ปั้นพอร์ตแกร่ง ฝ่าความผันผวน

ความแข็งแกร่งของพอร์ตการลงทุนจะมีความสำคัญมากในระยะ 12-18 เดือนข้างหน้านี้ เนื่องจากเรากำลังเปลี่ยนผ่านจากสภาวะตลาดที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเงินเฟ้อไปสู่ตลาดที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมแห่งความไม่แน่นอนมากขึ้น อย่างคำถามที่ว่าเฟดจะสามารถนำพาเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลงได้อย่างราบรื่นหรือไม่? หรือจะมีสภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รออยู่หรือไม่? เราคาดว่าความผันผวนจะยังคงสูงต่อไป ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับความไม่แน่นอนประเภทนี้ก็คือการเพิ่มระดับการกระจายความเสี่ยงให้แก่พอร์ตการลงทุนมากขึ้นกว่าเดิม

นับเป็นความท้าทายที่จะคาดการณ์ว่าเหตุการณ์หรือธีมใดจะทำให้เกิดความผันผวนในปี 2023 ถึงแม้ตลาดดูเหมือนจะรับรู้ซึ่งสะท้อนอยู่ในราคาด้วยมุมมองที่สมดุลระหว่างกรณีเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่ระดับที่ยอมรับได้มากขึ้นอย่างรวดเร็วหรือเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป แต่เราคาดว่าการตอบสนองของตลาดในอนาคตจะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกระแสข่าว ดังนั้น เส้นทางข้างหน้าจึงมีแนวโน้มที่ไม่ราบรื่นนัก อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนยังมีทางเลือกในการลดระดับความผันผวนโดยรวมในพอร์ตการลงทุนของตน

สร้างความทนทานให้พอร์ตด้วยกลยุทธ์ผสมหลายสินทรัพย์

ทีมของเราที่ดูแลกลยุทธ์ผสมหลายสินทรัพย์ (multi asset team) ได้ใช้กลยุทธ์บางอย่างเพื่อสร้างผลตอบแทนแบบปรับความเสี่ยงให้มีความเหมาะสมในพอร์ตการลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนเพื่อรองรับทุกๆ วัฏจักรของตลาดซึ่งได้แก่ การกระจายความเสี่ยง กลยุทธ์ช่วงชิงความได้เปรียบเมื่อเกิดความแตกต่างเชิงเทคนิคในตลาด และกลยุทธ์ตราสารอนุพันธ์ที่ระมัดระวังความเสี่ยง

การกระจายกลุ่มสินทรัพย์ภายใต้มุมมองแบบดั้งเดิมนั้นประกอบด้วยการรวมสินทรัพย์ที่มีค่าสหสัมพันธ์แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม อย่างที่เราได้เห็นในปีนี้ นั่นคือการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อที่รุนแรง (และการประเมินมูลค่าหุ้นในช่วงเริ่มต้นที่มีอิทธิพลสูง) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นและตราสารหนี้ติดลบลดลงและเชื่อถือได้น้อยลงกว่าเดิม ดังนั้น การที่สภาพแวดล้อมใหม่ในปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้อ (และอัตราดอกเบี้ย) มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเป็นเวลานาน เราเชื่อว่าการลดวิธีการกระจายความเสี่ยงแบบดั้งเดิมให้น้อยลงอย่างเช่นการกระจายรูปแบบการลงทุนในหุ้น จะมีความสำคัญและให้คุณค่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ทีมของเรายังคงเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างหุ้นและตราสารหนี้นั้นจะกลับสู่ระดับปกติด้วยตัวเองได้ทันเวลา ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว เมื่อทั้งหุ้นและตราสารหนี้ได้รับการประเมินมูลค่าที่สมเหตุสมผล ทั้งคู่ก็จะให้ประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงมากที่สุด

กลยุทธ์ที่อาศัยความได้เปรียบเชิงเทคนิคก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นแนวทางที่ได้รับการออกแบบมาไว้ช่วยจำกัดความเสี่ยงบางอย่างหรือเพื่ออาศัยจังหวะตามความเชื่อมั่นในตลาด ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมของตลาดปัจจุบัน ผู้ลงทุนจำเป็นต้องถือสินทรัพย์ประเภท defensive assets ที่ช่วยให้รอดพ้นจากการแกว่งตัวรุนแรงที่เกิดขึ้นในตลาดได้

และประการสุดท้าย ทีมของเราเชื่อว่ากลยุทธ์ตราสารอนุพันธ์ที่มีการจัดการความเสี่ยงจะเป็นประโยชน์ต่อพอร์ตการลงทุน ซึ่งพอร์ตการลงทุนแบบผสมหลายสินทรัพย์ที่อนุญาตให้ใช้ตราสารอนุพันธ์ได้ ทีมได้ใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดด้านความผันผวนเพื่อเพิ่มระดับการป้องกันความเสี่ยงของพอร์ต ตัวอย่างเช่น ภายใต้แนวโน้มขาลงของตลาดหุ้นสหรัฐในปีนี้ ทีมของเราได้วางกลยุทธ์ put สเปรดหรือส่วนต่างสำหรับสัญญาล่วงหน้าระยะยาวในพอร์ตการลงทุนบางพอร์ตเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากสถานการณ์ขาลงในหุ้นสหรัฐ

เลือกแนวทาง defensive ด้วยกลยุทธ์เชิงปริมาณ

กลยุทธ์แบบ smart beta และ multi factor สร้างผลงานที่ดีในปีนี้เมื่อเทียบกับดัชนีหุ้นอ้างอิงในภาพกว้าง กลยุทธ์ผันผวนต่ำมักจะให้ผลตอบแทนที่ดีเมื่อเทียบกับตลาดในภาพกว้างในช่วงที่มีความไม่แน่นอนและความผันผวนของตลาด ซึ่งด้วยลักษณะการถือหุ้นและสร้างพอร์ตที่ได้รับอิทธิพลน้อยจากการแกว่งตัวขึ้นลงของความเชื่อมั่นในตลาด กลยุทธ์ที่มีความผันผวนต่ำจึงช่วยปกป้องพอร์ตได้ดีขึ้นโดยอัตโนมัติ กลยุทธ์เหล่านี้ยังมีแนวโน้มที่จะไม่ปล่อยให้ผลการดำเนินงานแย่ลงเมื่อตลาดปรับตัวลง และด้วยเหตุนี้จึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มสถานะการถือครองมากนักในช่วงขาขึ้นเพื่อขึ้นนำตลาด

แนวทางการกระจายความเสี่ยงที่ดีสู่การมีความผันผวนต่ำถือเป็นกุญแจสำคัญ และต้องมั่นใจว่ามีตัวแทนของตลาดในภาพกว้างจากทุกเซ็กเตอร์เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้พลาดบางธีมที่สำคัญซึ่งอาจเกิดขึ้นในปี 2023

กลยุทธ์ multi factor นั้นได้รับการออกแบบมาเพื่อให้มีความผันผวนในระดับที่ใกล้เคียงกับตลาดในภาพกว้าง ดังนั้น จึงให้การปกป้องที่น้อยกว่ากลยุทธ์ผันผวนต่ำ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตามหลักการออกแบบแล้วจะพบว่ากลยุทธ์นี้มีลักษณะของการกระจายความเสี่ยงที่ดีผ่านหลากหลายปัจจัย (หรือรูปแบบ) และควบคุมความเสี่ยงได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับดัชนีมาตรฐานของตลาด ผลที่เกิดขึ้นก็คือทำให้มีแนวโน้มที่จะอยู่รอดได้ดี (เมื่อเทียบกับตลาดในภาพกว้าง) ในสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ ไม่ว่ารูปแบบใดจะมีอิทธิพลครอบงำตลาดในขณะนั้น การที่มีลักษณะพิเศษเช่นนี้จึงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ลงทุนที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนซึ่งเราคาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2023

เสริมเกราะป้องกันด้วยแนวทางมุ่งสร้างรายได้

ตามที่เราเล่าผ่านบทความ “Mapping another new normal” เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยจะยังเพิ่มขึ้นต่อไปอีกนาน ซึ่งในสภาวะดังกล่าว ผู้ลงทุนจะแสวงหาวิธีป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น

อสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดมักถูกมองว่าเป็นวิธีในการป้องกันเงินเฟ้อที่ดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผลตอบแทนในภาพรวมและการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลนั้นจะอยู่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อได้ต่อเนื่องในระยะยาว โดยในบางตลาดอย่างเช่นออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และยุโรป อัตราค่าเช่าจะเชื่อมโยงกับตัวชี้ด้านเงินเฟ้อซึ่งจะช่วยให้เจ้าของสินทรัพย์มีเกราะป้องกันด้านรายได้ในระดับหนึ่ง

ในทำนองเดียวกัน การเลือกหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลที่สม่ำเสมอจะช่วยให้มีกระแสรายได้ประจำที่มั่นคงได้อย่างต่อเนื่องซึ่งอาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงเป็นบวก และถ้าหากดูในตลาดเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น ก็จะพบว่าดัชนีผลตอบแทนรวมจากเงินปันผลที่อยู่ในระดับสูงมักจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐในช่วงเวลาส่วนใหญ่

หุ้นเอเชียที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงยังมีค่าสหสัมพันธ์ที่ต่ำกับตราสารหนี้เอเชีย โดยอยู่ที่ 0.30 และ 0.47 หากเทียบกับตราสารหนี้เอเชียระดับ investment grade และ non-investment grade ตามลำดับ1 ข้อมูลนี้จึงถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการสร้างพอร์ตการลงทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่มุ่งสร้างกระแสรายได้

ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นปันผลสูงของเอเชีย สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐเป็นส่วนใหญ่

pursuing-resilience-amid-volatility-fig1

หลักทรัพย์รัฐบาลระยะสั้นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างกระแสรายได้สำหรับผู้ลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประเทศได้รับการจัดอันดับ AAA ได้อย่างมั่นคง หลักทรัพย์ของรัฐบาลสิงคโปร์ทำสถิติสูงสุดในรอบหลายทศวรรษในปีนี้ด้วยอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า 4% เมื่อเทียบกับ 1% เมื่อตอนต้นปี ผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องเปิดรับความเสี่ยงเพิ่มเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากเงินออมของตนอีกต่อไป เราน่าจะได้เห็นเม็ดเงินที่ไหลเข้าซื้อหลักทรัพย์รัฐบาลระยะสั้นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนอาจได้รับผลตอบแทนที่แท้จริงที่เป็นบวกโดยการจัดสรรเงินทุนไปยังหลักทรัพย์ระดับ investment grade ระยะสั้นซึ่งหนุนโดยผู้ออกหลักทรัพย์ที่มีความแข็งแกร่งโดยมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ แนวโน้มของตราสารหนี้คุณภาพสูงกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นและอัตราผลตอบแทนก็อยู่ในระดับที่น่าดึงดูดใจมากที่สุดในรอบกว่าทศวรรษ

ผลกระทบด้านการลงทุน

pursuing-resilience-amid-volatility-fig2

คณะผู้จัดทำ:

Craig Bell, Ben Dunn, Danny Tan, Katerina Irwan, Bonnie Chan

Sources:
1 Bloomberg. Weekly data from November 2012 to November 2022. Indexes used: MSCI Asia Pacific ex Japan High Dividend Yielding Net Return Index, JACI Investment Grade Total Return Index, JACI Non-Investment Grade Total Return Index. In USD terms.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.