คำถามที่มักพบบ่อย
1.สนใจเปิดบัญชีเพื่อลงทุนกับทางบลจ.อีสท์สปริง ต้องทำอย่างไร
การเปิดบัญชีกองทุนรวมกับ บลจ.อีสท์สปริง ผู้ลงทุนต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
สามารถเปิดบัญชีได้ผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้
2.ช่องทางในการทำรายการของ บลจ.อีสท์สปริง
ผู้ลงทุนสามารถทำรายการซื้อ รายการขาย และ/หรือรายการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ ได้ที่
หมายเหตุ : เวลาการปิดรับรายการของแต่ละกองทุน เป็นไปตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนฯ ทั้งนี้ช่องทางในการทำรายการขึ้นกับประเภทของกองทุน
3. การทำรายการขายกองทุนลดหย่อนภาษีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF ) ต้องดำเนินการอย่างไร
ผู้ถือหน่วยลงทุน สามารถติดต่อทำการขายคืนหน่วยลงทุนได้ที่ตัวแทนสนับสนุนการขายที่ท่านเปิดบัญชีกองทุน หรือบลจ.อีสท์สปริง ชั้น 9 อาคาร มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โดยนำเอกสารเพื่อใช้ในการทำรายการขายคืนดังนี้
4.ต้องการวางแผนการลงทุนอัตโนมัติ (Auto Investment Plan : AIP) หรือลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) ต้องทำอย่างไร
1.สมาชิกสามารถตรวจสอบยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตนเองผ่านช่องทางใดได้บ้าง
- สมาชิก Eastspring M Choice ตรวจสอบข้อมูลได้ผ่านบริการ
- สำหรับสมาชิกธนชาตทวีค่า สามารถตรวจสอบผ่านบริการ I-PVD ทางเว็บไซต์ https://eithservices.eastspring.co.th/iPVD/
2.กรณีสมาชิกมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงาน ควรทำอย่างไรกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สมาชิกสามารถออมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างต่อเนื่องได้ดังนี้
2.1 คงเงินไว้ตามระยะเวลาที่ข้อบังคับกองทุนกำหนด (ค่าธรรมเนียมคงเงินปีละ 500 บาท นับตั้งแต่วันที่แจ้งคงเงินในกองทุน โดยส่วนงานทะเบียนสมาชิกจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวเมื่อสมาชิกแจ้งดำเนินการกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่คงไว้)
2.2 โอนเงินไปกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF for PVD)
โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหน้าเว็บไซต์บลจ.อีสท์สปริง จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไร เมื่อออกจากที่ทำงาน https://www.eastspring.co.th/insights/thought-leadership/how-to-manage-a-provident-fund-when-leaving-work
3.กรณีที่สมาชิกรับเงินออกจากกองทุนก่อนอายุครบ 55 ปี ต้องเสียภาษีอย่างไร
- เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลประจำปี ประกอบด้วย ผลประโยชน์เงินสะสม + เงินสมทบ + ผลประโยชน์ โดยเงินสมทบ แบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้
ในกรณีนี้ นายทะเบียนสมาชิกกองทุนของ บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จะทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย พร้อมนำส่งให้แก่กรมสรรพากร โดยสมาชิกกองทุนยังมีหน้าที่ยื่นภาษีให้ถูกต้อง ผ่านเอกสารแนบ ภ.ง.ด.90/91
4. สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีใดบ้าง
5.สมาชิกลาออกจากกองทุนแต่ยังไม่ลาออกจากงาน เงินที่ได้รับจากกองทุนสามารถเลือกเสียภาษีแบบแยกคำนวณต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่นหรือไม่
ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่ใช่ “เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุ ออกจากงาน” ตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร สมาชิกจึงต้องนำเงินที่ได้รับจากกองทุนไปคำนวณภาระภาษี ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ
1.ทำไมจึงต้องมีการแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
เนื่องจากกรมสรรพากรได้มีการออกประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการลงทุนใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (ThaiESG) และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thai ESG Extra หรือ Thai ESGX) โดยกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ทั้งนี้ บลจ. จะนำส่งข้อมูลการซื้อหน่วยลงทุนของท่านให้แก่กรมสรรพากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หากท่านได้มีการแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแก่บลจ.เรียบร้อยแล้ว
2.วิธีการแจ้งความประสงค์เพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (ThaiESG) และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thai ESG Extra หรือ Thai ESGX) ต้องทำอย่างไร
ท่านสามารถแจ้งความประสงค์เพียงครั้งเดียวสำหรับการลงทุนในทุกกองทุนลดหย่อนภาษีของบลจ.อีสท์ปริง (RMF/SSF/ThaiESG/Thai ESGX) ผ่านช่องทางดังนี้
ทั้งนี้บลจ.จะนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรตั้งแต่ปีภาษีที่ท่านระบุใช้สิทธิเป็นต้นไป จนกว่าท่านจะแจ้งยกเลิก
3.หากไม่แจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ หรือไม่ประสงค์ให้นำส่งข้อมูล จะเกิดผลอย่างไร
หากท่านไม่ได้แจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ หรือไม่ประสงค์ให้บลจ.นำส่งข้อมูลการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนThaiESG และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thai ESG Extra หรือ Thai ESGX) ของท่านให้แก่กรมสรรพากร ท่านจะไม่สามารถใช้สิทธิขอยกเว้นภาษีจากเงินลงทุนในกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีได้ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
4.หากไม่แจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ยังสามารถใช้หลักฐานการลงทุนในรูปแบบเอกสาร (รายงานการซื้อหน่วยลงทุน RMF/SSF/ThaiESG/Thai ESGX) ในการยื่นภาษีได้หรือไม่
กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ทั้งนี้บลจ.จะนำส่งข้อมูลการซื้อหน่วยลงทุนของท่านให้แก่กรมสรรพากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หากท่านได้มีการแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแก่บลจ.เรียบร้อยแล้ว โดยท่านสามารถการแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เพียงครั้งเดียว และจะมีผลตั้งแต่ปีภาษีที่ท่านเลือกไปตลอดจนกว่าจะมีการแจ้งยกเลิก
5.หากมีการแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้แล้วจะสามารถยกเลิกได้หรือไม่
สามารถยกเลิกได้ ทั้งนี้การยกเลิกความประสงค์ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จะมีผลตั้งแต่ปีภาษีที่ท่านได้แจ้งยกเลิกเป็นต้นไป โดยไม่มีผลกับข้อมูลที่บลจ.อีสท์สปริงเคยนำส่งให้แก่กรมสรรพากรแล้ว
6.หากมีหลายเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งบัญชีที่เปิดตรงกับบลจ.อีสท์สปริง และ/หรือตัวแทนขายอื่นๆ ต้องทำอย่างไร
การแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จะมีผลกับทุกเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของ บลจ.อีสท์สปริง ภายใต้หมายเลขบัตรประชาชนเดียวกัน ดังนั้นท่านสามารถแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เพียงครั้งเดียว โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งทุกหมายเลขผู้ถือหน่วยลงทุน
7.ต้องการขอเอกสารรายงานการซื้อกองทุน RMF/SSF/Thai ESG/Thai ESGX เพื่อตรวจสอบยอดการลงทุนของปีภาษีก่อนหน้า สามารถทำได้อย่างไร
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารรายการซื้อกองทุน RMF/SSF/Thai ESG/Thai ESGX ได้ทางหน้าเว็บไซต์ของบลจ.อีสท์สปริง เลือก หัวข้อบริการลูกค้า>ดาวน์โหลดเอกสารรายงานซื้อกองทุน RMF/SSF/Thai ESG//Thai ESGX หรือคลิก
https://order.eastspring.co.th/login/download-taxcert/verify-holder.jspอ้างอิง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ฉบับ ที่414 :
https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dg414.pdfประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ฉบับ ที่415 :
https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dg415.pdf1. ต้องการสมัครบริการทำธุรกรรมกองทุนรวม (FundLink Online) ต้องดำเนินการอย่างไร
ท่านสามารถติดต่อศูนย์ที่ปรึกษาการลงทุน โทร 1725 หรือกรอกแบบฟอร์มคำขอใช้บริการธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ท่านเปิดบัญชี
2.ลืมรหัสผ่านของ FundLink Online ต้องทำอย่างไร
ท่านสามารถดำเนินการได้ขอรหัสผ่านใหม่ได้ดังนี้
3.สามารถขอเอกสารหนังสือรับรองต่างๆ ผ่านระบบ FundLink Online ได้หรือไม่
ผู้ถือหน่วยสามารถดาวน์โหลดเอกสารจาก ระบบ FundLink Online ที่เมนู My Account>Inquiry>เลือกประเภทหนังสือรับรอง (Confirmation/Statement/หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย/หนังสือรับรองการซื้อและขายกองทุน RMF/SSF/ThaiESG/LTF ท่านสามารถศึกษาข้อมูลการใช้งานได้จากคู่มือ FundLink Online
4.หากผู้ถือหน่วยลงทุนมีเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมากกว่า 1 หมายเลข สามารถใช้ FundLink Online ที่เคยสมัครมาแล้วร่วมกับหมายเลขผู้ถือหน่วยลงทุนอื่นได้หรือไม่
ท่านสามารถทำการเชื่อมหมายเลขผู้ถือหน่วยลงทุนที่อยู่ภายใต้หมายเลขบัตรประชาชนเดียวกันกับรหัสผู้ใช้ (Username) โดยกรอกแบบฟอร์มคำขอใช้บริการธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต เพื่อขอใช้บริการ หรือติดต่อศูนย์ที่ปรึกษาการลงทุน โทร 1725
5.ต้องการสมัครใช้บริการออนไลน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องทำอย่างไร
- สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Eastspring M Choice นำชุดข้อมูล (รหัสนายจ้าง เลขที่ผู้ถือหน่วย และเลขที่อ้างอิง) ที่ได้รับจากนายจ้างไปลงทะเบียนใช้งานผ่าน Mobile Application Eastspring M Choice TH หรือ FundLink M choice ตามคู่มือวิธีการสมัครใช้งานดังนี้
https://services.eastspring.co.th/pvd/pdf/manual/RegisterMChoiceManual.pdf- สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนชาตทวีค่า นำชุดข้อมูล (รหัสนายจ้าง เลขที่บัญชีสมาชิก และเลขที่อ้างอิง) ที่ได้รับจากนายจ้างไปลงทะเบียนใช้งานผ่าน I-PVD ตามคู่มือวิธีการสมัครใช้งานดังนี้
https://eithservices.eastspring.co.th/iPVD/Document/PDF/Manual%20-%20iPVD%20online.pdfกรณีชุดข้อมูลสูญหาย ท่านสามารถนำข้อมูลในใบรับรองแจ้งยอดสมาชิกกองทุน (Statement) เพื่อทำการลงทะเบียนได้
6.สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถตรวจสอบชุดข้อมูล (รหัสนายจ้าง เลขที่ผู้ถือหน่วย/เลขที่บัญชีสมาชิก และรหัสอ้างอิง/เลขที่อ้างอิง) เพื่อลงทะเบียนใช้งานระบบ FundLink M Choice หรือ I-PVD ได้อย่างไร
สมาชิกสามารถขอชุดข้อมูลในการเข้าใช้ระบบ FundLink M Choice หรือ ระบบ I-PVD ผ่านนายจ้าง หรือตรวจสอบข้อมูลจากใบรับรองแจ้งยอดสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ดังนี้
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Eastspring M Choice (รูปตัวอย่าง)สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนชาตทวีค่า (รูปตัวอย่าง)
7.สมาชิกต้องการตรวจสอบข้อมูลการลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงนโยบาย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องทำอย่างไร
-สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Eastspring M Choice สามารถตรวจสอบข้อมูลการลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงนโยบาย ผ่าน Mobile Application Eastspring M Choice TH หรือ FundLink M choice
-สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนชาตทวีค่า สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากระบบ I-PVD
8.ลืมหัสผ่านของระบบ I-PVD ต้องทำอย่างไร
ท่านสามารถกดลืมรหัสผ่านได้จากหน้าเว็บไซต์ https://eithservices.eastspring.co.th/iPVD/Account/Forgot.aspx โดยใส่ข้อมูล รหัสนายจ้าง รหัสสมาชิก จากชุดข้อมูลลงทะเบียน หรือใบรับรองแจ้งยอดสมาชิก และใส่ รหัสผู้ใช้งาน (กรณีลืมรหัสผู้ใช้งาน กรุณาติดต่อฝ่ายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หมายเลข 02-838-1800 ต่อ 8543, 8544 และ 8511) หรือ อีเมล pvdregist.th@eastspring.com
9.หากลืมรหัสผ่าน (Password) ของระบบ Eastspring M Choice ต้องทำอย่างไร
ท่านสามารถกดลืมรหัสผ่านได้จากหน้าเว็บไซต์ https://services.eastspring.co.th/MChoice/login/registration/do_reset_form.jsp กรุณาใส่ชุดข้อมูลลงทะเบียน หลังจากกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ใส่แคปต์ชาเพื่อยืนยันตัวตน ระบบจะส่งอีเมลไปยังอีเมลที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้ (หากท่านไม่ได้รับอีเมลโปรดติดต่อนายจ้างของท่านเพื่ออัพเดทหรือเปลี่ยนแปลงอีเมล) เมื่อท่านได้รับอีเมลให้คลิกลิงก์ในอีเมลเพื่อใส่แคปต์ชายืนยันตัวตน จากนั้นใส่เลขที่ผู้ถือหน่วย ท่านสามารถตั้งรหัสผ่านใหม่ และยืนยันรหัสผ่านใหม่ เพื่อเข้าใช้งานได้ตามปกติ
1.บลจ.อีสท์สปริง คือใคร
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือของบริษัท พรูเด็นเชียล คอร์ปอเรชั่น เอเชีย ลิมิเต็ด บริษัทมาจากการควบรวมของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 โดยนำจุดแข็งของทั้ง 2 บริษัทรวมกับความแข็งแกร่งระดับสากลของ Eastspring Investments ส่งผลให้ บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและมุมมองเชิงลึกในตลาดการลงทุนไทย พร้อมด้วยความเชี่ยวชาญการลงทุนระดับโลกที่สามารถเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการลงทุนในกับผู้ลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง
2.บลจ.อีสท์สปริง มีผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ใดบ้าง
ท่านสามารถศึกษาข้อมูลผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับการแต่งตั้งของบลจ.อีสท์สปริงได้จากหน้าเว็บไซต์ https://www.eastspring.co.th/invest-with-us/appointed-sales-agents
3.หากต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนและบริการการลงทุนของ บลจ.อีสท์สปริงจะติดต่อได้อย่างไร
ติดต่อศูนย์ที่ปรึกษาการลงทุน (Investment Consulting Center) ได้ที่ โทร. 1725 หรือ 02-838-1800 กด 1 หรืออีเมล contactus.th@eastspring.com ภายในวันทำการ เวลา 08.30 – 17.00 น.
4.หากต้องการตรวจสอบวันครบกำหนดกองทุน Term Fund สามารถทำได้อย่างไร
5.บลจ.อีสท์สปริงมีกองทุนรวมประเภทใดให้เลือกลงทุนบ้าง
บลจ.อีสท์สปริงมีหลากหลายประเภทสินทรัพย์ให้เลือกลงทุน ท่านสามารถเลือกประเภทและศึกษาข้อมูลกองทุนของบลจ.อีสท์สปริงได้จากเว็บไซต์ https://www.eastspring.co.th/funds/mutual-funds
6.กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ลักซ์ชัวรี่ (LUXF) สามารถทำการขายคืนได้อย่างไร
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ลักซ์ชัวรี่ (LUXF) เป็นกองทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ทั้งนี้ท่านสามารถนำใบหน่วยลงทุน LUXF ฝากเข้าบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ (Broker) ที่ท่านได้เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ไว้เพื่อดำเนินการขาย
7.ใบแสดงสิทธิ/ใบหน่วยลงทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ลักซ์ชัวรี่ (LUXF) หายต้องดำเนินการอย่างไร
กรณีใบหน่วยลงทุนสูญหาย ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องดำเนินการแจ้งความ โดยระบุรายละเอียดในการแจ้งความดังนี้
จากนั้นนำใบแจ้งความตัวจริงติดต่อที่ บลจ.อีสท์สปริง ชั้น 9 อาคาร มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โดยผู้ถือหน่วยลงทุนต้องชำระค่าธรรมเนียมในการออกใบหน่วยลงทุนแทนฉบับเดิมที่สูญหายจำนวน 100 บาท
8.กรณีผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นเจ้าของบัญชีเสียชีวิต จะต้องดำเนินการอย่างไร
ผู้จัดการมรดกสามารถติดต่อบลจ.อีสท์สปริง หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ท่านติดต่อ โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้
หมายเหตุ : เอกสารทั้งหมดรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้จัดการมรดก
1. Thai ESGX คืออะไร?
คำตอบ: กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thailand ESG Extra Fund: Thai ESGX) เป็นกองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีรองรับการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF และเงินลงทุนใหม่สำหรับการลงทุนในช่วงเวลาที่กำหนด 2 เดือน โดยต้องลงทุนในทรัพย์สินที่ออกโดยผู้ออกหรือกิจการในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืนตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV
2. ประเภทสินทรัพย์ที่ Thai ESGX ต้องลงทุนในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV
ประกอบด้วย:
3. มีเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างไร?
คำตอบ: สิทธิประโยชน์ทางภาษีแบ่งออกเป็น 2 วงเงินใหม่
โดยไม่รวมกับกองทุนและประกันเพื่อรองรับการเกษียณการทำงานอื่น ๆ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้:
Thai ESGX (วงเงินลดหย่อนที่ 1) สำหรับเงินใหม่ที่บุคคลธรรมดาลงทุนในกองทุน Thai ESGX เฉพาะปี2568 สูงสุด 300,000 บาท
ทั้งนี้ การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
4. ใครได้ประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนใน Thai ESGX?
คำตอบ::
5. กรณีผู้ถือหน่วยกองทุนรวม LTF ประสงค์จะย้ายไปกองทุนรวม Thai ESGX หากมีเงินลงทุนมากกว่า 500,000 บาท จะมีผลอย่างไร?
คำตอบ: หากต้องการใช้สิทธิลดหย่อนวงเงินที่ 2 จะต้องสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ทั้งหมดในทุกกองทุน ทุก บลจ. ของผู้ถือหน่วยลงทุนรายนั้น ๆ มาเป็นหน่วยลงทุน Thai ESGX โดยหน่วยลงทุนที่สับเปลี่ยน มาแล้วรวมทั้งหมด ต้องถือครองตามเงื่อนไข ไม่น้อยกว่า 5 ปีด้วย (วันชนวัน นับจากวันที่ส่งคำสั่ง สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เดิม มากองทุน Thai ESGX)
6. Thai ESGX วงเงินลดหย่อนที่ 1 (300,000 บาท) ให้สิทธิเฉพาะปี 2568?
คำตอบ: ใช่Thai ESGX วงเงินลดหย่อนที่ 1 ให้สิทธิลดหย่อนเฉพาะในปี 2568
7. สรุปแล้วในปีภาษี 2568 ผู้ลงทุนมีวงเงินที่สามารถลดหย่อนสำหรับการลงทุนในกอง ESG อย่างไรบ้าง?
คำตอบ: ในปี 2568 มีกองทุนรวมกลุ่ม Thai ESG ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี 3 วงเงิน รวมสูงสุดไม่เกิน 900,000 บาท ดังนี้:
8. ขายหน่วยลงทุน LTF ออกไปบางส่วนได้หรือไม่ และบางส่วนสลับเข้ามา Thai ESGX
คำตอบ: หากผู้ลงทุนขาย LTF บางส่วนหลังวันที่ 11 มีนาคม 2568 จะไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี วงเงินสำหรับการสับเปลี่ยน LTF ไป Thai ESGX ได้ แต่ยังสามารถซื้อ Thai ESGX และใช้สิทธิ ประโยชน์ทางภาษีสำหรับเงินลงทุนใหม่ได้ ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปี 2568 ได้
9. กรณีลงทุน Thai ESGX ตั้งแต่ปี 2569 สามารถลดหย่อนภาษีได้ถึงปีใด ใช้วงเงินลดหย่อนเดียวกันกับ Thai ESG เดิมหรือไม่?
คำตอบ: การซื้อหน่วย Thai ESGX ตั้งแต่ปี 2569 จะถือว่าเป็นวงเงินลดหย่อนเดียวกับวงเงินลดหย่อน Thai ESG เดิม โดยวงเงินลดหย่อนของ Thai ESG ในปี 2569 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 300,000 บาท และไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และต้องถือครองหน่วยลงทุนเป็นระยะเวลา 5 ปี
10. จะนับอายุการถือครอง Thai ESGX ที่ซื้อและสับเปลี่ยนในปี 2568 อย่างไร?
คำตอบ: สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ลงทุนในวงเงินลดหย่อนที่ 1 (วงเงินใหม่) นับตั้งแต่วันที่ลงทุน โดยต้องถือครองหน่วยลงทุน Thai ESGX เป็นระยะเวลา 5 ปี
11. ปี 2568 ซื้อหน่วยลงทุน Thai ESG ไปแล้ว 300,000 บาท แล้ว จะซื้อหน่วยลงทุน Thai ESGX อีก 300,000 บาท ได้หรือไม่?
คำตอบ: ได้ โดยการเสนอขายหน่วยลงทุน Thai ESGX จะเปิดขายในช่วงระยะเวลา 2 เดือน ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 เท่านั้น
12. มูลค่าที่นำไปคิดลดหย่อนภาษีคิดจากมูลค่าตลาด หรือต้นทุน
คำตอบ: คิดจากมูลค่า NAV ณ วัน trade date ที่สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เป็น Thai ESGX
13. หากมีหน่วยลงทุน LTF ใน class ที่ไม่ได้ลดหย่อนภาษี ที่ซื้อตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ต้องโอนไป Thai ESGX ด้วยหรือไม่ ?และหน่วยลงทุนที่ลูกค้าได้รับจากการซื้อหน่วยลงทุน LTF ภายหลังจากวันที่ 11 มีนาคม 2568 จะต้องโอนไป Thai ESGX ด้วยหรือไม่ ?
คำตอบ:
14. กรณีลูกค้าทยอยสับเปลี่ยน LTF ไปเข้า Thai ESGX หลายวัน (ในช่วง 2 เดือน) จะส่งผลทำให้ เงื่อนไขการถือครองของหน่วยลงทุนแต่ละก้อนที่เข้ามาครบกำหนดไม่เท่ากันใช่หรือไม่ โดยจะนับจาก วันที่ทยอยสับเปลี่ยนในแต่ละก้อนไป 5 ปี (นับแบบวันชนวัน) ใช่หรือไม่ ?
คำตอบ: ใช่ การนับ 5 ปี(นับแบบวันชนวัน) จะนับจากวันที่แจ้งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF แต่ละก้อน