บทสรุป

 

เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา โดยการประกาศขึ้นภาษีศุลกากรครั้งใหม่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ส่งผลให้อัตราภาษีศุลกากรที่แท้จริง (effective tariff rate) ของสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากระดับเพียง 2.2% ณ สิ้นปี 2024 มาอยู่ที่เกือบ 20% ภายในระยะเวลาไม่ถึง 4 เดือน

นอกจากนี้ สถานการณ์ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง โดยหากสินค้าที่อยู่ระหว่างการสอบสวนตามมาตรา 232 ถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม (ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง) อัตราภาษีที่แท้จริงของสหรัฐฯ อาจไต่ระดับขึ้นไปถึง 25%-27% ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าช่วงที่มีการบังคับใช้กฎหมาย Smoot-Hawley Tariff Act ในปี 1930 ซึ่งนับปัจจัยซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Great Depression

การขึ้นภาษีศุลกากรในลักษณะนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯเองเช่นกัน เนื่องจากภาษีดังกล่าวเปรียบเสมือนภาษีที่เก็บเพิ่มจากการบริโภคและการลงทุน ซึ่งอดีตชี้ให้เห็นว่ามาตรการเช่นนี้ มักนำไปสู่การสูญเสียทางสวัสดิการในวงกว้าง จากการที่ทรัพยากรถูกใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ

หากอัตราภาษีใหม่นี้ยังคงอยู่ คาดว่าจะฉุดรั้งการเติบโตของ GDP สหรัฐฯ ในปีนี้ลงอย่างมีนัยสำคัญ จากคาดการณ์เดิมที่ 2.5% จะเหลือเพียงประมาณ 0.6% ถึง 0.8% ขณะที่ผลกระทบนี้ยังถูกซ้ำเติมด้วยปัจจัยลบอื่นๆ ทั้งมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังที่ดำเนินอยู่ และการจำกัดการเข้าเมืองอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การที่คู่ค้าสำคัญอย่างจีน สหภาพยุโรป และแคนาดา มีแนวโน้มสูงที่จะใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้า ก็จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของสหรัฐฯ อีกทางหนึ่งเช่นกัน

ปัจจัยลบที่ถาโถมเข้ามานี้ได้เพิ่มความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) อย่างมีนัยสำคัญ การประเมินความเสี่ยงในตลาดพยากรณ์ (ดังแสดงในรูปที่ 1) สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ โดยความน่าจะเป็นที่จะเกิดภาวะถดถอยในอีก 12 เดือนข้างหน้าได้พุ่งขึ้นจากระดับประมาณ 20-25% ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ไปสู่ระดับเกือบ 50% ณ ต้นเดือนเมษายน ขณะที่เราประเมินว่า โอกาสที่สหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีก 12 เดือนข้างหน้าขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 60%

polymarket us recession risk place,%

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในสหรัฐฯ แต่ยังแผ่ขยายไปยังเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย จากรูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงการปรับขึ้นอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยหลายประเทศในเอเชีย เช่น จีน เวียดนาม เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินเดีย เผชิญกับการปรับขึ้นอัตราภาษีในระดับที่สูงอย่างมีนัยสำคัญ อัตราภาษีที่สูงขึ้นนี้จะส่งผลโดยตรงต่อการลดลงของความต้องการจากสหรัฐฯต่อสินค้าส่งออกของเอเชีย

tariff table

นอกจากผลกระทบโดยตรงแล้ว เศรษฐกิจเอเชียยังเผชิญแรงกดดันจากผลกระทบทางอ้อม จากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยุโรป และประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ที่เป็นผลจากสงครามการค้า ซึ่งก็จะยิ่งทำให้อุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกของเอเชียลดลงไปอีก ขณะที่ผลกระทบของแต่ละประเทศจะไม่เท่าเทียมกัน เนื่องจากระดับการพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ที่แตกต่างกัน ดังที่แสดงในรูปที่ 3 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือ อย่างเวียดนาม, ไทยและมาเลเซีย ขณะที่ประเทศอย่าง อินเดีย และอินโดนิเซียจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

Exports to the US as a% of GDP,2024

ยิ่งไปกว่านั้น การที่สหรัฐฯ ไม่ได้ใช้มาตรการภาษีตอบโต้ในระดับที่รุนแรงเท่ากันกับประเทศในละตินอเมริกาและแอฟริกา (ซึ่งส่วนใหญ่มีอัตราภาษีที่แท้จริงเพียง 10% หรือต่ำกว่า) อาจสร้างแรงจูงใจให้บริษัทต่างๆ พิจารณาย้ายฐานการผลิตออกจากเอเชียไปยังภูมิภาคเหล่านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนภาษีที่สูงขึ้น

ในด้านผลกระทบต่อเงินเฟ้อและการดำเนินนโยบายการเงิน คาดว่าผลกระทบที่เป็นรูปธรรมจากการขึ้นภาษีที่จะมีต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เช่น ยอดค้าปลีก การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ น่าจะใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะปรากฏให้เห็น โดยผลกระทบอาจเริ่มชัดเจนขึ้นในข้อมูลของเดือนพฤษภาคมที่จะประกาศในเดือนมิถุนายน ทำให้ในระหว่างนี้ ตลาดมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนี ISM และตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก

สำหรับธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แม้อาจแสดงความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ แต่เราคาดว่าเฟดน่าจะให้ความสำคัญกับเสถียรภาพของตลาดแรงงานมากกว่า โดยมีแนวโน้มที่จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหากอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงระดับ 4.5% หรือมากกว่านั้นอย่างต่อเนื่อง และตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกทะลุระดับ 350,000 ราย โดยไม่จำเป็นต้องรอให้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงสู่เป้าหมาย

สำหรับแนวโน้มการลงทุนในระยะถัดไป ความผันผวนที่เพิ่มสูงขึ้นจากความไม่แน่นอนด้านนโยบายภาษี อาจเปิดโอกาสสำหรับนักลงทุนเชิงรุก (active investors) ที่สามารถปรับตัวและแสวงหาผลตอบแทนได้ ปัจจัยหนึ่งที่อาจช่วยบรรเทาผลกระทบเชิงลบได้คือ แนวโน้มการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งหากมีปรับตัวลดลงมากพอ อาจช่วยดึงอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้ต่ำลง และกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ได้ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงยังคงมีอยู่จากการขึ้นภาษีสินค้ากลุ่มไม้และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการสร้างบ้านสูงขึ้น และจะหักล้างประโยชน์ที่ได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ความสามารถในการดำเนินนโยบายภายในประเทศเพื่อชดเชยผลกระทบเชิงลบจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น จีน ซึ่งแม้มาตรการกระตุ้นทางการคลังที่ประกาศไปแล้วอาจไม่เพียงพอ แต่เราคาดว่ารัฐบาลจะดำเนินนโยบายเพิ่มเติมในแนวทาง "ทำทุกวิถีทาง" (whatever it takes) เพื่อพยุงการเติบโตให้อยู่เหนือระดับ 4.5% โดยมุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเป็นหลัก

ในขณะที่อินเดีย ซึ่งมีการพึ่งพาการส่งออกไปสหรัฐฯ ในสัดส่วนที่ต่ำ (เพียง 2.2% ของ GDP) และมีอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารกลาง ทำให้มีช่องว่างในการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย และการผ่อนคลายข้อจำกัดสินเชื่อภาคครัวเรือน นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียยังส่งสัญญาณอีกว่า พร้อมที่จะเจรจาลดอัตราภาษีของตนเองเพื่อแลกกับข้อตกลงการค้ากับสหรัฐฯ

โดยสรุป การปรับขึ้นภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยในสหรัฐฯ และสร้างแรงกดดันอย่างหนักต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในเอเชีย ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อและการดำเนินนโยบายการเงินยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลให้ภาพรวมการลงทุนจะต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับมือ การเจรจาต่อรอง และนโยบายภายในของแต่ละประเทศ ท่ามกลางความผันผวนที่เพิ่มสูงขึ้น

ในช่วงสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอน แนะนำกระจายการลงทุนไปยังกลุ่ม Defensive เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน เช่น ES-HEALTHCARE ,ES-GINFRA ขณะที่ในฝั่งของตราสารหนี้ยังเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยกระจายการลงทุนเช่นกัน อย่างไรก็ตามหลัง bond yield ปรับตัวลงมาค่อนข้างเร็ว เราจึงแนะนำกองทุนที่มีกลยุทธ์ยืดหยุ่นและมี Credit Rating สูงอย่าง ES-GINCOME และ ES-ALPHABONDS รวมถึงแนะนำกระจายการลงทุนในทองคำที่อาจได้รับประโยชน์จากความผันผวนที่เกิดขึ้นอย่าง ES-GOLD

Interesting reads

Know more
ESG เส้นทางสู่ความยั่งยืน

in insights

ตราสารทุน

ESG เส้นทางสู่ความยั่งยืน

25 เม.ย.

เรามุ่งเน้นในการลงทุนอย่างรับผิดชอบ (Responsible Investment หรือ RI) และแสดงให้เห็นถึง ...

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนเมษายน

in insights

กองทุนรวมผสม

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนเมษายน

18 เม.ย. | Ray Farris , Vis Nayar

เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ขณะที่ความเสี่ยงของภาวะถดถอยก็เพิ่มขึ้นอย่า ...

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนมีนาคม

in insights

กองทุนรวมผสม

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนมีนาคม

15 มี.ค. | Ray Farris , Vis Nayar

ตลาดกำลังสะท้อนถึงผลกระทบจากสงครามภาษีของทรัมป์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ซึ่งชี้ ...

จีนเปลี่ยนทิศทางนโยบาย มุ่งสู่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

in insights

กองทุนรวมผสม

จีนเปลี่ยนทิศทางนโยบาย มุ่งสู่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

12 มี.ค.

เราเชื่อว่าการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติครั้งล่าสุดของจีน ได้ส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงใ ...

การประกาศมาตรการภาษีของสหรัฐ และความท้าทายต่อ “US Exceptionalism”

in insights

กองทุนรวมผสม

การประกาศมาตรการภาษีของสหรัฐ และความท้าทายต่อ “US Exceptionalism”

07 มี.ค.

ในความเคลื่อนไหวล่าสุดของตลาดและการประกาศมาตรการภาษีของสหรัฐ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเ ...

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนกุมภาพันธ์

in insights

กองทุนรวมผสม

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนกุมภาพันธ์

18 ก.พ. | Ray Farris , Vis Nayar

แม้จะมีความไม่แน่นอนจากมาตรการภาษี แต่ผลประกอบการที่ออกมาดีกว่าคาดได้ช่วยให้ผลตอบแทนใน ...

เฟด : บอกฉันหน่อยว่าคุณอยากลดดอกเบี้ย… ก็แค่ไม่พูดออกมาดังๆ

in insights

เฟด : บอกฉันหน่อยว่าคุณอยากลดดอกเบี้ย… ก็แค่ไม่พูดออกมาดังๆ

11 ก.พ.

เฟดยังคงดอกเบี้ยไว้ที่เดิม แต่จับตาสถานการณ์การว่างงานอย่างใกล้ชิด แถลงการณ์การประชุม ...

ยุทธศาสตร์การคลังอินเดีย: โรดแมปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน

in insights

กองทุนรวมผสม

ยุทธศาสตร์การคลังอินเดีย: โรดแมปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน

05 ก.พ.

งบประมาณใหม่ของอินเดียตั้งเป้าลดการขาดดุลลงเหลือ 4.4% ของ GDP ในปีงบประมาณ 2026 จาก 4. ...

มุมมองการลงทุนจาก CIO
ประจำเดือนมกราคม

in insights

กองทุนรวมผสม

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนมกราคม

17 ม.ค. | Ray Farris , Vis Nayar

การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง แต่เผชิญกับความไม่แน่นอนด้านนโยบาย โดยเฉพาะเรื ...

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนธันวาคม

in insights

กองทุนรวมผสม

มุมมองการลงทุนจาก CIO ประจำเดือนธันวาคม

23 ธ.ค. | Vis Nayar

ข้อมูลที่ออกมาไม่สอดคล้องกันและความกังวลต่อการเติบโตของจีนกำลังถูกลดแรงกดดันลงด้วยมาตร ...

ข้อมูล คำแนะนำบทวิเคราะห์ และการแสดงความเห็นต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ได้รับมาจาก แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และให้ความเห็นตามหลักวิชาการเท่านั้นโดยไม่มุ่งหมายให้ถือเป็นการชักชวนหรือชี้นำให้ซื้อ และ/หรือขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่างๆ ตามที่ปรากฎในเอกสารฉบับนี้ และไม่ถือเป็นการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนของบริษัทต่างๆ ตามที่ระบุหรือถูกกล่าวถึงไว้ในเอกสารฉบับนี้แต่อย่างใด ทั้งนี้ทีมงานไม่อาจยืนยันและรับรองความครบถ้วนสมบูรณ์หรือถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวข้างต้นได้ และไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ทีมงานไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายในรายได้ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากการนำ ข้อมูล ข้อความ ความเห็น และ/หรือบทสรุปต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไปใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ

ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของทีมผู้เขียน มิได้เป็นความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของ บลจ. อีสท์สปริง (ประเทศไทย) ดังนั้น บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เอกสารควรใช้คู่กับหนังสือชี้ชวน

การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าการลงทุนเริ่มแรกก็ได้ และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดหรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้

แม้ว่ากองทุนรวมตลาดเงินลงทุนได้เฉพาะทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีโอกาสขาดทุนได้ การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน