การลงทุนหุ้นเติบโตในเอเชีย : คว้าโอกาสจากกระแสการเติบโตครั้งใหม่ของจีน

แรงผลักดันที่อาจทำให้ตลาดหุ้นจีนได้รับการปรับเพิ่มระดับความน่าลงทุนอีกครั้งในปี 2022 นั้นได้แก่นโยบายที่ผ่อนคลาย การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่เป็นไปอย่างราบรื่น และสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่ลดความเข้มข้นลง ในขณะเดียวกัน ความคาดหวังที่มีต่อแนวโน้มการเติบโตครั้งใหม่ของจีนก็ได้เปิดโอกาสในการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับการวางลำดับความสำคัญทางนโยบายของประเทศและได้รับประโยชน์จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

ดังที่ปรากฏชัดเจนว่าเศรษฐกิจจีนกำลังเติบโตช้าลงในปี 2022 ซึ่งในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ (National People’s Congress) ในปีนี้ รัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ 5.5% ในปี 2022 ลดลงจาก 6% ในปี 2021 แต่นั่นก็ยังถูกนักวิเคราะห์มองว่าเป็นเป้าหมายที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ มาตรการที่มุ่งลดการก่อหนี้ของภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 2021 ยังคงส่งผลกระทบต่อธุรกิจภายในกลุ่มและเศรษฐกิจในภาพกว้างต่อไป ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรอยู่ในทิศทางที่ชะลอตัวลง แม้ว่าความต้องการในสินค้าส่งออกจะยังอยู่ในระดับสูงซึ่งสะท้อนว่าการลงทุนในภาคการผลิตยังค่อนข้างแข็งแกร่ง ในขณะเดียวกัน นโยบายปลอดโควิด (zero-COVID policy) ของจีนได้ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของผู้คนและการบริโภคในประเทศ

เราคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวเป็นรูปตัว L ในปีนี้จากแรงสนับสนุนของนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย และบางมาตรการที่ช่วยสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น การปรับลดสัดส่วนเงินดาวน์ในเมืองระดับกลาง/ล่าง และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระดมทุนในช่วง pre-sales โดยในปีนี้เรื่องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจะมีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ในช่วงที่กำลังจะมีการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 ซึ่งจะมีการเลือกผู้นำคนใหม่ของจีนในอีกห้าปีข้างหน้า

นโยบายปลอดโควิดของจีนยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะหยุดชะงักในภาคการผลิตและการบริโภคในประเทศ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงหรือการผ่อนคลายด้านนโยบายใดๆ จึงน่าจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจมีโอกาสสร้างความประหลาดใจในทิศทางบวกได้ตามมุมมองของเรา การออกรายงานการวินิจฉัยและการรักษาฉบับที่ 9 สำหรับโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเมื่อวันที่ 15 มีนาคมนั้น ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าอาจมีการผ่อนคลายนโยบาย ซึ่งการฟื้นฟูและการเปิดเศรษฐกิจของจีนอย่างเต็มรูปแบบไม่เพียงแต่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของตลาดให้ดีขึ้นด้วย

นโยบายที่มุ่งให้ความสำคัญในด้านต่างๆ เพื่อการเติบโตใหม่ของจีน

จีนกำลังพยายามเปลี่ยนจากโมเดลการเติบโตในรูปแบบเก่าซึ่งส่วนใหญ่พึ่งพาการเติบโตของสินเชื่อและการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่เศรษฐกิจจีนก็ต้องการแรงขับเคลื่อนที่มากขึ้นจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี กลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นภาคเศรษฐกิจใหม่ การบริโภคที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และการให้ความสำคัญมากขึ้นกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้จีนให้ความสำคัญกับโมเดลเศรษฐกิจแบบวงจรคู่ขนาน (dual-circulation) ความมั่นคงด้านพลังงาน และการพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยี ดูรูปที่ 1 การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะต้องใช้เวลาและจะชะลอการเติบโตในระยะเวลาอันใกล้นี้ไปจนถึงระยะกลาง แต่คาดว่าจะนำไปสู่การมีคุณภาพที่ดีขึ้นและการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว

รูปที่ 1: นโยบายที่มุ่งให้ความสำคัญทางเศรษฐกิจของจีนในช่วง 5 ปีข้างหน้า

growth-investing-in-asia-seizing-the-opportunities-from-china-s-new-growth-narrative-fig-1

ที่ผ่านมาจีนเคยเป็นโรงงานของโลก โดยผลิตสินค้าราคาถูกจากการใช้ประโยชน์จากกำลังแรงงานที่มีมหาศาล ซึ่งการเพิ่มความแข็งแกร่งในห่วงโซ่อุปทาน จีนได้พยายามเร่งผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าด้วยการสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าครั้งสำคัญในเทคโนโลยีหลัก อุปกรณ์และวัสดุต่างๆ จีนอาจมีความสามารถด้านเทคนิคขั้นสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ และในขณะเดียวกัน ยังเป็นแหล่งแรงงานคุณภาพสูงที่มีค่าจ้างถูกกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยเหตุนี้ ความได้เปรียบเฉพาะด้านของจีนจึงเป็นการวางตำแหน่งที่ดีภายใต้พัฒนาการของห่วงโซ่อุปทานโลก

ในขณะเดียวกัน การที่จีนมีเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral) ภายในปี 2060 การลงทุนด้านพลังงานสีเขียวจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป ดูรูปที่ 2 นอกจากนี้ การพุ่งทะยานของราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนเมื่อเร็วๆ นี้ ก็อาจช่วยเร่งการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนอย่างเช่นพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม

รูปที่ 2 : การลงทุนในพลังงานสีเขียว (หน่วย: พันล้านหยวน)

growth-investing-in-asia-seizing-the-opportunities-from-china-s-new-growth-narrative-fig-2

การจัดลำดับความสำคัญใหม่ นำพาสู่โอกาสใหม่ๆ

เราเห็นโอกาสในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตที่มีคุณภาพสูงขึ้นในเศรษฐกิจจีน ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมายความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันจะช่วยเพิ่มขนาดของชนชั้นกลาง และทำให้ช่องว่างด้านความมั่งคั่งลดแคบลงซึ่งจะช่วยผลักดันการบริโภค เรื่องนี้สะท้อนว่ายังมีโอกาสในกลุ่มสินค้าผู้บริโภค เช่น ชุดกีฬา เครื่องสำอาง และสินค้าปลอดภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

เราค่อนข้างชอบธุรกิจชั้นนำในประเทศในกลุ่มเหล่านี้ซึ่งโดดเด่นในแง่ของการกระจายสินค้าออกสู่ตลาด การสร้างแบรนด์ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ การที่ประชากรจีนในสัดส่วนที่น้อยกว่า 10% มีหนังสือเดินทาง เราจึงเชื่อว่ามีโอกาสสำคัญในกลุ่มการท่องเที่ยวและกลุ่มที่เกี่ยวกับการให้บริการ (Hospitality sectors) อย่างไรก็ตาม

แม้ว่าเราจะมองบวกต่อแนวโน้มการเติบโตของการบริโภคในประเทศในระยะยาว แต่เราก็ตระหนักถึงผลกระทบด้านลบที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากการพิจารณาใช้กฎเกณฑ์ก่อนหน้านี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์และอินเทอร์เน็ตซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคในระยะใกล้นี้

หากดูภายในกลุ่มพลังงานสะอาด เราชอบบริษัทที่ครองส่วนแบ่งตลาดใหญ่ในประเทศอยู่แต่เดิม แต่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเจาะตลาดโลกได้ นอกจากนี้ การที่จีนกำลังเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มจำนวนข้อมูลก็จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัททางด้านคลาวด์คอมพิวติ้งด้วยเช่นกัน จีนยังคงให้การส่งเสริมในเรื่องนวัตกรรมและการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา เราจึงชอบบริษัทที่จะได้รับประโยชน์จากความพยายามของจีนในการมุ่งผลิตเพื่อทดแทนจากภายในประเทศทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

ส่วนธุรกิจการเงินของจีนก็มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการขยายตัวเชิงโครงสร้างของภาคการบริโภคและการสร้างความมั่งคั่งภายในประเทศ เป้าหมายความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันได้เพิ่มขนาดและความมั่งคั่งของชนชั้นกลางซึ่งท้ายที่สุดจะช่วยกระตุ้นความต้องการสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคที่มีอัตรากำไรสูงขึ้น รวมทั้งบริการด้านการบริหารความมั่งคั่งและผลิตภัณฑ์ประกัน

ผลงานที่ย่ำแย่กว่าเซ็กเตอร์อื่นๆ ของธุรกิจอินเทอร์เน็ตของจีนนั้น เกิดจากอุปสรรคด้านกฎระเบียบและการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัวลงเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งการที่กลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวกำลังเติบโตและมีความสำคัญมากขึ้นทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นต้องมีกรอบการกำกับดูแลเพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่ยั่งยืนมากขึ้นสำหรับการเติบโตในอนาคต แม้ว่าบริษัทอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่อาจก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกี่ยวกับเครือข่ายและการเข้าถึง/ควบคุมข้อมูลผู้บริโภค

แต่ก็มีความสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเพิ่มผลิตภาพในระบบเศรษฐกิจด้วย ดังนั้น ในกรณีของจีนซึ่งอาจมีการออกกฎระเบียบเพิ่มเติมในปี 2022 แต่สิ่งที่แย่ที่สุดที่รออยู่อาจเป็นเรื่องของความเข้มข้นด้านกฎระเบียบก็เป็นได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ลงทุนในการเลือกบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีนวัตกรรม มีโมเดลทางธุรกิจที่แข็งแกร่งและประวัติการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมเพื่อการลงทุนในระยะยาว ในขณะเดียวกัน มูลค่าของตลาดหุ้นจีนก็ดูมีความน่าสนใจ ดูรูปที่ 3

รูปที่ 3 : การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ คาดการณ์ปี 2022 (เท่า)

growth-investing-in-asia-seizing-the-opportunities-from-china-s-new-growth-narrative-fig-3

การขับเคลื่อนนโยบายช่วยหนุนตลาดหุ้น A-Share ของจีน

ที่ผ่านมาตลาดหุ้น A-share ของจีนเป็นตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยนโยบาย งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าหุ้น A-share ของจีนมีค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ที่สูงกว่า 0.46 เมื่อเทียบกับตัวแปรด้านนโยบาย ในขณะที่ตลาดแบบ offshore ของจีนมีค่าสหสัมพันธ์ที่ต่ำกว่าที่ 0.241 ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสนับสนุน และนอกเหนือจากโอกาสที่พบในกลุ่มพลังงานสีเขียวและกลุ่มผู้บริโภคที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว เรายังเห็นโอกาสการลงทุนในผู้ชนะระดับท้องถิ่นซึ่งอยู่ในภาคการผลิตขั้นสูง (เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรม วัสดุ) การที่ตลาด A-share มีระดับการเปิดรับอย่างมากต่อกลุ่มวัสดุ การดูแลสุขภาพ อุตสาหกรรม สินค้าผู้บริโภคที่จำเป็น และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนภาวะความไร้ประสิทธิภาพของตลาดโดยรวม เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่ายังมีกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่สำหรับผู้เลือกหุ้นที่ต้องการเพิ่มค่าอัลฟ่า

ในขณะที่ตลาด A-share มีบทบาทเพิ่มขึ้นในดัชนี MSCI Emerging Markets ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนการเป็นเจ้าของจากผู้ถือหุ้นต่างประเทศเมื่อเวลาผ่านไป เราก็น่าจะเห็นความสนใจจากผู้ลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้นด้วยในขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ปัจจุบันภาคครัวเรือนจีนได้จัดสรรสินทรัพย์เพียง 32% มาอยู่ในรูปสินทรัพย์ทางการเงิน เมื่อเทียบกับครัวเรือนสหรัฐและญี่ปุ่นที่มีสัดส่วนถึง 71% และ 63% ตามลำดับ โดยการมีบัญชีเพื่อถือหุ้นโดยตรงคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่า 10% ของสินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือนจีน ซึ่งส่วนใหญ่ (66%) ยังคงเป็นเงินสดและเงินฝาก สัดส่วนการถือครองเงินสดและเงินฝากนี้ถือว่าสูงแม้ว่าจะเทียบกับตลาดเกิดใหม่แห่งอื่นๆ อย่างเช่น บราซิล (22%) และชิลี (13%) ดูรูปที่ 4 อย่างไรก็ตาม การที่จีนพยายามปรับปรุงระบบความมั่นคงทางสังคมให้ดีขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าการจัดสรรไปลงทุนในหุ้นของภาคครัวเรือนจีนรวมทั้งการลงทุนอื่นๆ น่าจะเพิ่มขึ้น

รูปที่ 4 : โครงสร้างการถือครองสินทรัพย์ทางการเงินในปี 2018 แยกรายประเทศ

growth-investing-in-asia-seizing-the-opportunities-from-china-s-new-growth-narrative-fig-4

ณ ช่วงเวลาที่จัดทำบทความนี้ ตลาดหุ้น A-Share ของจีนมีอัตราส่วนราคาต่อกำไรคาดการณ์ (forward price to earnings ratio) อยู่ที่ประมาณ 10 เท่า2 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 10.5 เท่า และใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดอันเป็นผลจาก COVID ที่ 9 เท่า

ไม่ใช่การคาดการณ์ในทิศทางเดียว แต่จำเป็นต้องเลือกหุ้นในเชิงรุก

เราเชื่อว่ามูลค่าที่น่าดึงดูดและบรรยากาศของตลาดหุ้นจีนที่ดูซบเซาในปัจจุบัน ได้นำเสนอโอกาสสำหรับผู้ลงทุนระยะยาวและผู้ที่มีมุมมองสวนทางกับผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่ในการมองหาจุดเข้าที่น่าสนใจ

ความผันผวนของตลาดหุ้นจีนในช่วงไม่กี่ปีมานี้แสดงให้เห็นว่าการลงทุนในจีนไม่ใช่การคาดการณ์ไปในทิศทางเดียว บางกลุ่มอุตสาหกรรมกำลังเติบโตไปพร้อมกับวัฏจักรเศรษฐกิจในภาพใหญ่ และก็มีหลายเซ็กเตอร์ที่อาจเคลื่อนไหวไปตามวัฏจักรเฉพาะของอุตสาหกรรมตนเอง กุญแจสำคัญก็คือการระบุถึงกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ในวัฏจักรขาขึ้นและการคัดเลือกบริษัทผู้ชนะด้วยการคำนึงถึงปัจจัยรอบด้านโดยพิจารณาจากความสามารถในการแข่งขัน ความแข็งแกร่งทางการเงิน และกรอบการกำกับดูแล ซึ่งเมื่อนั้นผู้ลงทุนก็จะสามารถเดินอยู่ในแถวหน้าบนเส้นทางการเติบโตใหม่ของจีนได้ในที่สุด

บทความนี้เป็นบทความที่สองจากซีรีส์ที่มีทั้งหมดแปดบทความซึ่งได้สำรวจกลยุทธ์การลงทุนต่างๆ ที่ผู้ลงทุนสามารถนำไปปรับใช้เพื่อคว้าโอกาสที่กำลังเกิดขึ้นในเอเชีย

Sources:
1 Goldman Sachs. Portfolio Strategy Research. January 2022. Based on monthly data since 2012. Offshore China proxied by MXCN while China A shares proxied by CSI300 index.
2 As of 15 March 2022.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.