เมื่อเงินเฟ้อพุ่งและเฟดขึ้นดอกเบี้ย ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร

ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวพุ่งขึ้นต่อเนื่อง โดยในคืนวันพุธที่ผ่านมากระทรวงแรงงานสหรัฐฯได้เปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือนธันวาคม 2021 ปรับตัวพุ่งขึ้นถึง 7% เมื่อเทียบปีต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนพฤศจิกายนซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.8% และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982

japan-s-small--to-mid-cap-universe-of-mispriced-opportunities-Fig1

ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิดจากราคาอาหารซึ่งเติบโต 6.0% จากปีก่อนหน้าและราคารถยนต์ที่พุ่งขึ้นเป็นสถิติใหม่ที่ 20.9% อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อเติบโตเพียง 0.5% หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า ชะลอตัวลงจากเงินเฟ้อในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเติบโต 0.8% นอกจากนั้นตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวยังอยู่ในกรอบที่นักลงทุนคาดการณ์ ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯตอบสนองในเชิงบวกและปิดตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นในวันเดียวกัน

japan-s-small--to-mid-cap-universe-of-mispriced-opportunities-Fig1

เราเชื่อว่าปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมถึงความครอบคลุมในการทำบทวิจัยหุ้นโดยนักวิเคราะห์ที่มีจำนวนน้อยและการประเมินมูลค่าที่ถูกทั้งในภาพรวมและในแง่ความแตกต่างของการประเมินมูลค่าที่ห่างกันเกินไป มักบ่งชี้ถึงความโน้มเอียงทางพฤติกรรมที่เกินจริงภายในกลุ่มหุ้นขนาดเล็กเมื่อเทียบกับตลาดในภาพรวม เราพบกรณีที่บริษัทขนาดเล็กไม่เพียงแต่ไม่ได้รับความชื่นชอบเท่านั้นซึ่งมักเกิดจากเหตุผลแค่ในระยะสั้น แต่ยังถูกมองข้ามจากนักวิเคราะห์อีกด้วย สิ่งนี้ทำให้เกิดการตีมูลค่าแบบบิดเบือนอย่างสุดโต่งซึ่งบริษัทที่ดีหรือที่กำลังมีแนวโน้มดีขึ้นได้ถูกมองข้ามไปอย่างง่ายดาย การที่กระบวนการลงทุนของเราได้มีการพิจารณาในเรื่องความโน้มเอียงทางพฤติกรรมมาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จึงถือเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับเรา

นักวิเคราะห์ปรับคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้ง

หลังจากดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวพุ่งขึ้นต่อเนื่องตามในกรอบที่นักลงทุนคาด ทำให้นักวิเคราะห์ทยอยปรับคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3-4 ครั้งในปี 2022 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้กลับลงมาอยู่ในกรอบ 2% ที่เฟดตั้งเป้าหมายไว้ นอกจากนั้นข้อมูลจากตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในปัจจุบันสะท้อนว่านักลงทุนคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้งในปีนี้

japan-s-small--to-mid-cap-universe-of-mispriced-opportunities-Fig1

เงินเฟ้อมา ดอกเบี้ยขึ้น ส่งผลต่อตลาดหุ้นอย่างไร

เมื่อดอกเบี้ยเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้น สิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่ตั้งคำถามคือตลาดหุ้นจะร่วงลงหรือไม่ หุ้นเติบโตอย่างกลุ่มเทคโนโลยีมีแนวโน้มจะปรับตัวลงอย่างรุนแรงมากกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆหรือไม่ จากสถิติในอดีตพบว่าในช่วงที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งต่อเนื่องอย่างเช่นในปี 2004 และ 2016 ช่วงก่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ย 3-6 เดือน ตลาดหุ้นมีแนวโน้มผันผวนและปรับตัวลง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการปรับตัวลงของตลาดหุ้นในช่วงก่อนขึ้นดอกเบี้ยไม่ได้รุนแรงและหลังจากที่ดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวขึ้น 1-2 ครั้ง ตลาดหุ้นก็เริ่มคงที่และกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

japan-s-small--to-mid-cap-universe-of-mispriced-opportunities-Fig1
japan-s-small--to-mid-cap-universe-of-mispriced-opportunities-Fig1

หุ้น Growth ระยะสั้นอาจผันผวน แต่ระยะยาวยังคงน่าสนใจ

ในอดีตเมื่อดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น หุ้นในกลุ่มเติบโต(Growth) มีแนวโน้มทำผลตอบแทนได้ต่ำกว่าหุ้นคุณค่า(value) อย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2004 อย่างไรก็ตามหุ้นเติบโตในยุคปัจจุบันไม่ใช่เป็นเพียงหุ้นที่มี P/E ratio สูงเพียงอย่างเดียวเหมือนในอดีต แต่หุ้นเติบโตในปัจจุบันเป็นกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีซึ่งมีการเติบโตของผลประกอบการเหมาะสมกับราคาหุ้นที่แพงกว่า ทำให้แม้จะถูกกดดันจากประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยในระยะสั้น หุ้นเติบโตในยุคปัจจุบันกลับมีโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นคุณค่าในช่วงหลังจากที่เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 1-2 ครั้ง เนื่องจากการเติบโตของผลประกอบการจะเป็นแรงหนุนให้นักลงทุนต้องกลับเข้าลงทุนให้หุ้นกลุ่มนี้ อย่างที่เราได้เห็นในช่วงปี 2016-2019 ที่กลุ่ม Growth กลับมา Outperform ได้น่าสนใจ

japan-s-small--to-mid-cap-universe-of-mispriced-opportunities-Fig1
japan-s-small--to-mid-cap-universe-of-mispriced-opportunities-Fig1
japan-s-small--to-mid-cap-universe-of-mispriced-opportunities-Fig1

คำแนะนำการลงทุน

ในช่วงที่ดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นเราคาดว่าหุ้นทั่วโลกจะมีแนวโน้มผันผวนในช่วงต้นของการขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นจะทยอยรับข่าวและมีแนวโน้มคงที่เมื่อธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นนักลงทุนจะกลับมาให้ความสำคัญกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งหากผลประกอบการยังสามารถเติบโตได้ตามทิศทางของเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นย่อมสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ โดยเฉพาะหุ้นเติบโตอย่างกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งผลประกอบการยังมีแนวโน้มสดใสต่อเนื่อง ทั้งนี้เราแนะนำให้นักลงทุนกระจายพอร์ตไปยังกองทุนที่มีการลงทุนผสมผสานระหว่างหุ้นวัฏจักร(cyclical) และหุ้นเติบโต(growth) เพื่อช่วยลดความผันผวนของพอร์ตในระยะสั้น และอาจเริ่มกลับมาเพิ่มน้ำหนักกลุ่ม Growth เพิ่มขึ้นเพื่อเปิดโอกาสรับผลตอบแทนจากการฟื้นตัวของหุ้นเทคโนโลยีในระยะถัดไป หลังจากที่เฟดเริ่มมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วประมาณ 1-2 ครั้ง

คำเตือน

  • ข้อมูล คำแนะนำบทวิเคราะห์ และการแสดงความเห็นต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ได้รับมาจาก แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และให้ความเห็นตามหลักวิชาการเท่านั้นโดยไม่มุ่งหมายให้ถือเป็นการชักชวนหรือชี้นำให้ซื้อ และ/หรือขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่างๆ ตามที่ปรากฎในเอกสารฉบับนี้ และไม่ถือเป็นการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนของบริษัทต่างๆ ตามที่ระบุหรือถูกกล่าวถึงไว้ในเอกสารฉบับนี้แต่อย่างใด ทั้งนี้ทีมงานไม่อาจยืนยันและรับรองความครบถ้วนสมบูรณ์หรือถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวข้างต้นได้ และไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ทีมงานไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายในรายได้ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากการนำ ข้อมูล ข้อความ ความเห็น และ/หรือบทสรุปต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไปใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ
  • ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของทีมผู้เขียน มิได้เป็นความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของ บลจ.ทหารไทย ดังนั้น บลจ.ทหารไทย จึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เอกสารควรใช้คู่กับหนังสือชี้ชวน
  • การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าการลงทุนเริ่มแรกก็ได้ และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดหรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
  • แม้ว่ากองทุนรวมตลาดเงินลงทุนได้เฉพาะทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีโอกาสขาดทุนได้ การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน
This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.