย

ความหลากหลายของเอเชียช่วยสร้างซัพพลายเชนที่ครบวงจร สนับสนุนภาวะการค้าโลกตลอดช่วง 25 ปีที่ผ่านมา และในอีก 25 ปีข้างหน้า ความหลากหลายนี้ก็จะสร้างระบบนิเวศของผู้ซื้อและผู้ขายที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ ในห้วงเวลาที่เอเชียให้ความสำคัญมากขึ้นต่อการรองรับความต้องการภายในภูมิภาค

เอเชียเป็นพลังขับเคลื่อนหลักต่อการขยายตัวของการค้าโลก โดยมีสัดส่วนในการค้าโลกสูงถึงราว 62% ในปี 20171เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาได้ด้วยห่วงโซ่อุปทานแบบบูรณาการ ซึ่งมีมานานหลายปีและพัฒนาไปพร้อมๆ กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

ศูนย์กลางการผลิตแห่งเอเชียเกิดขึ้นครั้งแรกในทศวรรษ 1980 เป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ผลิตจากญี่ปุ่น ข้อตกลงพลาซ่า หรือ The Plaza Agreement (1985) ส่งผลให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ต้นทุนการผลิตภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น

และผลักดันให้ผู้ผลิตญี่ปุ่นต้องโยกย้ายฐานการผลิตในเอเชีย ถัดจากนั้นโรงงานในเอเชียก็มีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้มากขึ้น ก่อนที่จะตามมาด้วยการอ่อนค่าลงของสกุลเงินเอเชียในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 ต่อจากนั้นจีนก็กลายมาเป็น "โรงงานของโลก" หลังจากที่เข้ามาเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2001

CSeries-1Trade_Graph4
CSeries-1Trade_Graph2

บทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป

เครือข่ายซัพพลายแบบข้ามพรมแดนของเอเชียนั้น ถูกกำหนดมาจากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เครือข่ายยังสะท้อนถึงความหลากหลายในเชิงโครงสร้างและความหลากหลายของทรัพยากร หากย้อนกลับไปในปี 2005 ประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ (NIE) อย่างเกาหลี สิงคโปร์ และไต้หวัน ต่างผลิตและส่งออกคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในจำนวนมาก ส่วนประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างอินโดนีเซียและไทย สามารถส่งออกน้ำมันดิบและข้าวได้ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ทางฝั่งจีนก็เป็นผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก2

ก้าวอย่างรวดเร็วมาจนถึงทุกวันนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นได้เปลี่ยนบทบาทของประเทศต่างๆ โดย Simon Liu ซีไอโอของ Eastspring Taiwan ได้ตั้งข้อสังเกตว่าไต้หวันเปลี่ยนจากการส่งออกสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นอย่างเช่นสิ่งทอและเครื่องใช้ในครัวเรือนในช่วงทศวรรษ 1990 มาเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งรวมถึงชิปเซมิคอนดักเตอร์ สมาร์ทโฟน และปิโตรเคมีในช่วงทศวรรษ 2010

เมื่อปี 1996 ความแตกต่างระหว่างค่าจ้างในญี่ปุ่นและจีนอยู่สูงถึง 46 เท่า และมาในปี 2016 ส่วนต่างนี้แคบลงเหลือ 4 เท่า เมื่อค่าแรงของจีนสูงขึ้น เวียดนามได้กลายมาเป็นศูนย์กลางในการผลิตเพื่อการส่งออกสำหรับสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น สามารถดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนที่สำคัญมาจากญี่ปุ่นและเกาหลี ในขณะเดียวกัน จีนมีการยกระดับอุตสาหกรรมขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ในปัจจุบันมีสัดส่วนกว่า 40% ของการส่งออกทั้งหมดของจีนประกอบด้วยเครื่องจักร เครื่องมือ/อุปกรณ์ และคอมพิวเตอร์3

งานวิจัยระบุว่าในขณะที่รายได้ต่อหัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น จึงควรมีการปรับเพิ่มสัดส่วนของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม จากที่เป็นผลผลิตขั้นต้น (primary) มาเป็นขั้นกลาง (secondary) แล้วมุ่งต่อไปเป็นอุตสาหกรรมบริการ (tertiary industries) 4. แต่ถึงแม้จะมีบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เอเชียยังคงเชื่อมโยงการค้าระหว่างกันได้อย่างแข็งแกร่ง โดยงานวิจัยชี้ให้เห็นตัวอย่างประเทศเกาหลี ที่ได้ปรับปรุงการเชื่อมโยงด้านห่วงโซ่คุณค่าที่แข็งแกร่งกับอินเดีย ในขณะที่ 4 ประเทศอาเซียน (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย) ยังคงเชื่อมโยงอย่างแข็งแกร่งกับจีน อินเดีย และสิงคโปร์5

ในปี 2017 สัดส่วนการค้าภายในภูมิภาคต่อการค้ารวมอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 57.8% (คิดตามมูลค่า) เพิ่มขึ้นจากประมาณ 45% ในปี 1990 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการค้าในเอเชียที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ดูรูปที่ 1

รูปที่ 1: มากกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าที่ซื้อขายในเอเชียแปซิฟิค เป็นการซื้อขายระหว่างกันภายในภูมิภาค (intraregional) 6

สัดส่วนการค้าภายในภูมิภาคต่อการค้ารวม แยกตามภูมิภาค ปี 2017 (%)

CSeries-1Trade_Graph3

ในขณะที่สหภาพยุโรป (EU) ดูเหมือนจะเป็นเขตการค้าที่มีบูรณาการแน่นแฟ้นมากขึ้น ด้วยสัดส่วนการค้าภายในภูมิภาคสูงถึง 63% (จากรูปที่ 1) แต่การเชื่อมโยงการค้าภายในอาเซียนดูมีความแนบแน่นมากกว่า ถ้าดูผ่านดัชนีวัดความเข้มข้นทางการค้าภายในภูมิภาคของอาเซียน (intra-regional trade intensity index: TII) อยู่ที่ 3.70 ในปี 2017 สูงกว่าตัวเลขของ EU ที่อยู่ระดับ 1.907ตัวเลข TII ที่สูงขึ้นนี้หมายถึงการค้าของภูมิภาคมุ่งเน้นมายังประเทศสมาชิก มากกว่าไปที่ส่วนอื่นๆ ของโลก ความแตกต่างของตัวเลขนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากสัดส่วนการค้าภายในภูมิภาคมีการบิดเบือนจากขนาด ซึ่งไม่เหมือนกับ TII การที่ภูมิภาคยิ่งมีขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีสัดส่วนการค้าภายในภูมิภาคมากขึ้นตามไปด้วย ตัวเลข TII ที่สูงของอาเซียนจึงเป็นการสะท้อนถึงเครือข่ายการผลิตที่แนบแน่นในภูมิภาค

CSeries-1Trade_Graph1

ความสัมพันธ์ที่ผูกโยงกัน

การพึ่งพากันทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาคนั้นเป็นเหมือนกับดาบสองคม ผลกระทบทางด้านลบจากกรณีพิพาทในเรื่องการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นาน ได้ฉุดให้การส่งออกลดลง ทั้งในไต้หวัน สิงคโปร์ และเกาหลีในช่วงเดือนแรกๆ ของปี 2019 เนื่องจากผู้ผลิตต่างมองหาแหล่งทางเลือกอื่นๆ เพื่อผลิตสินค้าส่งเข้าไปยังตลาดสหรัฐ ซัพพลายเชนของเอเชียจึงน่าจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง และทำให้เกิดได้ทั้งผู้ชนะและผู้แพ้

แต่ในขณะเดียวกัน การพึ่งพากันและกันนี้อาจให้ผลดี เพราะระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนั้นหมายความว่าเอเชียกำลังเริ่มผลิตเพื่อการบริโภคของตนเองมากขึ้น บริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญมากขึ้นต่อความรวดเร็วในการทำตลาด และความสามารถในการมองซัพพลายเชนได้อย่างทั่วถึงกว่าเดิม ซัพพลายเชนจึงสั้นลงและเข้าถึงผู้คนในท้องที่มากขึ้น ปัจจุบันมีแนวโน้มใหม่เกิดขึ้นเมื่อมีบริษัทที่สร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีขอบเขตภายในภูมิภาค เพียงเพื่อรองรับความต้องการของตลาดเอเชีย8

ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่

ตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ภายใต้การคาดการณ์ในกรณีที่มองด้านบวกมากๆ หากเอเชียสามารถกำจัดภาษีสินค้าและลดมาตรการกีดกันที่ไม่ได้อยู่ในรูปภาษีสำหรับบริการ จีดีพีของเอเชียจะเติบโตเฉลี่ย 12% และเศรษฐกิจของบางประเทศอาจเห็นผลผลิตที่มีอัตราการขยายตัวเข้าใกล้ 20%9

เพราะว่าคำพูดนั้นง่ายกว่าการกระทำ มาตรการล่าสุดของญี่ปุ่นที่ห้ามนำเข้าสินค้าบางรายการจากเกาหลีถือเป็นเครื่องเตือนใจว่าความสัมพันธ์อาจไม่ราบรื่นเสมอแม้แต่ในหมู่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม เอเชียนับว่ามีความก้าวหน้าในการเจาะเข้าถึงตลาดภายในภูมิภาคได้มากขึ้น โดยในปี 2017 อาเซียนได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับฮ่องกงและจีน ซึ่งนับเป็นข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนที่ได้มีการลงนามเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ ในขณะเดียวกัน ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ยังคงอยู่ในระหว่างการเจรจา ซึ่งภาคีในการเจรจารวมถึง 10 ประเทศในอาเซียน และคู่ค้าอย่างออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี และนิวซีแลนด์ และหากได้ข้อสรุป RCEP จะเป็นกลุ่มการค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นที่อยู่ของประชากรโลกเกือบ 50% และมีสัดส่วนที่สูงกว่า 30% ของการค้าโลก ด้าน Woong Park ซีไอโอของ Eastspring เกาหลี เชื่อว่า RCEP จะเพิ่มสัดส่วนการค้าโลกให้กับประเทศในภูมิภาคและส่งผลให้มีการจัดสรรทรัพยากรที่ดีขึ้น ซึ่งในที่สุดแล้วจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศในเอเชีย รวมทั้งเกาหลี

ท่ามกลางกระแสการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้นในโลกตะวันตก จึงถึงเวลาที่เอเชียจะกลับมาพิจารณาโมเดลการส่งออกในปัจจุบัน จากที่ได้มุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการขั้นสุดท้ายในภูมิภาคอื่นๆ มาเป็นโมเดลที่สามารถรองรับความต้องการขั้นสุดท้ายภายในภูมิภาคได้มากยิ่งขึ้น สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้อีกครั้งจากความหลากหลายของเอเชีย ที่มีระดับการเติบโตแตกต่างกัน มีระดับรายได้แตกต่างกัน และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นการสร้างระบบนิเวศของผู้ซื้อและผู้ขายที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

Sources:
1 Trade and the Global Value Chain.
2 Patterns and Global Value Chains in East Asia.
3 2018 figures. http://www.worldstopexports.com/chinas-top- 10-exports.
4 The law of Petty-Clark.
5 Over 2010 – 2017. Asian Economic Integration Reports. 2018.
6 Asia’ future is now. McKinsey Global Institute. 2019.
7 https://artnet.unescap.org, Asia Regional Integration Centre.
8 Asia’s future is now. McKinsey Global Institute. 2019.
9 Asia at the forefront: Growth challenges for the next decade and beyond. Internal Monetary Fund. October 2018.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.