ตราสารหนี้เอเชีย : ปูรากฐานเพื่อพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่ง

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความท้าทาย แต่เอเชียกลับดูเหมือนว่าจะฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าภูมิภาคอื่นๆ การที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ในตลาดพัฒนาแล้วยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะตราสารหนี้ของเอเชียกลับให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ มีคุณภาพ และให้คุณสมบัติด้านการกระจายความเสี่ยงแก่ผู้ลงทุน ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการสร้างพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่งในยุคหลังวิกฤต covid

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดพัฒนาแล้วร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ ในขณะที่ธนาคารกลางต่างๆ ได้ตอบสนองอย่างรวดเร็วด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมและเริ่มดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรเพื่อรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดใหญ่ ธนาคารกลางทั่วโลกต่างพยายามคงท่าทีในการรักษาอัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรให้อยู่ในระดับต่ำต่อไป นั่นทำให้ผู้ลงทุนต้องเผชิญกับโอกาสที่ผลตอบแทนจะเข้าใกล้ศูนย์หรือติดลบจากตราสารหนี้ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยที่สุดนี้ ทั้งนี้ ตราสารหนี้ที่ให้อัตราผลตอบแทนติดลบทั่วโลกมีมูลค่ารวมกันถึง 15.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ1

ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจมองให้ครอบคลุมมากขึ้นและพุ่งตรงมาที่ตราสารหนี้เอเชียเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนที่ต้องการ ความหลากหลายในตลาดตราสารหนี้ของเอเชียนั้นหมายความถึงความสามารถที่จะส่งมอบผลตอบแทนที่น่าดึงดูด มีคุณภาพ และให้คุณสมบัติด้านกระจายความเสี่ยงแก่ผู้ลงทุน โดยช่วยให้พวกเขาสร้างพอร์ตการลงทุนที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้นซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในยุคหลังวิกฤต covid

คุณภาพบนพื้นฐานที่มั่นคงกว่าเดิม

ประเทศในเอเชียเริ่มเผชิญกับการระบาดใหญ่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของสถานะการคลัง (debt dynamics) ในทิศทางที่แข็งแกร่งมากขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในตลาดพัฒนาแล้ว แม้ว่าจะมีความแตกต่างในแต่ละประเทศ ในขณะที่ผู้กำหนดนโยบายในเอเชียยังใช้มาตรการกระตุ้นเพื่อรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาด แต่ระดับการซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาลในตลาดเกิดใหม่เอเชีย (Emerging Asia) จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้ใกล้เคียงกับขนาดของประเทศพัฒนาแล้ว ดูรูปที่ 1

รูปที่ 1 : การซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาลโดยธนาคารกลาง เทียบจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (เปอร์เซ็นต์ต่อ GDP)

asian-bonds-building-blocks-for-resilient-portfolios--chart-01

การมีงบดุลที่แข็งแกร่งกว่าและอัตราผลตอบแทนสูงกว่า จึงไม่น่าแปลกใจว่าตราสารหนี้ของประเทศเอเชีย เช่นพันธบัตรรัฐบาลจีนจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาซื้อจากผู้ลงทุนต่างชาติในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ในทางกลับกัน ระดับการถือครองตราสารหนี้ของอินเดียและอินโดนีเซียโดยผู้ลงทุนต่างชาติกลับลดลง เนื่องจากความกังวลของผู้ลงทุนเกี่ยวกับสภาวะการขาดดุลการคลังของประเทศที่เพิ่มขึ้นและซัพพลายพันธบัตรใหม่ที่ออกมามากขึ้น การแบ่งตลาดออกเป็นสองด้านนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารแบบเชิงรุก

โดยเปรียบเทียบแล้ว งบดุลของรัฐบาลเอเชียไม่เพียงแต่จะอยู่ในสถานะที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่อันดับเครดิตของบริษัทต่างๆ ในเอเชียที่จัดอยู่ในกลุ่ม Investment Grade (IG) ก็ยังอยู่ในทิศทางที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับบริษัทระดับเดียวกันของตลาดพัฒนาแล้ว อัตราส่วนหนี้สินสุทธิ (net leverage ratio) ของบริษัทในตลาดเกิดใหม่ที่มีอันดับเครดิต Investment Grade นั้นอยู่ที่ 1.6 เท่าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งต่ำกว่าสหรัฐ (2.4x) และในยุโรป (3.9 เท่า) อย่างมีนัยสำคัญ2

ตลาดผันผวนมากขึ้นในเดือนมีนาคมในช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของ covid-19 แต่บริษัทเอเชียที่มีอันดับเครดิต Investment Grade มีความผันผวนน้อยกว่าบริษัททั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด

จากกราฟในรูปที่ 2 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ คิดเป็นสัดส่วนสำคัญ (ประมาณ 25%) ของผู้ออกตราสารหนี้ระดับ Investment Grade ในเอเชีย

รูปที่ 2 : ความผันผวนของอัตราผลตอบแทนส่วนเกิน เปรียบเทียบระหว่างตราสารหนี้กลุ่ม Investment Grade ในเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ

asian-bonds-building-blocks-for-resilient-portfolios--chart-02

ในขณะเดียวกัน ตลาดตราสารหนี้เอเชียมีฐานผู้ลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมาทำให้ตลาดมีเสถียรภาพมากขึ้น

ผู้ลงทุนในเอเชียซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญในประเทศ, บริษัท ประกัน และกองทุนรวม ปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า 75% ของซัพพลายพันธบัตรออกใหม่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 53% ในปี 2010 สะท้อนจากรูปที่ 3 ผู้ลงทุนเหล่านี้ช่วยเป็นเกราะป้องกันจากสภาวะการไหลออกของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติในช่วงที่ตลาดตกอยู่ในภาวะหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk aversion)

รูปที่ 3 : ตราสารหนี้เอเชียที่ออกใหม่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ แบ่งตามสัดส่วนการถือครองเป็นรายภูมิภาค

asian-bonds-building-blocks-for-resilient-portfolios--chart-03

อัตราผลตอบแทนน่าสนใจ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเอเชียในปัจจุบันให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดพัฒนาแล้ว จากรูปที่ 4 ในขณะเดียวกัน แม้ว่าธนาคารกลางในเอเชียหลายแห่งจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ดังแสดงในรูปที่ 5

ภาวะเช่นนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่าธนาคารกลางในเอเชียมีโอกาสดำเนินมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมได้อีกหากมีความจำเป็น ซึ่งจะช่วยหนุนตลาดตราสารหนี้ในประเทศตนได้ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าธนาคารกลางในเอเชียส่วนใหญ่จะยังคงสงวนท่าทีไว้ในตอนนี้และใช้ความพยายามในการมุ่งเน้นดูแลสภาวะการเงินให้ยังคงเอื้อต่อภาคเอกชน

รูปที่ 4 และ 5
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 10 ปี และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

asian-bonds-building-blocks-for-resilient-portfolios--chart-04-and-05

อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นในตลาดตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูง (HY) ของเอเชีย ได้ดึงดูดความสนใจผู้ลงทุนเพิ่มมากขึ้นตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตราสารหนี้ HY ของเอเชีย ให้ผลตอบแทน 7.3% ต่อปีในช่วง 10 ปีมานี้ ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนของสหรัฐ (6.7% ต่อปี) และตราสารหนี้ HY ของยุโรป (5.7% ต่อปี) แม้ว่าส่วนต่างผลตอบแทนระหว่างตราสารหนี้ HY เอเชียและสหรัฐจะลดลงตามสภาวะตลาดที่วิ่งขึ้นแรงในเดือนมีนาคม แต่ตราสารหนี้ HY ของเอเชียยังคงให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ ข้อมูลในช่วงที่เขียนบทความนี้ สเปรดตราสารหนี้ HY ของเอเชีย เฉลี่ยอยู่ที่ 753bp สูงกว่า 505bp ซึ่งเป็นสเปรดตราสารหนี้ HY ของสหรัฐ และที่สำคัญสเปรดเหล่านี้ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่ายังมีโอกาสที่สเปรด HY ของเอเชียจะแคบลงอีก ดูรูปที่ 6 จากสถิติที่ผ่านมานั้นพบว่าผู้ลงทุนเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ HY ในเอเชีย เมื่ออัตราผลตอบแทนอยู่ที่ระหว่าง 7% ถึง 8% โดยได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 7.1% สำหรับการถือครองนาน 3 ปี

รูปที่ 6 : สเปรดตราสารหนี้ (bps) ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

asian-bonds-building-blocks-for-resilient-portfolios--chart-07

ภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ยังคงมีความท้าทาย แต่ก็เป็นความหวังเมื่อเห็นว่าอัตราส่วนหนี้สินสุทธิของตราสารหนี้ HY เอเชียอยู่ที่ 1.9 เท่า ซึ่งต่ำกว่าภูมิภาคอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่

จากรูปที่ 7 แสดงให้เห็นว่า เราอาจผ่านพ้นช่วงเวลาอันเลวร้ายที่สุดในแง่ของการปรับลดอันดับเครดิตสำหรับตลาดตราสารหนี้ HY ในเอเชีย

แต่อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องที่ยังคงย่ำแย่ภายในภาคอุตสาหกรรมของจีนและบริษัทผู้ออกตราสารซึ่งเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของอินโดนีเซียบางราย ได้ชี้ให้เห็นว่าผู้ลงทุนจำเป็นต้องดำเนินการคัดสรรอย่างมากเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่อาจสร้างปัญหาในตลาด

อัตราการผิดนัดชำระหนี้ในตลาดตราสารหนี้ HY ของเอเชียอยู่ที่ 2.2% ในปัจจุบัน3 และอาจขึ้นไปแตะตัวเลขหลักเดียวในระดับกลางๆ ภายในสิ้นปีนี้ ข้อมูลดังกล่าวถือว่าอยู่ในทิศทางที่ดีเมื่อเทียบกับอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของ HY เอเชียที่ 9% ในปี 2009 และยังต่ำกว่าอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของ HY สหรัฐที่คาดว่าจะอยู่ที่ 8% ในช่วงสิ้นปี

รูปที่ 7 : หนี้สินสุทธิของกลุ่มผู้ออกตราสารหนี้ HY เปรียบเทียบระหว่างเอเชียและตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคอื่นๆ

asian-bonds-building-blocks-for-resilient-portfolios--chart-06

การกระจายความเสี่ยงช่วยลดแรงเสียดทาน

ด้วยมิติที่หลากหลายของเศรษฐกิจเอเชีย ค่าเงิน และปัจจัยขับเคลื่อนภายในประเทศของตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคได้ชี้ให้เห็นว่าตราสารหนี้เอเชียสามารถให้ประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ในตลาดพัฒนาแล้วอยู่ในระดับต่ำซึ่งอาจจำกัดโอกาสในการกระจายลงทุนสำหรับพอร์ตการลงทุนประเภทผสมหลายสินทรัพย์

“จีน” เป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพียงไม่กี่ประเทศที่ไม่ได้ดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณในปีนี้ ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ลงทุนจึงสามารถได้ประโยชน์จากการถือครองตราสารหนี้ของจีนที่น่าดึงดูดและเพิ่มผลตอบแทนโดยใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์เส้นอัตราผลตอบแทน (yield curve) หรือแม้แต่ผู้ลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลกก็สามารถได้รับประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงเพิ่มเติมจาก ตราสารหนี้ของจีน ได้ ในปัจจุบันจีนคิดเป็นสัดส่วนเพียง 6% ใน Bloomberg Barclays Global Aggregate Bond Index ในทางตรงกันข้าม ตราสารหนี้ของสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป กลับมีสัดส่วนรวมกันมากกว่า 70% ของดัชนีดังกล่าว มีโอกาสชัดเจนที่ผู้ลงทุนต่างชาติจะเพิ่มการถือครองพันธบัตรรัฐบาลจีน จากระดับปัจจุบันซึ่งอยู่ต่ำกว่า 3% โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากธนาคารกลางทั่วโลกหาทางที่จะกระจายการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐในระยะยาว

ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงควบคุมระดับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐผ่านโครงการซื้อพันธบัตร โดยค่าเงินดอลลาร์มีบทบาทเสมือนเป็นตัวควบคุมแรงกดดันสำหรับผู้ลงทุนที่วิตกกังวลต่อสถานะการขาดดุลแฝด (twin deficits) ที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังสูญเสียความได้เปรียบในแง่ผลตอบแทนจากการที่เฟดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ โดย Asian Dollar Index ปรับตัวแข็งค่าขึ้น 5%4 เมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดในเดือนมีนาคม การอ่อนค่าลงต่อเนื่องของเงินดอลลาร์จะส่งผลดีต่อสกุลเงินเอเชีย เปิดโอกาสให้ผู้จัดการลงทุนตราสารหนี้ที่มีกลยุทธ์เชิงรุกสามารถสร้างผลตอบแทนได้เพิ่มเติม นอกจากนี้ หากค่าเงินหยวนยังคงมีเสถียรภาพ ก็จะช่วยเป็นหลักยึดด้านความแข็งแกร่งให้แก่ค่าเงินเอเชียในระยะต่อไป

ESG ก้าวสู่บทบาทที่สำคัญ

นอกเหนือจากความต้องการในการสร้างกระแสรายได้ การมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ และการกระจายความเสี่ยงในการถือครองพันธบัตรแล้ว การพิจารณาในประเด็น ESG ก็มีความสำคัญมากขึ้นสำหรับผู้ลงทุน ในงานสัมมนาเกี่ยวกับ COVID-19 ซึ่งจัดโดย United Nations Principles of Responsible Investment (UN PRI) มีผู้เข้าร่วมในสัดส่วน 92% ที่ระบุว่าการหารือกันในประเด็นความยั่งยืนถือเป็นสิ่งที่ “ต้อง” ดำเนินการเมื่อผู้ลงทุนตราสารหนี้เข้ามาเกี่ยวข้องกับผู้ออกตราสาร

เราเชื่อว่าการประเมินเรื่อง ESG อาจช่วยปรับปรุงผลงานของพอร์ตโฟลิโอได้ในระยะยาวโดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้าน ESG ที่ผู้ออกตราสารต้องเผชิญ ความพร้อมของข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ ESG อย่างจริงจังยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญ แต่นี่ก็ไม่ใช่ความท้าทายเฉพาะแค่ประเทศในเอเชียเท่านั้น มีสัญญาณที่สร้างความหวังก็คือการที่ผู้ออกตราสารในเอเชียได้ตระหนักถึงความเอาใจใส่ของผู้ลงทุนต่อชุดตัวชี้วัด ESG มากขึ้น และกำลังตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับข้อมูลชี้วัดผลงานซึ่งเกี่ยวข้องกับ ESG

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น แต่ความจำเป็นในการตีความข้อมูล ESG ก็หมายความว่าผู้จัดการที่ใช้กลยุทธ์เชิงรุกเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเด็นทางสังคมและการกำกับดูแลที่การประเมินขนาดของผลกระทบทำได้ยากขึ้น ทีมวิเคราะห์ตราสารหนี้ของเราได้ทำการวิเคราะห์ ESG อย่างครอบคลุมโดยใช้ กรอบการประเมิน ESG ที่เราจัดทำขึ้นมาโดยเฉพาะ

ปูรากฐานเพื่อความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

เราอาจผ่านพ้นจุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจขาลงที่เกิดจากการระบาดใหญ่ แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกต่อจากนี้จะไม่ราบรื่นนัก กิจกรรมทางเศรษฐกิจในเอเชียมีแนวโน้มที่จะหวนคืนกลับสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤต covid ได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก โดยมีจีน ไต้หวัน และเวียดนาม ที่ขึ้นมายืนได้อย่างโดดเด่นแล้วด้วยแรงสนับสนุนจากรัฐบาลของตนในการจัดการกับภาวะการระบาดจนถึงปัจจุบัน

เราเชื่อว่าตราสารหนี้เอเชียได้นำเสนอคุณค่าที่น่าสนใจแก่ผู้ลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนที่กำลังมองหาเรื่องคุณภาพอยู่นั้น ตราสารหนี้ระดับ investment grade ของเอเชียได้ให้ปัจจัยพื้นฐานทางเครดิตที่แข็งแกร่งและมีความมั่นคงอย่างสอดคล้องกัน ในทางกลับกันผู้ลงทุนที่แสวงหาผลตอบแทนสามารถรับประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจของตราสารหนี้ผลตอบแทนสูงของเอเชีย (Asian HY) ด้วยความผันผวนที่ต่ำกว่าตราสารในระดับเดียวกันเมื่อดูจากข้อมูลในอดีต

ในขณะเดียวกัน แนวโน้มของเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงได้ชี้ให้เห็นว่าตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่นของเอเชียนั้นสามารถให้ผลตอบแทนเพิ่มเติมและให้คุณสมบัติด้านการกระจายความเสี่ยงได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ตลาดที่ถูกแบ่งออกเป็นสองด้านนั้นได้ชี้ให้เห็นว่าผู้ลงทุนจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เชิงรุกในการบริหารจัดการเรื่อง duration (อายุเฉลี่ยของตราสาร) ลักษณะธุรกิจของผู้ออกตราสาร และความเสี่ยงค่าเงิน

เราคิดว่าผู้ลงทุนสถาบันกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการกระจายพอร์ตการลงทุนเข้าสู่ตราสารหนี้มากขึ้น คล้ายๆ กับการใช้กลยุทธ์ปรับลดความเสี่ยงที่เราได้เห็นในช่วงหลังวิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2008 เราคาดว่าตลาดตราสารหนี้เอเชียจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

Sources:
1 Bloomberg. As of 2 October. Bloomberg Barclays Global Aggregate Negative Yielding Debt Market Value.
2 JP Morgan, Bloomberg. Last 12 months incorporate partial 1Q20 earnings. For EM, utilising an evolving set of external bond issuers with debt outstanding and excluding 100% quasis, financials, real estate and defaulted companies.
3 Eastspring Investments. As of end August 2020 and calculated as a percentage of total bond outstanding amount.
4 Bloomberg. As of 2 October 2020.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.