ทำไม ‘ตราสารหนี้จีน’ คือ คุณค่าที่คู่ควร

ตลาดตราสารหนี้สกุลเงินหยวนของจีน นำเสนอทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายสำหรับผู้ลงทุนทั่วโลกที่ต้องการกระจายความเสี่ยง และมองหาผลตอบแทนที่น่าดึงดูด และน่าสนใจมากกว่าตลาดพัฒนาแล้วที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ด้วยรูปแบบของตลาดที่มีลักษณะเฉพาะแห่งนี้ ได้กลายเป็นที่ดึงดูดสำหรับการลงทุนเชิงรุกเพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ผู้กำหนดนโยบายของจีนดำเนินการปฏิรูปมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเปิดกว้างตลาดตราสารหนี้ในประเทศ เพราะทางการจีนก็รู้ดีว่า ตลาดตราสารหนี้ในประเทศนั้นได้รับความสนใจ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน โดยมีจำนวนผู้ลงทุนจากต่างประเทศเข้ามามีบทบาท และมีส่วนร่วมในตลาดนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลังจากมีการจัดตั้ง China Interbank Bond Market Direct Access ในปี 2016 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์มการซื้อขาย Bond Connect ในปี 2017 และการรวมตราสารหนี้ของจีนเข้าไปอยู่ใน Bloomberg Barclays Global Aggregate Index ในปี 2019 นอกจาก การเปิดช่องทางการเข้าถึงตลาดตราสารหนี้ของจีนแล้ว ตลาดตราสารหนี้ของจีนยังน่าสนใจด้วยหลากหลายเหตุผล

ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะมองข้าม

ความรวดเร็วในการเติบโตของตลาดตราสารหนี้ของจีนได้แสดงให้เห็นถึงความต้องการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ กลุ่มตราสารหนี้จีนขยายตัวขึ้นจาก 286 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2000 มายืนเหนือกว่า 14.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ เดือนมิถุนายนปี 20201. It is the world’s 2nd ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา โอกาสเติบโตมีมากขึ้นเนื่องจากสัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อ GDP ยังคงอยู่ตามหลังตลาดพัฒนาแล้ว แน่นอนว่า ผู้ลงทุนทั่วโลกไม่สามารถเพิกเฉยต่อโอกาสการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในตลาดตราสารหนี้ระหว่างประเทศของจีนที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วและมั่นคง

รูปที่ 1: หนี้ภาครัฐของจีนอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับตลาดพัฒนาแล้ว

why-china-bonds-offer-good-value-Fig1

ข้อดีจากการกระจายความเสี่ยง

ตราสารหนี้ของจีนให้คุณสมบัติด้านการกระจายความเสี่ยงที่ดีสำหรับผู้ลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลก เพราะมีการเชื่อมโยง ผันแปรไปตามทิศทางขอตลาดตราสารหนี้อื่นๆ น้อย ซึ่งเป็นผลมาจากตลาดตราสารหนี้ของจีนนั้นได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายในประเทศมากกว่าถูกกระทบจากเหตุการณ์ระดับโลก

เพราะฐานของผู้ลงทุนในประเทศที่มีขนาดใหญ่ เทียบกับสัดส่วนของผู้ลงทุนต่างชาติที่ค่อนข้างน้อย หมายความว่าความคาดหวังและแรงซื้อขายของผู้ลงทุนในประเทศกลายเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดตราสารหนี้ที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และอีกปัจจัยที่น่าสนใจ ก็คือ ความมีเสถียรภาพในเชิงเปรียบเทียบของค่าเงินหยวน ที่เห็นชัดเจน คือการที่ค่าเงินหยวนสามารถคงความแข็งแกร่งได้เป็นอย่างดีในช่วงที่เกิดภาวะการระบาด ซึ่งต่างจากค่าเงินของกลุ่มประเทศ G10 และตลาดเกิดใหม่บางประเทศกลับอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และแม้ว่าเงินหยวนจะได้รับการดูแล ควบคุมโดยทางการจีน แต่ปัจจัยอื่นๆ ก็มีส่วนช่วยสร้างเสริมเสถียรภาพด้วยเช่นกัน ข้อแรก คือ จีนนั้นคาดว่าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ สวนทางกับสหรัฐที่กำลังเผชิญภาวะถดถอยในปี 2020 นี้ ข้อที่สอง ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศกำลังปรับตัวดีขึ้น ผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง และข้อที่สาม ธนาคารกลางจีน (PBOC) ยังคงดำเนินการรักษาเสถียรภาพมาโดยตลอด และไม่มีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายปรับลดค่าเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ - จีนยังอยู่ในภาวะตึงเครียด อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้ของจีนไม่สามารถรอดพ้นจากสภาวะความผันผวน ซึ่งกลุ่มตราสารดังกล่าวแสดงถึงความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ทั่วโลกและของเอเชียเท่าที่ปรากฎจนถึงเดือนมีนาคมและเมษายน แต่ความผันผวนเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลด้านซัพพลาย

แต่ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่าผู้ลงทุนเช่น ธนาคารกลางและสถาบันต่างประเทศมีแนวโน้มถือครองตราสารหนี้สกุลเงินหยวนเพื่อเป้าหมายในการจัดสรรสินทรัพย์ในระยะยาว และมุ่งกระจายความเสี่ยง ความผันผวนในระยะสั้นที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันที่ต้องการลงทุนในตราสารจีน

รูปที่ 2: ค่าความสัมพันธ์เฉลี่ยห้าปีย้อนหลังระหว่างตราสารหนี้ของจีนและพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลก

why-china-bonds-offer-good-value-Fig2

ผลตอบแทนที่โดดเด่น…น่าดึงดูดใจ

แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกจะลดลง แต่ความสนใจของผู้ลงทุนต่างชาติในตราสารหนี้สกุลเงินหยวนของจีนยังคงแข็งแกร่ง และถึงแม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของจีนจะลดลงใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยเช่นกัน แต่นั่นก็ยังคงได้เปรียบหากเทียบกับตราสารหนี้รุ่นอายุเดียวกันของสหรัฐและตลาดพัฒนาแล้วอย่างมีนัยสำคัญ

จากคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดต่อไปอีกช่วงระยะหนึ่ง นั้นหมายความว่า อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ของจีนที่เพิ่มขึ้นจะยังคงดึงดูดผู้ลงทุนต่อไป และนอกจากอัตราผลตอบแทนที่น่าดึงดูดแล้ว ยังมีหลักฐานที่สะท้อนถึงการใช้เงินหยวนเป็นสกุลเงินสำรอง ธนาคารกลางหลายแห่งได้เพิ่มเป้าหมายทุนสำรองเงินหยวน เพื่อกระจายเงินออกจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและกลุ่มยูโรให้เป็นระบบสามสกุลเงินมากขึ้น

รูปที่ 3 : อัตราผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 10 ปี

why-china-bonds-offer-good-value-Fig3

หลากหลายทางเลือก

ความหลากหลายของผู้ออกตราสารนั้นมีตั้งแต่รัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น และองค์กรกึ่งรัฐ หรือสามารถเลือกได้จากตราสารหนี้ระดับ investment grade หรือต่ำกว่า จึงนับเป็นการนำเสนอโอกาสอย่างมากสำหรับผู้ลงทุนที่มีกลยุทธ์เชิงรุก แม้ว่าตราสารหนี้จีนในตลาด onshore และผู้ออกพันธบัตรจะมีหลายรูปแบบ แต่ยังคงถูกครองตลาดด้วยพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ของธนาคารเฉพาะกิจหรือธนาคารที่มีจุดประสงค์เฉพาะด้านนโยบาย (policy bank bonds) ซึ่งออกโดย China Development Bank, Agricultural Development Bank of China และ The Export-Import Bank of China ธนาคารที่ดำเนินนโยบายภายใต้รัฐบาลจีนนั้นมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนนโยบายด้วยการสนับสนุนด้านการเงินในโครงการที่กำหนด หรือร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมด้านการระดมทุนในบางโครงการ นอกจากนี้ ก็ยังมีทางเลือกที่มาจากตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนด้วยเช่นกัน

รูปที่ 4 : ยอดคงค้างตราสารหนี้ของจีนในตลาด onshore จำแนกตามประเภทตราสาร

why-china-bonds-offer-good-value-Fig4

แต่ผู้ลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่มักจะเลือกลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและ policy bonds เนื่องจากขาดความคุ้นเคยกับตลาดและความท้าทายดังที่ระบุไว้ โดย ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2020 การถือครองตราสารหนี้ทั้งสองประเภทนี้ของต่างชาติอยู่สูงถึง 1.34 ล้านล้านหยวน และ 0.54 ล้านล้านหยวนตามลำดับ ซึ่งคิดเป็น 60% และ 24% ของพอร์ตการลงทุนของผู้ลงทุนต่างชาติที่ถือครองตราสารหนี้ตลาด onshore ของจีน

รูปที่ 5 : สัดส่วนการถือครองตราสารหนี้ในตลาด onshore โดยผู้ลงทุนต่างชาติ จำแนกตามประเภทตราสาร

why-china-bonds-offer-good-value-Fig5

ระวัง…ทางเลือกที่มาพร้อมต้นทุน

เช่นเดียวกับการลงทุนประเภทอื่นๆ ตราสารหนี้แบบ onshore ของจีนก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เรื่องสภาพคล่องที่มีน้อยในตลาด อันดับเครดิตที่คลุมเครือ และกระบวนการทางกฎหมายที่ยังไม่แข็งแรงเพียงพอในการจัดการกับภาวะการผิดนัดชำระหนี้และการฟื้นตัว

ความกังวลเรื่องสภาพคล่องนั้นเกิดจากการที่ผู้ลงทุนในประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์และบริษัทประกัน ยังคงถือครองพันธบัตรในตลาด onshore เป็นส่วนใหญ่ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศมีข้อกำหนดในการถือพันธบัตรในลักษณะ "trading book" หรือ "hold to maturity book" ซึ่งในรูปแบบแรกนั้นตราสารหนี้จะต้องซื้อขายภายใน 90 วัน ด้วยเหตุนี้ธนาคารจึงต้องการถือตราสารหนี้จนครบกำหนด ส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดรองลดลง ดังนั้น นอกเหนือจากสัดส่วนโครงสร้างที่มีสภาพคล่องมากกว่าตลาดตราสารหนี้อย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลและ policy bonds ที่รวมอยู่ในดัชนี Bloomberg Barclays Global Index แล้ว สภาพคล่องในส่วนอื่นๆ ของตลาดก็ยังคงไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าสภาวะเช่นนี้จะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปและตลาดขยายตัวได้มากขึ้นทั้งปริมาณการซื้อขาย รวมถึงการพัฒนารูปแบบที่หลากหลายของตราสาร

ในทำนองเดียวกัน อันดับเครดิตและการผิดนัดชำระหนี้นับเป็นความท้าทายสำหรับผู้ลงทุน ซึ่งแนวคิดในเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ในช่วงก่อนหน้าปี 2014 นั้นไม่เคยถูกหยิบมาเป็นประเด็น ซึ่งส่งผลต่อมาตรฐานการกู้ยืมให้มีลักษณะของการประนีประนอม แต่นับตั้งแต่นั้นก็เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งมาพร้อมกับการผิดนัดชำระหนี้ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การพึ่งพาสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศอาจมีประเด็นในเรื่องความไม่เป็นธรรม เนื่องจากการให้คะแนนส่วนใหญ่มักมีอคติไปทางด้านบวก ผู้ออกตราสารหนี้มีความหลากหลายมากขึ้นโดยมีองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐออกตราสารมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจำแนกแบ่งกลุ่มเครดิตโดยสถาบันจัดอันดับในประเทศยังคงมีประสิทธิภาพน้อย โดยตราสารหนี้ส่วนใหญ่ยังถูกจัดอันดับเป็น AAA สำหรับตลาด onshore ซึ่งใกล้เคียงกับพันธบัตรรัฐบาลจีน อย่างไรก็ตาม อัตราการผิดนัดชำระหนี้ในตลาด onshore นั้นคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้เนื่องจากเศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพและความพยายามของรัฐบาลที่ต้องการหลีกเลี่ยงความไร้เสถียรภาพของระบบ ในปัจจุบันอัตราผิดนัดชำระหนี้ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 1.2% ของตลาดตราสารหนี้ในประเทศทั้งหมด และมีคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5% ในปี 20202

การทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงเหล่านี้จึงเป็นกุญแจสำคัญในการเข้ามาในตลาด ผู้จัดการลงทุนตราสารหนี้ที่มีกลยุทธ์เชิงรุกและมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดภายในประเทศจะมีโอกาสประสบความสำเร็จภายใต้พลวัตรของตลาดอันมีเอกลักษณ์

หัวใจสำคัญ คือ การจัดการลงทุนแบบเชิงรุก

ทีมตราสารหนี้ของ Eastspring Investment ดำเนินการจัดการลงทุนด้วยกลยุทธ์เชิงรุกทั้งตราสารหนี้ในตลาด onshore และ offshore ของจีน เสริมด้วยความเชี่ยวชาญของทีมนักวิเคราะห์ตราสารหนี้ของเอเชียซึ่งถือเป็นทีมใหญ่ที่สุดทีมหนึ่งและมีประสบการณ์มากที่สุด ทีมการลงทุนยังใช้ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในประเทศรวมถึงทีมนักวิเคราะห์ชาวจีนประจำสำนักงานกรุงเซี่ยงไฮ้ซึ่งมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาด offshore และมีประสบการณ์ที่ครอบคลุมตราสารหนี้ของจีนและเศรษฐกิจมหภาค

สำหรับกลยุทธ์ตราสารหนี้ในตลาด onshore ของจีน ทีมการลงทุนได้คัดเลือกลงทุนในตราสารของรัฐวิสาหกิจส่วนกลาง (SOE) ที่มีคุณภาพสูง บริษัทจัดการที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อเป็นเครื่องมือในการระดมทุน หรือ Local Government Financing Vehicles (LGFV) และรัฐวิสาหกิจของท้องถิ่นที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์และมีผลงานที่ประจักษ์ รวมทั้งบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง กระบวนการคัดเลือกตราสารหนี้ช่วยให้เราสามารถเพิ่มผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนได้ในระยะกลางถึงระยะยาว ด้วยความน่าสนใจของกลุ่มธุรกิจที่มีมากกว่าพันธบัตรรัฐบาล

ในขณะเดียวกัน เราได้วางกลยุทธ์บนเส้นอัตราผลตอบแทนแบบเชิงรุกและกลยุทธ์การจัดการ duration ซึ่งหลักๆ เห็นได้จากพันธบัตรรัฐบาลจีนและ policy bank bonds เราเชื่อว่าการกำหนด duration ในเชิงรุกมีความเหมาะสมโดยเฉพาะภายใต้สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ในขณะที่ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์มีมากขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนมีความไม่แน่นอนไม่เหมือนในอดีต อัตราผลตอบแทนแบบ absolute yields แสดงทิศทางที่ลดลงและมุมมองของตลาดก็มีความแตกต่างกันมากขึ้น ดังนั้น เราจึงเชื่อว่ากลยุทธ์การเทรดที่มุ่งเรื่องอัตราผลตอบแทนจะช่วยสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้

Sources:
1 Wind, June 2020
2 China Chenxing, 1Q2020

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.