PVD to RMF คืออะไร

ทางเลือกสำหรับสมาชิกที่ลาออกจากงานหรือสมาชิกคงเงินสามารถโอนย้ายเงินจาก PVD ไปลงทุนต่อเนื่องใน RMF

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund หรือ PVD)

คือ กองทุนที่นายจ้าง และลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว กรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF)

คือ กองทุนรวมประเภทที่ส่งเสริมให้เกิดการออมเงินระยะยาวไว้ สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ซึ่งคล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีวัตถุประสงค์หลักส่งเสริมการออมระยะยาว เพื่อประโยชน์ ในยามชราภาพของลูกจ้าง

PVD to RMF เหมาะกับใคร

สมาชิกที่ลาออกจากงาน ไปทำธุรกิจส่วนตัว ทำงานอิสระ ไม่มีนายจ้าง

สมาชิกที่เปลี่ยนย้ายงาน แต่ไม่อยากโอน PVD ไปยังนายจ้างใหม่ หรือ นายจ้างใหม่ไม่มี PVD

สมาชิกคงเงินที่ไม่ต้องการคงเงิน PVD ไว้กับนายจ้างเดิม

สมาชิกที่นายจ้างปิดกิจการ หรือ ยกเลิกการมีสวัสดิการ PVD

ข้อดี PVD to RMF

ได้รับการยกเว้นภาษี

เมื่อออมต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี และนับอายุสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี

เพิ่มโอกาสการลงทุน
มากกว่านโยบายที่นายจ้างกำหนด

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการโอนย้าย

ประหยัดค่าใช้จ่าย (500 บาทต่อปี) เมื่อเทียบกับทางเลือกการคงเงิน

Promotion พิเศษ

ลงทุน 50,000 บาท ได้สิทธิรับกองทุนตลาดเงินมูลค่า 100 บาท

เพียงสะสมยอดเงินลงทุนสุทธิใน RMF ของ บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) ทุกๆ 50,000 บาท รับเงินลงทุนพิเศษ ในกองทุนเปิดธนชาตบริหารเงินมูลค่า 100 บาท

(ตามเงื่อนไขที่ บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) กำหนด)

1. รายการส่งเสริมการขายนี้ จะคำนวณตามยอดซื้อและสับเปลี่ยนเข้าสุทธิตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 29 ธันวาคม 2566 ในกองทุน RMF ภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) ทั้งนี้ ยอดเงินลงทุนสุทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว ไม่สามารถทำการขาย สับเปลี่ยน หรือโอนเปลี่ยนมือ หรือโอนหน่วยลงทุนไปยัง บลจ.อื่นได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก่อนวันที่ 30 เมษายน 2567 ยกเว้นการสับเปลี่ยนระหว่างกองทุน RMF ด้วยกัน ภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) เท่านั้น

2. สิทธิ์ในการรับเงินลงทุนพิเศษในกองทุนเปิดธนชาตบริหารเงิน (T-CASH) เป็นกองทุนรวมตลาดเงิน จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยนับจากยอดซื้อ และสับเปลี่ยนเข้าสุทธิในกองทุน RMF, SSF หักด้วยยอดการขายคืนหน่วย สับเปลี่ยนออก หรือโอนหน่วยลงทุน RMF, SSF ไปยัง บลจ.อื่น ยกเว้นการขายคืนที่ถูกต้องตามเงื่อนไขทางภาษีตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร

3. บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จะทำการโอนเงินลงทุนพิเศษเข้าในกองทุนเปิดธนชาตบริหารเงิน (T-CASH) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับสิทธิ์ตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าวภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2567

เงื่อนไข PVD to RMF

กรณีจะได้รับยกเว้นภาษีจากการขายคืน เงินที่โอนจาก PVD to RMF ต้องถือครองให้ครบเงื่อนไข อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และมีอายุสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี

เงินท่ีโอนจาก PVD to RMF ไม่สามารถนํามารวมคํานวณกับยอดเงิน ลงทุนใน RMF ปกติ และไม่สามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้อีก

PVD to RMF ไม่ต้องลงทุนทุกปี หรือปีเว้นปี

เงินท่ีโอนจาก PVD to RMF ไม่สามารถโอนกลับมาเข้าระบบ PVD ได้

ทางเลือกลงทุนหลากหลายสินทรัพย์
ทั้งในและต่างประเทศ

TMBAM Eastspring

Thanachart Fund Eastspring

TMBAM Eastspring

Thanachart Fund Eastspring

วิธีการโอนย้าย PVD to RMF

เปิดบัญชีพร้อมกรอกแบบฟอร์มเพื่อรับโอน PVD to RMF

ผู้ลงทุนนำหลักฐานการเปิดบัญชียื่นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • ลาออกจากงานแล้วโอนทันทียื่นเอกสารผ่านผู้ประสานงานกองทุนของนายจ้าง
  • สมาชิกคงเงินยื่นเอกสารกับบลจ.ต้นทาง

บลจ.ต้นทางส่งเช็คพร้อมเอกสาร PVD ให้ บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย)

บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) ทำรายการรับโอน PVD to RMF

คำเตือน

• ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าว และควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน
• บางกองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนโดยอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืน ต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
• การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
• บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกประเทศหรืออุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินจำนวนมาก
• แม้ว่ากองทุนรวมตลาดเงินลงทุนได้เฉพาะทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีโอกาสขาดทุนได้
• ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของบริษัทจัดการ โดยขอรับหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญได้ที่ บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) โทร 1725 , ttb ทุกสาขา และผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับการแต่ง