สู่ความเป็นเอเชียที่แตกต่าง

เอเชียยังคงมีลักษณะในการเป็นแหล่งลงทุนระยะยาวอย่างไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าเส้นทางการเติบโตจะเริ่มต้นขึ้นใหม่ภายหลังได้รับผลกระทบจากโรคระบาด กลุ่มสินทรัพย์ที่ลงทุนได้นั้นก็มีความหลากหลายมากขึ้นเช่นกัน เมื่อหลายๆ ประเทศต่างใช้ประโยชน์จากความสามารถที่แตกต่างในการกระจายห่วงโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและวัฏจักรการปรับลดคาร์บอนทั่วโลก ซึ่งได้นำเสนอโอกาสทั้งในกลุ่มตลาดพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย

การเติบโตของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดว่าจะชะลอตัวลงเหลือ 4.0% ในปี 2022 ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.3% ในปี 2023 ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของความไม่แน่นอนทั่วโลก1 ซึ่งนอกจากความเสี่ยงดังที่กล่าวถึงใน “Mapping a new normal” การชะลอตัวของจีนยังถือเป็นอุปสรรคต่อเอเชียอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีเซ็กเตอร์ที่ดูสดใสและมีปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตในประเทศต่างๆ ของเอเชียที่นำเสนอโอกาสอันน่าดึงดูดใจ

โซนการเติบโตทั้งเก่าและใหม่

ประเด็นสำคัญในช่วงไม่กี่ปีมานี้ก็คือการกระจายห่วงโซ่อุปทานออกจากประเทศจีน ซึ่งส่วนใหญ่ได้ย้ายเข้าไปยังพื้นที่อื่นๆ ในเอเชีย ถ้าหากดูภายในอาเซียน จะพบว่าประเทศที่ได้รับประโยชน์อย่างชัดเจนจากการย้ายฐานการผลิตดังกล่าวยังรวมถึงเวียดนามและอินโดนีเซีย ขณะที่อินเดียเริ่มเห็นประโยชน์ของการย้ายฐานการผลิตครั้งนี้ โดยเซ็กเตอร์ที่มีการขยายตัวสูงนั้นได้แก่กลุ่มผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (electronic manufacturing services) และห่วงโซ่อุปทานรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งทำให้หุ้นในกลุ่มนี้สามารถเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งที่อยู่นอกอินเดียได้ การส่งออกของภาคการผลิตจึงมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอินเดีย แต่ในตอนนี้ การส่งออกของอินเดียยังคงคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 15% ของ GDP ดังนั้น ผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกจึงน่าจะส่งผลน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย

การส่งออกของภาคการผลิตอินเดียอาจหนุนอัตราการเติบโตของ GDP ได้ 2.4% ในระยะห้าปีข้างหน้า

embracing-a-different-asia-fig1"

อินโดนีเซียได้ตอบสนองต่อความต้องการสแตนเลสสตีลและวัสดุแบตเตอรี่ EV ที่เพิ่มขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาระบบนิเวศห่วงโซ่อุปทาน EV โดยปัจจุบันอินโดนีเซียมีโรงถลุงแร่ 138 แห่ง (ส่วนใหญ่เป็นนิกเกิล) และนิคมอุตสาหกรรมอีกราว 6 แห่งที่อยู่ระหว่างการพัฒนา โครงการเหล่านี้มีศักยภาพในการพลิกโฉมภูมิทัศน์ด้านการค้าระหว่างประเทศของอินโดนีเซียได้อย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้านี้

ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงได้ประโยชน์จากการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ส่งผลให้หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและสินค้าผู้บริโภคนำเสนอโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจ ส่วนในมาเลเซีย มีแนวโน้มว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงมาอยู่ในระดับปานกลางในปี 2023 แต่ไม่ใช่ภาวะถดถอย เนื่องจากภาคการส่งออก เช่น น้ำมันและก๊าซ และผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์น่าจะยังไปได้ดี ขณะที่เศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในยุคหลังการระบาด โดย GDP เติบโต 8.8% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2022 จากปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของเวียดนามที่มาจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและภาคการผลิต จึงเป็นโอกาสที่น่าสนใจ

ความยั่งยืนก็ถือเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนการเติบโตทั่วเอเชีย โครงสร้างพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ได้นำเสนอโอกาสในการลงทุนมากมาย ดังที่กล่าวใน “Charting sustainability pathways” การที่มีประเทศ บริษัท และผู้ลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เราจึงเห็นโอกาสสำหรับผู้ลงทุนในการเตรียมกระบวนการลงทุนให้สอดคล้องกับมุมมองด้านความยั่งยืน

ผลกระทบจาก “Tech Decoupling”

อุตสาหกรรมชิปเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกเป็นกลุ่มผู้เสียหายรายล่าสุดจากการตอบโต้กันระหว่างสหรัฐและจีน มาตรการที่เป็นข้อจำกัดในกลุ่มสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐจะบีบให้ผู้เล่นรายใหญ่ในห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์อย่างเช่นไต้หวัน เกาหลีและญี่ปุ่น ย้ายฐานการผลิตออกจากจีนในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ไต้หวันกลับได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัดเนื่องจากผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ส่วนใหญ่ของไต้หวันมุ่งเน้นไปยังกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูง ขณะที่รายได้ที่มาจากจีนถือเป็นสัดส่วนที่ต่ำ

ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ในระยะสั้นและความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นกับจีนส่งผลให้ตลาดหุ้นไต้หวันเคลื่อนไหวผันผวน แต่กลับไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่า risk premium หรือผลตอบแทนส่วนเพิ่มเพื่อชดเชยความเสี่ยงของหุ้นไต้หวันจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไต้หวันและอุตสาหกรรมหลักถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อการประเมินภาพตลาดหุ้นไต้หวัน

ในขณะเดียวกัน บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของเกาหลีจะประสบกับสภาวะการดำเนินงานอย่างไม่เต็มศักยภาพในระยะสั้นอันเกิดจากอุปสรรคในการเพิ่มประสิทธิภาพโรงผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (fabs) ในจีน แต่เรามองว่าพัฒนาการนี้จะเป็นผลดีในระยะยาว เนื่องจากบริษัทเกาหลีได้เริ่มวางแผนกลยุทธ์ในเรื่องทำเลที่ตั้งโรงผลิตฯ อีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยให้บริษัทเกาหลีมีเวลามากขึ้นในการปิดช่องว่างกับจีน และมีความเป็นไปได้มากขึ้นด้วยว่าจะสามารถรักษาอัตรากำไรระยะยาวไว้ได้อย่างมั่นคงภายใต้โครงสร้างตลาดที่มีสหรัฐเป็นผู้เล่นรายใหญ่

โอกาสที่เรามองเห็น

ความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะนำเสนอโอกาสสำหรับผู้ลงทุนหุ้นที่เน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพด้วยมูลค่าที่สมเหตุสมผล ตลาดเอเชียเหนือ (เกาหลี ไต้หวัน จีน และฮ่องกง) ดูมีราคาถูกมากหลังจากที่ตลาดเหล่านี้ปรับตัวลดลงมาประมาณ 20% ถึง 30% ในปี 2022 นอกจากนี้ ตลาดส่วนใหญ่จะเผชิญกับผลกระทบด้านบวกที่มีต่อเนื่องจากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจของจีน ดังที่กล่าวถึงใน “Tracking China’s re-opening”

อีกหนึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่นำเสนอโอกาสอันน่าสนใจนั้นอยู่ในไต้หวัน นั่นคือส่วนประกอบในซัพพลายเชนของศูนย์ข้อมูลคลาวด์และไฮเปอร์สเกล (Cloud & Hyperscale Data Center) โดยบริษัทที่ผลิตคอนเนคเตอร์ แผงวงจรและอื่นๆ จะได้รับประโยชน์จากศูนย์ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น ข้อมูลของ Synergy Research Group ระบุว่ามีศูนย์ข้อมูลระดับไฮเปอร์สเกลจำนวน 728 แห่งที่เปิดดำเนินการทั่วโลก ณ สิ้นปี 2021 และภายในปี 2026 ตัวเลขนี้จะสูงขึ้นแตะ 1,200 แห่ง โดยที่สหรัฐอเมริกาจะยังคงเป็นตลาดหลักแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดสำหรับศูนย์ข้อมูลประเภทดังกล่าว

ในทางกลับกัน ตลาดอาเซียน (โดยเฉพาะสิงคโปร์และอินโดนีเซีย) และอินเดีย ยังคงทำผลงานเป็นบวกในรูปสกุลเงินในประเทศในปี 2022 และดูเหมือนว่าจะไม่ได้มีมูลค่าที่ถูกนัก ทั้งในแง่ตัวเลขและการเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีต ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเลือกหุ้นด้วยกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อระบุตัวหุ้นผู้ชนะ โดยหากพิจารณาตลาดในกลุ่มอาเซียนและแม้แต่ในอินเดียแล้ว เราได้เห็นบางธนาคารที่มีมูลค่าน่าดึงดูด มีโอกาสที่มาร์จิ้นจะเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของ GDP ที่แข็งแกร่งและการปรับปรุงคุณภาพสินทรัพย์ที่มาจากฐานต่ำในปี 2021 ซึ่งอาจช่วยสนับสนุนผลประกอบการในปี 2023 นอกจากนี้ ในขณะที่เอเชียประสบกับความล่าช้ากว่าตลาดอื่นๆ ในการกลับมาเปิดเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด จึงเป็นไปได้ว่าภาคบริการในภูมิภาคนี้จะได้รับประโยชน์จากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจแบบเต็มปีในปี 2023

ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่มีมูลค่าถูกกว่าตลาดสหรัฐ

embracing-a-different-asia-fig2

ที่มา: Refinitiv Datastream และ MSCI สำหรับทุกตลาด ยกเว้น China A ; ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2022 ; ค่า Z scores คำนวณโดยอิงจาก standard deviation ของอัตราส่วน price to book value เฉลี่ยย้อนหลัง 12 ปี

สำหรับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นนั้นได้รับการกล่าวถึงในแบบที่แยกออกมาต่างหาก เนื่องจากผลประกอบการยังคงฟื้นตัวได้แม้จะเกิดการระบาดใหญ่ การปรับโครงสร้างองค์กรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นและความสามารถในการทำกำไรมีแนวโน้มดีขึ้น เงินเยนที่อ่อนค่าลงถือเป็นอุปสรรคต่อบริษัทในประเทศที่นำเข้าวัตถุดิบ แต่ส่งผลด้านบวกต่อผู้ส่งออกโดยเฉพาะรถยนต์ ทั้งนี้ หุ้น defensive ในประเทศน่าจะมีโอกาสในฝั่งขาขึ้นมากที่สุดเนื่องจากการแข็งค่าของเงินเยน ขณะที่หุ้นญี่ปุ่นก็มีราคาถูกทั้งเมื่อเทียบกับข้อมูลในอดีตและตลาดพัฒนาแล้วอื่นๆ และมีโอกาสอย่างมากสำหรับผลตอบแทนที่จะเป็นตัวเลขสองหลักในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้านี้

ในส่วนของตราสารหนี้เอเชีย เราเห็นโอกาสในตราสารหนี้คุณภาพสูงในขณะที่อัตราผลตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าสนใจมากที่สุดในรอบกว่าทศวรรษ ผู้ลงทุนสามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนที่แท้จริงที่เป็นบวกได้ด้วยการจัดสรรเงินทุนไปยังหลักทรัพย์ในระดับ investment grade ระยะสั้นที่หนุนโดยผู้ออกหลักทรัพย์ที่มีความแข็งแกร่งซึ่งให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ

ในขณะที่ตราสารหนี้เสี่ยงสูง (high yield bonds) ของเอเชียจัดอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงที่มีมูลค่าถูกที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนรายใหม่อาจต้องการเห็นว่าธนาคารกลางสหรัฐได้มาถึงจุดสิ้นสุดของวัฏจักรการปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้วหรือไม่ รวมทั้งสัญญาณการกลับมาเปิดประเทศของจีน ส่วนผู้ลงทุนรายเดิมที่ได้รับผลกระทบจากการเทขายเนื่องจากความปั่นป่วนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนนั้น เราสงสัยว่าอาจต้องมีบางสิ่งเกิดขึ้นเพื่อดึงความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนเหล่านี้กลับคืนมา: 1) ดูเหมือนว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะถึงจุดต่ำสุดหรือพลิกฟื้นตลาดจริงด้วยนโยบายสนับสนุนด้านการจัดหาเงินทุน และ 2) การปรับโครงสร้างที่ประสบความสำเร็จของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนบางรายที่มีการถือครองตราสารหนี้ออฟชอร์จำนวนมาก

ผลกระทบด้านการลงทุน

embracing-a-different-asia-fig3

คณะผู้จัดทำ:

John Tsai, Sundeep Bihani, Anand Gupta, Ivailo Dikov, Danny Tan, Wai Mei Leong, Doreen Choo, Liew Kong Chian, Bodin Buddhain, Nguyen Thi Bich Thao, Rebecca Lin, Paul Kim

Sources:
1 IMF Regional Economic Report, October 2022

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.