บทสรุป

 

เราเชื่อว่าโมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงต่อไป ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มขยายตัวช้าลงในที่สุด เนื่องจากการลดลงของเงินออมส่วนเกินที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างที่ชะลอตัวลง และเกณฑ์การปล่อยกู้ที่เข้มงวดมากขึ้น

สรุปมุมมองการลงทุน ประจำเดือนมิถุนายน

หุ้น : ตลาดหุ้นทำผลงานได้ดีในเดือนพฤษภาคมโดยได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่เป็นบวกอย่างต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่ชะลอตัวลงในระดับปานกลาง นอกจากนี้ รายงานผลประกอบการของภาคบริษัทที่แข็งแกร่งในภาพรวมและการตัดสินใจเรื่องนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน แม้ว่าจะไม่มีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่มีนัยยะสำคัญในระหว่างเดือนก็ตาม ตลาดหุ้นสหรัฐเพิ่มขึ้น 4.8% ด้วยแรงหนุนจากผลประกอบการของภาคธุรกิจที่โดดเด่น ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้น 5.0% และตลาดเกิดใหม่ (EM) เพิ่มขึ้น 0.6% ส่วนตลาดเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น ปรับตัวขึ้น 1.9% ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ตลาดหุ้นอาเซียนทำผลงานได้ต่ำกว่าตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชียในภาพใหญ่และตลาดกลุ่ม EM

ตราสารหนี้ : ในเดือนพฤษภาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุสองปีลดลง 15 basis points มาอยู่ที่ 4.89% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปี ลดลง 18 basis points มาที่ 4.51% ส่วนสิงคโปร์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสกุลเงิน SGD ปรับตัวลงตามสหรัฐ โดยอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์รัฐบาลสิงคโปร์รุ่นอายุ 2 และ 10 ปี ลดลง 8 และ 9 basis points มาปิดที่ 3.42% และ 3.36% ตามลำดับ ทั้งนี้ ภายใต้แนวโน้มอัตราผลตอบแทนที่ลดลง ส่งผลให้ตราสารหนี้รวมทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.3% โดยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.5% และพันธบัตรสิงคโปร์ (7-10Y) เพิ่มขึ้น 1.8% ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้เสี่ยงสูงของสหรัฐปรับตัวขึ้น 1.1% ซึ่งต่ำกว่าตราสารหนี้เอกชนโดยรวมของสหรัฐ (1.9%) ส่วนตลาดตราสารหนี้เอเชียสกุลเงิน USD เพิ่มขึ้น 1.3%

ภาพรวมเศรษฐกิจ

การเติบโต : ในเดือนพฤษภาคม ดัชนีคำสั่งซื้อของภาคการผลิตทั่วโลกที่จัดทำโดยเจพีมอร์แกน (PMI) ขยายตัวเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน โดยอยู่ที่ 50.9 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 22 เดือน ข้อมูลดังกล่าวชี้ว่าการเติบโตของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกยังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าสภาวะการเงินโดยรวมจะตึงตัวขึ้นในประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วโดยส่วนใหญ่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2024 แข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ของสหรัฐเป็นหลัก หากมองไปข้างหน้าเราเชื่อว่าโมเมนตัมการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงต่อไป ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของสหรัฐก็จะชะลอตัวลงในที่สุด เนื่องจากการลดลงของเงินออมส่วนเกินที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ การเติบโตของค่าจ้างที่ชะลอตัวลง และเกณฑ์การปล่อยกู้ที่เข้มงวดขึ้นท่ามกลางปัจจัยอื่นๆ

อัตราเงินเฟ้อ : แม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐจะแข็งแกร่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2024 แต่ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าของเดือนเมษายนและพฤษภาคมกลับต่ำกว่าคาด นั่นจึงเป็นข้อมูลที่ช่วยผ่อนคลายความกังวลได้ชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยค่อนข้างแข็งแกร่ง โดยค่าเช่าและส่วนประกอบที่เทียบเท่าค่าเช่าสำหรับเจ้าของยังคงทรงตัว แม้ว่าความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อด้านอุปทานอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งนำไปสู่ต้นทุนการขนส่งหรือราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่เราเชื่อว่าผลกระทบจากการลดลงของเงินเฟ้อจะมีอิทธิพลเหนือปัจจัยอื่นๆ ในท้ายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความต้องการในตลาดแรงงานชะลอตัวลงในระยะถัดไป

นโยบายการเงิน : ในการประชุม FOMC เดือนมิถุนายน 2024 เฟดคงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds target rate ไว้ตามเดิมที่ 5.25% ถึง 5.50% ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 7 ติดต่อกัน การประมาณการค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยล่าสุดของเฟด (หรือที่เรียกว่า 'Dot Plot') ในขณะนี้ได้สะท้อนถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 25 basis points (bp) เพียงครั้งเดียวในปีนี้ ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนมีนาคมว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสามครั้ง หากมองไปข้างหน้าเฟดจะพึ่งพาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อไป

กรุณาดาวน์โหลดรายงานเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงหลัก

Interesting reads

Know more
มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 21-25 ต.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 21-25 ต.ค. 67

21 ต.ค.

กนง. หักปากกาเซียน ลดดอกเบี้ย 0.25% กนง. ปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ไปอยู่ที่ระดับ 2.25% ผ ...

มุมมองการลงทุนประจำเดือนตุลาคม

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนประจำเดือนตุลาคม

21 ต.ค.

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่กำลังจะมาถึงได้สร้างความเสี่ยงให้กับตลาด ซึ่งความผันผว ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 14-18 ต.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 14-18 ต.ค. 67

15 ต.ค.

เงินเฟ้อสหรัฐฯ สูงกว่าคาด ดัชนีเงินเฟ้อสหรัฐฯประจำเดือนกันยายนเติบโตสูงกว่าคาดการณ์โดย ...

กรอบแนวคิดการลงทุนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

in insights

กองทุนรวมผสม

กรอบแนวคิดการลงทุนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

11 ต.ค.

การระดมทุนเพื่อลดช่องว่างทางการเงินในช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นสิ่งสําคัญในการบรรลุเป้าหมายขอ ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 7-11 ต.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 7-11 ต.ค. 67

07 ต.ค.

รายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ประจำเดือนกันยายนแข็งแกร่ง อย่างน่าทึ่งในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่อ ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 30 ก.ย. – 4 ต.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 30 ก.ย. – 4 ต.ค. 67

30 ก.ย.

PBoC เปิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ ธนาคารกลางจีน (PBoC) เปิดเผยมาตรการกระตุ้นเศรษฐ ...

มาตรการล่าสุดของรัฐบาลจีน เปลี่ยนเกมในตลาดได้จริงหรือ?

in insights

ตราสารทุน

มาตรการล่าสุดของรัฐบาลจีน เปลี่ยนเกมในตลาดได้จริงหรือ?

27 ก.ย.

จีนประกาศมาตรการสนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น ซึ่งนับเป็นการผ่อนคลายนโยบายที่ ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 23 - 27 ก.ย. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 23 - 27 ก.ย. 67

23 ก.ย.

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ มีมติ 11 ต่อ 1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง ...

มุมมองการลงทุนประจำเดือนกันยายน

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนประจำเดือนกันยายน

20 ก.ย.

แม้ว่าเฟดจะมีเหตุผลอยู่พอควรในการผ่อนคลายนโยบายเพื่อจัดการให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงแบบ &ldq ...

Fed ออกตัวแรงลดดอกเบี้ย 0.5% สกัด Recession

in insights

ตราสารทุน

Fed ออกตัวแรงลดดอกเบี้ย 0.5% สกัด Recession

19 ก.ย.

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯมีมติ 11 ต่อ 1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง 0 ...

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.