กางผังสำรวจความพร้อม รับ “new normal” รอบใหม่

ในขณะที่เรากำลังก้าวสู่ปี 2023 ปรากฏการณ์ new normal รอบใหม่เป็นสิ่งที่รอเราอยู่เบื้องหน้า การเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการระบาดที่กลายเป็นการเกิดขึ้นอย่างถาวรทำให้เงินเฟ้อน่าจะสูงกว่าที่เคยเกิดขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมาก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 สถานการณ์นำไปสู่การสิ้นสุดของยุคสภาพคล่องล้นในขณะที่ความตึงเครียดทางการเมืองยกระดับความรุนแรงขึ้นสูงทั่วโลก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องอาศัยความคล่องตัวและมุ่งมั่นอย่างจริงจังในการคัดเลือกและวางสถานะพอร์ตการลงทุน

ปี 2022 เป็นปีที่หนักหนาสำหรับผู้ลงทุนส่วนใหญ่ ในขณะที่ปี 2023 ก็ยิ่งอาจมีความท้าทายเพิ่มขึ้น ทั้งการเติบโตที่ช้าลงและสภาพคล่องทางการเงินที่ตึงตัวขึ้นในตลาดพัฒนาแล้ว (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรป) กำลังสร้างความคลุมเครือให้กับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ยังเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อมีลักษณะยืดเยื้อมากกว่าที่คาดไว้ในตอนแรกและการพูดถึงจุดเปลี่ยนทางนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเวลานี้ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเร็วเกินไป

ความเสี่ยงต่อการเติบโตจะรุนแรงขึ้น

การลดลงอย่างต่อเนื่องของ global PMI และการอ่อนแรงลงของผลผลิตภาคโรงงานของภูมิภาคต่างๆ ซึ่งสะท้อนภาพกว้างได้ชี้ว่ากลุ่มสินค้าทั่วโลกกำลังตกอยู่ในภาวะถดถอย ทำให้เกิดการเปรียบเทียบกับช่วงปี 2000-2003 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดภาวะถดถอยอันเนื่องมาจากฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยี

ยอดคำสั่งซื้อใหม่ใน Global PMI กำลังร่วงลง

mapping-another-new-normal-fig1

แนวโน้มในอนาคตจะขึ้นอยู่อย่างมากกับขอบเขตที่เป็นไปได้ของตัวเลขเงินเฟ้อและผลกระทบที่ตามมาต่อนโยบายการเงินในตลาดพัฒนาแล้ว การที่มีสัญญาณอัตราเงินเฟ้อถึงจุดสูงสุด ตลาดแรงงานสหรัฐที่ตึงตัวและการเติบโตของค่าจ้างที่แข็งแกร่งอาจบีบให้ธนาคารกลางสหรัฐยังคงท่าทีพร้อมใช้นโยบายแบบเข้มงวดต่อไป ในขณะเดียวกัน ราคาพลังงานในระดับสูงซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่ผลักดันเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับแรงกดดันที่สูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนเริ่มกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง สภาวะเช่นนี้อาจทำให้การต่อสู้กับเงินเฟ้อของบรรดาธนาคารกลางจะเป็นสมรภูมิที่ยืดเยื้อนานขึ้น ในทางกลับกัน หากมีปัจจัยภายนอกใดๆ ที่นำไปสู่การลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างรวดเร็วและสิ้นสุดยุคของการคุมเข้มนโยบายการเงินได้เร็วกว่าที่คาดไว้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าสภาวะปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อต่อไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2023 โดยมีคาดการณ์ว่าเฟดจะดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปในปี 2023 แม้ว่าขนาดและจำนวนครั้งในการขึ้นดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับอัตราการว่างงานว่าจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วเพียงใดหรือราคาผู้บริโภคจะลดลงได้เร็วแค่ไหน การคาดการณ์โดยเฉลี่ยของเฟดในขณะนี้ชี้ไปที่โอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปี 2023 ก่อนที่จะลดลงในปี 2024 และหากเป็นเช่นนั้น ก็เป็นไปได้ว่าเฟดจะถึงจุดสูงสุดของวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 2023 เว้นแต่จะมีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงรุนแรงในตลาดการเงิน

เศรษฐกิจโลกน่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 ในขณะที่เราผ่านพ้นช่วงที่อัตราเงินเฟ้อแตะจุดสูงสุดและท่าทีพร้อมใช้นโยบายแบบเข้มงวดของเฟด ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้นอาจรุนแรงน้อยกว่าการถดถอยครั้งก่อน เนื่องจากในตอนนี้สถานะการเงินของผู้บริโภคสหรัฐมีความแข็งแกร่งมากกว่า (และแม้จะนำไปเทียบกับวิกฤตการเงินโลกในปี 2008)

เราตระหนักดีว่าหุ้นมีโอกาสปรับตัวลงในช่วงเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหุ้นของสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนราว 63% ของหุ้นทั่วโลก และจากการที่หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่อยู่ในดัชนีตลาดหลักๆ อย่างไรก็ตาม ขอบเขตของผลกระทบจะขึ้นอยู่กับขนาดของภาวะเศรษฐกิจถดถอย (เช่น ยิ่งเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงเท่าไหร่ หุ้นก็ยิ่งร่วงลงหนักมากขึ้น) อย่างไรก็ตาม สภาวะที่ผ่อนคลายมากขึ้นในภาคการเงินหลังจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแตะจุดสูงสุด จะนำไปสู่ผลตอบแทนที่ดีขึ้นสำหรับสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงครึ่งหลังของปี 2023

เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ดูแข็งแกร่งกว่าตลาดอื่นๆ

ธนาคารกลางของตลาดเกิดใหม่ต่างใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเช่นกัน แต่โดยทั่วไปจะไม่เข้มข้นเหมือนระดับที่ได้เห็นในตลาดพัฒนาแล้ว ทั้งในแง่ขนาดและระยะเวลาในการปรับขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ เนื่องจากตลาดเกิดใหม่หลายแห่งมักเผชิญกับดีมานด์ในประเทศที่อ่อนแอ การเติบโตของค่าจ้างที่ต่ำกว่า ดังนั้น ผลกระทบของเงินเฟ้อจึงค่อนข้างเบาบางเมื่อเทียบกับสหรัฐ สถานการณ์นี้สามารถเห็นได้ในประเทศจีนซึ่งกำลังเผชิญกับสภาวะดีมานด์ในประเทศที่อ่อนแอและมีผลกระทบของเงินเฟ้อน้อย โดยมีสาเหตุหลักมาจากมาตรการควบคุม COVID และตลาดที่อยู่อาศัยที่อ่อนแอรวมทั้งปัจจัยอื่นๆ

ในภาพรวมของเอเชีย อัตราเงินเฟ้อไม่ค่อยส่งผลรุนแรงนักซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตอบสนองด้วยมาตรการกระตุ้นทางการคลังที่น้อยในการรับมือกับโรคระบาด (ไม่เหมือนกับสหรัฐ) การเปิดรับความเสี่ยงต่อวิกฤตพลังงานที่ต่ำกว่า (ไม่เหมือนกับยุโรป) รวมถึงเงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่มากกว่า ซึ่งบางส่วนได้ส่งผ่านไปยังผู้บริโภค ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางในเอเชียพยายามจัดการกับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพื่อฉุดให้ค่าเงินอ่อนและคุมเงินเฟ้อที่ถูกกระทบจากสถานการณ์ราคาในต่างประเทศ การที่อัตราผลตอบแทนในเอเชียได้รับแรงกดดันมากขึ้นในทิศทางที่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยหลักๆ ที่สูงขึ้นของตลาดพัฒนาแล้ว ตลาดยังคงคาดการณ์การใช้นโยบายที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางในเอเชียท่ามกลางเศรษฐกิจที่อ่อนแอและอัตราเงินเฟ้อที่อาจลดระดับลงได้

จากทั้งหมดที่กล่าวมา กลุ่มหุ้นตลาดเกิดใหม่ได้เริ่มต้นรูปแบบที่แตกต่างไปมากในทศวรรษ 2020 เมื่อเทียบกับยุค 2010 โดยสถานการณ์ในช่วงทศวรรษ 2010 นั้นถือว่ามีความสมบูรณ์แบบต่อทั้งการเติบโตและการลงทุนที่มีคุณภาพ เนื่องจากผู้ลงทุนมีแรงจูงใจและได้ประโยชน์จากการจ่ายในราคาสูงเพื่อโอกาสของผลประกอบการที่มั่นคงและเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอีคอมเมิร์ซ อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นทศวรรษ 2020 เราได้เห็นการตอบสนองด้านนโยบายต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด การมุ่งเน้นลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริงมากขึ้นด้วยแผนการใช้จ่ายด้านทุน พฤติกรรมในการใช้ซ้ำและความพยายามในการลดคาร์บอน ในขณะที่ตลาดเกิดใหม่จะก้าวผ่านปีแห่งความผันผวน เรากำลังจะสิ้นสุดปี 2022 ด้วยจุดเริ่มต้นที่มีมูลค่าที่น่าสนใจเป็นอย่างมากหากเทียบกับข้อมูลในอดีต ทั้งในแง่ตัวเลขและค่าเชิงเปรียบเทียบกับตลาดพัฒนาแล้ว

สถานะการเงินของกลุ่มนอกภาคการเงินในตลาดเกิดใหม่ ค่อนข้างมีความแข็งแกร่ง

mapping-another-new-normal-fig2

ความเสี่ยงที่เราติดตาม

เราเชื่อว่าสภาพแวดล้อมของตลาดในปัจจุบันค่อนข้างท้าทายท่ามกลางเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงรุนแรงเพิ่มขึ้นและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ (เช่น สหรัฐ-จีน รัสเซีย-ยูเครน จีน-ไต้หวัน และการเจรจาเรื่องนิวเคลียร์ของอิหร่าน) ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์นั้นเป็นเรื่องยากที่จะประเมินเนื่องจากขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่ไม่สามารถคาดเดาได้ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนในปี 2022 อาจเป็นเครื่องเตือนใจให้แก่ผู้ลงทุนว่าภายหลังจากผ่านทศวรรษที่ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ค่อนข้างสงบเรียบร้อย เราอาจกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาใหม่ของการต่อสู้ที่เกิดจากการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ

สภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้นและต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นก็เป็นความเสี่ยงอื่นๆ ที่สำคัญเช่นกัน การที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้บริษัทที่ดำเนินกิจการแบบไม่ก่อให้เกิดกำไรอย่างสม่ำเสมอจะได้รับผลกระทบมากที่สุดและตกอยู่ในความเสี่ยง หุ้นเติบโตและหุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐค่อนข้างอ่อนไหวกับการประเมินมูลค่าในทิศทางที่แย่ลง และด้วยเหตุนี้จึงเห็นบางบริษัทที่ถูกปรับลดมุมมองความน่าลงทุนลงท่ามกลางแนวโน้มดอกเบี้ยที่สูงขึ้น โดยมีเพียงบริษัทที่สามารถสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการกู้ยืมได้เท่านั้นถึงจะถือเป็นสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือทางการเงิน

ประการสุดท้าย มีโอกาสอยู่พอสมควรที่ธนาคารกลางสหรัฐอาจผลักให้เศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยหากอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงอยู่ต่อไป ผู้ลงทุนจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากต่อผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นอย่างมากท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและความเชื่อมั่นในการเปิดรับความความเสี่ยงทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะยังคงแข็งแกร่งในระยะเวลาอันใกล้นี้ โดยตลาดเกิดใหม่และเอเชียอาจถูกบีบให้เข้าแทรกแซงค่าเงินของตนเพื่อลดความผันผวน ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศที่ลดลงอย่างรวดเร็วก็อาจเพิ่มความไม่แน่นอนด้วยเช่นกัน

ในท้ายที่สุดแล้ว หากธนาคารกลางสหรัฐตัดสินใจจัดการคุมเงินเฟ้อด้วยการกดอุปสงค์มวลรวมลง เราก็จะได้เห็นการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น การเติบโตที่ช้าลง และผู้ลงทุนน่าจะชอบถือตราสารหนี้ในพอร์ต แต่ในทางกลับกัน หากมีมาตรการด้านอุปทานมากขึ้นเพื่อเข้ามาช่วยบรรเทาสถานการณ์เงินเฟ้อ หุ้นก็มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการ ซึ่งในมุมมองของเรา เชื่อว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากที่อัตราเงินเฟ้อจะได้รับการจัดการด้วยมาตรการด้านอุปทานแต่เพียงอย่างเดียว

ผลกระทบด้านการลงทุน

mapping-another-new-normal-fig3

คณะผู้จัดทำ:

Craig Bell, Andrew Cormie, Danny Tan, Rong Ren Goh

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.