ผลกระทบจากการปรับโฉมห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์

การมีบทบาทอย่างมากของเอเชียในห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์โลกมีแนวโน้มว่าจะยังคงไม่มีใครเทียบชั้นได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ความพยายามจากทางสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่นในการสร้างทางเลือกที่มีศักยภาพ ตลอดจนความมุ่งมั่นของจีนในการเพิ่มกำลังการผลิตชิปในประเทศ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ และผู้เล่นที่อยู่ในซัพพลายเชนดั้งเดิม หรือแม้แต่ผู้ลงทุนในระยะยาว

เอเชียนับว่ามีอิทธิพลอย่างมากในห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์โลก โดยมี Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) คือผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยรายได้ 13.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและส่วนแบ่งการตลาด 52.9% ในไตรมาสที่สองของปี 2021 ตามรายงานของ TrendForce1 ผู้ให้บริการด้านข้อมูลวิเคราะห์อุตสาหกรรมจากกรุงไทเป ส่วน Samsung ตามมาเป็นอันดับสอง และรองลงมาคือ United Microelectronics Corporation และที่น่าสนใจก็คือมีเพียงบริษัทเดียวที่ไม่ได้มาจากเอเชีย ซึ่งได้แก่ Tower จากอิสราเอลติดอยู่ในรายชื่อ 10 โรงผลิตชิปรายใหญ่ที่สุด ตามการจัดอันดับของ TrendForce

ความยิ่งใหญ่ของผู้ผลิตจากเอเชียไม่ได้พบแค่ในภาคการผลิตเซมิคอนดักเตอร์เท่านั้น แต่ยังอยู่ในกลุ่มงานออกแบบวงจรรวมด้วย (Integrated Circuit design) เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ที่ทำการทดสอบและการบรรจุ บริษัทเอเชียหลายแห่งยังเป็นซัพพลายเออร์รายหลักของอุปกรณ์และวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ ดูรูปที่ 1 อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยที่ช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนรูปโฉมของห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์โลก

รูปที่ 1 : เอเชียมีบทบาทอย่างมากในห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์โลก

japan-s-small--to-mid-cap-universe-of-mispriced-opportunities-Fig1

รัฐบาลทั่วโลกต่างต้องการให้ห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์มีทางเลือกในแบบที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ภายหลังเกิดภาวะการขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตรถยนต์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานทั่วไป ปัญหาการขาดแคลนชิปคาดว่าจะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์โลกสูญเสียรายได้ถึง 210 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ตามรายงานของ AlixPartners บริษัทที่ปรึกษาสัญชาติอเมริกัน2 แม้ว่าปัญหาการขาดแคลนชิปจะมีความเชื่อมโยงกับความต้องการที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งอันเป็นผลมาจากกระแส “work/learn-from-home” และการใช้จ่ายด้านเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกที่ไม่เพียงพอ แต่มาตรการล็อกดาวน์และการหยุดชะงักของการผลิตที่เป็นผลจาก covid ในเอเชียก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง และก็เป็นเรื่องน่าเสียดายว่าวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนชิปโดยส่วนใหญ่นั้น มี lead time หรือระยะเวลาการรอสินค้าที่ยาวนาน ดูรูปที่ 2

รูปที่ 2 วิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนชิปโดยส่วนใหญ่มี lead times (ระยะเวลารอสินค้า) ที่ยาวนาน

japan-s-small--to-mid-cap-universe-of-mispriced-opportunities-Fig1

การที่ชิปเซมิคอนดักเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในทุกๆ อย่างนับตั้งแต่คอมพิวเตอร์ไปจนถึงอุปกรณ์การดูแลสุขภาพและเครื่องมือทางการทหาร รัฐบาลทั่วโลกต่างเห็นความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของการผลิตชิปภายในประเทศของตัวเอง และเมื่อการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกกระจุกตัวอยู่ในเอเชียในสัดส่วนที่สูงเกินกว่า 80% ก็อาจทำให้บรรดาประเทศและบริษัทต่างๆ ต้องตกเป็นตัวประกันจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นภายในภูมิภาคด้วยเช่นกัน

ศูนย์กลางการผลิตระดับภูมิภาค

รัฐบาลสหรัฐกำลังวางแผนที่จะยกระดับขีดความสามารถในการออกแบบและผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศ แม้ว่าบริษัทของสหรัฐจะครองตลาดการผลิตซอฟต์แวร์เพื่อการออกแบบชิปในสัดส่วนถึง 85% แต่กลับผลิตได้เพียง 12% ของการผลิตชิปทั้งหมดเท่านั้น ในกฎหมายว่าด้วยเรื่องนวัตกรรมและการแข่งขันของสหรัฐ ได้มีการจัดสรรเงินอุดหนุนมูลค่า 52 พันล้านดอลลาร์ไว้สำหรับการลงทุนในเซมิคอนดักเตอร์ โดยส่วนหนึ่งในแผนกลยุทธ์ของประเทศก็คือการมีชิปที่ผลิตโดยบริษัทจากเอเชียในสหรัฐมากขึ้น ตัวอย่างเช่น TSMC ได้เริ่มดำเนินการโรงผลิตชิปในรัฐวอชิงตันแล้ว และกำลังลงทุนอีกหลายหมื่นล้านดอลลาร์เพื่อสร้างโรงงานในรัฐแอริโซนา ขณะที่ Samsung ก็มีโรงงานอยู่ในเท็กซัส และเพิ่งประกาศว่าจะลงทุน 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างโรงผลิตรุ่นถัดไปซึ่งน่าจะตั้งอยู่ภายในรัฐเดิม

ฝั่งยุโรปเองก็กำลังมองหาทางที่จะทำให้พึ่งตนเองได้มากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการขาดแคลนชิปส่งผลกระทบฉุดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดโลกสำหรับการผลิตชิปขึ้นสองเท่า มาอยู่ที่ 20% ภายในปี 2030 โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชิปของยุโรป (European Chips Act) ที่เพิ่งประกาศไปเมื่อเร็วๆ นี้ พยายามที่จะสร้าง ecosystem ของชิปที่ทันสมัยขึ้นภายในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการผลิตที่ไม่เพียงแค่การส่งมอบชิปให้เพียงพอกับความต้องการเท่านั้น แต่ยังจะพัฒนาตลาดใหม่สำหรับเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำของยุโรปด้วย ทั้งนี้ มีแนวโน้มว่าจะมีการนำเสนอสิ่งจูงใจเพิ่มเติมสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในยุโรปในอนาคต

ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นก็กำลังพยายามฟื้นฟูความรุ่งเรืองบางอย่างที่ตนเคยมีในอดีต โดยในช่วงปลายทศวรรษ 1980 อุตสาหกรรมชิปของญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ส่วนแบ่งการตลาดของประเทศกลับค่อยๆ ลดลงนับตั้งแต่นั้นแม้ว่าญี่ปุ่นจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลิตและส่งมอบอุปกรณ์และวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ในตลาดโลก นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากสำหรับประเทศใดประเทศหนึ่งที่สามารถเป็นผู้จัดหาเทคโนโลยีอันจำเป็นให้ได้ทั้งหมด ซึ่งเขาได้เรียกร้องให้เหล่าประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหลายมาทำงานร่วมกันเพื่อรักษาห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ให้เป็นไปในแบบที่เป็นมิตร โดยในเดือนมิถุนายน ญี่ปุ่นอนุมัติโครงการวิจัยเซมิคอนดักเตอร์มูลค่า 338 ล้านดอลลาร์สหรัฐกับ TSMC ซึ่งตามรายงานระบุว่า TSMC จะสามารถเริ่มเปิดเดินเครื่องโรงผลิตชิปแห่งแรกในญี่ปุ่นได้ภายในปี 20233

ก้าวที่สำคัญของจีน

จีน ในฐานะศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นประเทศที่ใช้เซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดด้วยเช่นกัน แต่หากคิดเป็นเพียง 7.6% ของยอดขายชิปทั่วโลก4 ในขณะเดียวกัน 95% ของกำลังการผลิตติดตั้งของชิปในจีนนั้น ใช้สำหรับชิปที่มีโหนด 28nm หรือสูงกว่า5 ซึ่งเป็นการเดินตามหลังผู้นำในอุตสาหกรรมที่วางแผนจะเปิดตัวสถาปัตยกรรมขนาด 3nm ในอนาคตอันใกล้นี้

ความเร่งด่วนของจีนในการเพิ่มกำลังการผลิตชิปในประเทศและลดการพึ่งพาซัพพลายเออร์ภายนอกเป็นไปอย่างเข้มข้นมากขึ้น หลังจากความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาทวีความรุนแรง การสั่งห้ามส่งออกโดยสหรัฐและพันธมิตรเป็นการกระทำเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทจีนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและอุปกรณ์การผลิตชิปขั้นสูง ขณะหนทางของจีนในการบรรลุเป้าหมายพึ่งพาตนเองในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ให้ได้ในสัดส่วน 70% ภายในปี 20256 นั้น จำเป็นต้องใช้เงินทุน กำลังความสามารถ และใช้เวลาอีกมาก

อย่างไรก็ตาม จีนมีขนาดใหญ่สร้างความได้เปรียบ – ความสามารถในการปรับขนาดเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็วเมื่อถึงจุดอิ่มตัวนั้น นับว่าเป็นคุณลักษณะที่หาตัวจับได้ยาก นอกจากนี้ ยังเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการรับจ้างประกอบ บรรจุ และทำการทดสอบ (OSAT) ด้วยส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกอยู่ที่ 38% ในปี 2020 ในขณะเดียวกัน จีนยังเป็นผู้ผลิตเวเฟอร์ต้นน้ำรายสำคัญด้วยกำลังการผลิตแผ่นเวเฟอร์ คิดเป็นสัดส่วน 23% ของโลกซึ่งตั้งอยู่บนจีนแผ่นดินใหญ่ และที่สำคัญก็คืออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนนั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างมาก

รัฐบาลจีนได้ตกลงจัดสรรงบประมาณในมูลค่า 150 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไว้ใช้จนถึงปี 2030 เพื่อสร้าง ecosystem ที่รุ่งโรจน์ทางด้าน IC ภายในประเทศ ซึ่งไม่รวมถึงเงินช่วยเหลือ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ค่าสาธารณูปโภคที่ถูกลง และต้นทุนที่ดินที่ลดลงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งอุตสาหกรรม ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Boston Consulting Group ต้นทุนในการสร้างและดำเนินการโรงผลิต fab ในประเทศจีนนั้น อยู่ต่ำกว่าสหรัฐอเมริกา 37% โดยที่สัดส่วน 43% ของทุนจดทะเบียน (รวมทั้งหมด 51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนนั้น เป็นส่วนของรัฐบาลจีน ทั้งที่เป็นเจ้าของโดยตรงหรือโดยอ้อมหรือที่รัฐมีบทบาทในการควบคุม ซึ่งเรียกได้ว่ารัฐมีอิทธิพลอย่างมากต่อการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรม ดูรูปที่ 3

รูปที่ 3 : ส่วนของทุน (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่แสดงความเป็นเจ้าของ

japan-s-small--to-mid-cap-universe-of-mispriced-opportunities-Fig1

ผลกระทบ

ในเวลาอันใกล้นี้ เอเชียมีแนวโน้มที่จะยังคงมีอิทธิพลอย่างมากในห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ต่อไป เนื่องจากการสร้างทางเลือกที่มีศักยภาพนั้นต้องใช้เวลา เงินทุน ความเชี่ยวชาญ และระบบนิเวศสนับสนุน การที่ซัพพลายของเซมิคอนดักเตอร์แบบลอจิก (logic semiconductors) มีไม่เพียงพอ ซึ่งรวมถึงไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) และวงจรรวมที่มีความสามารถจัดการพลังงาน (PMICs) ตลอดจนกระแสการแปลงเป็นดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นนั้น ห่วงโซ่คุณค่าของเซมิคอนดักเตอร์แบบลอจิกจึงมีแนวโน้มที่จะนำเสนอโอกาสที่น่าสนใจแก่ผู้ลงทุน

ในระยะยาว ห่วงโซ่อุปทานที่อยู่ใกล้อาจส่งผลให้ระยะเวลาในการรอสินค้าลดลง มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และลดต้นทุนสำหรับผู้ผลิตในประเทศพัฒนาแล้ว การที่มีแหล่งชิปเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งมีความแน่นอนมากขึ้นก็อาจช่วยให้สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจดีขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าที่ทวีความรุนแรงทั่วโลก ในขณะเดียวกัน TSMC และ Samsung ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้งโรงงานเพิ่มเติมนอกภูมิภาคเอเชียก็อาจได้รับประโยชน์จากการมีฐานการผลิตและรายได้ที่กระจายความเสี่ยงออกไปมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้อาจส่งผลกระทบต่อซัพพลายเออร์ด้านอุปกรณ์และวัสดุภายในแต่ละประเทศ บริษัทที่มีฐานการดำเนินงานที่แข็งแกร่งขึ้นในสหรัฐอเมริกาและยุโรปอาจได้รับประโยชน์มากขึ้นจากความสำเร็จของการปรับโฉมห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์โลก ในขณะเดียวกัน แม้ว่าจีนจะเผชิญกับความท้าทาย แต่ก็มีแนวโน้มว่าประเทศจะสามารถพัฒนาและผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในระดับที่นำไปแข่งขันได้และตรงตามเป้าหมายของตน

Sources:
1 https://www.trendforce.com/presscenter/news/20210831-10914.html
2 https://www.alixpartners.com/media-center/press-releases/press-release-shortages-related-to-semiconductors-to-cost-the-auto-industry-210-billion-in-revenues-this-year-says-new-alixpartners-forecast/
3 https://asia.nikkei.com/Business/Tech/Semiconductors/TSMC-eyes-opening-Japan-chip-plant-in-2023-to-supply-Sony
4 Semiconductor Industry Association (SIA)
5 Semiconductor Industry Association (SIA)
6 Made in China 2025 plan.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.