การสอนลูกเรื่องเงินคืออะไร?

6 สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองพูดเกี่ยวกับเงิน และสิ่งที่ลูกของคุณเรียนรู้จากพวกเขา

มีคำพูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องเงิน ที่คุณได้ยินในช่วงโตเป็นผู้ใหญ่ มันอาจจะส่งผลด้านการรับรู้เกี่ยวกับเงินของคุณก็ได้ แล้วตอนนี้ก็อาจจะส่งผลไปถึงลูกของคุณ

things-parents-say-about-money-and-what-1

พูดและลงมือทำ พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนรู้ว่าสิ่งนี้เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ที่เราใช้ในการสอนลูกได้ และการสอนลูกเรื่องเงิน ซึ่งคือการสอนบทเรียนอันล้ำค่าเกี่ยวกับเงิน ก็ไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน

บ่อยครั้งที่เราไปพึ่งพาสิ่งที่พ่อแม่สอนเราตอนเด็กๆ หรือไม่ก็พูดสิ่งที่นึกได้ โดยไม่ทันคิดก่อน แต่เรามองข้ามไปว่าสิ่งที่เราพูดนั้น สร้างค่านิยมให้ลูกอย่างไร

เวลาที่เราพูดเรื่องเงิน ลองมาดูสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองพูดเหมือนๆ กัน สิ่งที่ลูกได้ยินเมื่อเราพูด และการพูดอีกแบบที่เราสามารถทำได้

1. เงินไม่ได้งอกมาจากต้นไม้

คำพูดนี้เป็นคำพูดติดหูที่เราคงจะเคยได้ยินพ่อแม่พูด ตอนที่ท่านให้เราใช้ของอย่างรู้ค่าไม่ทิ้งขว้าง จากการที่ถูกสอนมาแบบนี้ เราเองก็รู้ด้วยว่าคำพูดนี้มันไม่ได้ผล

สิ่งที่ลูกได้ยิน

คำพูดนี้ส่งผลกับลูกน้อยมาก เพราะมันแค่บอกสิ่งที่รู้อยู่แล้ว แน่นอนว่ามันเป็นคำพูดที่อาจจะตลก และก็จำได้ง่าย แต่พอเป็นเรื่องของการสอนลูกเรื่องเงินแล้ว แทบจะไม่ได้อะไรจากมันเลย

คุณควรพูดอะไรแทน

ถ้าอยากจะสอนให้รู้คุณค่าไม่ทิ้งขว้าง มีคำพูดโบราณอันหนึ่งที่ใช้ได้ คำว่า “ไม่ทิ้งขว้าง ไม่ฟุ่มเฟือย” (แน่นอนว่ามันล้าสมัยไปแล้ว คุณอาจจะต้องเปลี่ยนคำสักหน่อย) ลองพูดว่า “ต้องทำงานหนักเพื่อซื้อของชิ้นนี้ / เพื่อทำอาหารมื้อนี้ / เพื่อทำให้ลูก ดังนั้นก็คิดให้ดีๆ นะ” หรือไม่ก็พูดว่า “ต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมาเพื่อสิ่งนี้นะ อย่าใช้แบบทิ้งขว้าง”

2.“เงินไม่พอซื้อ”

ลูกของคุณอยากได้ของเล่นราคาแพง และแน่นอนของเล่นชิ้นนี้มันไม่จำเป็น หรือมันเกินงบของคุณ ลูกๆ ก็ร้องไห้งอแงในร้านของเล่น คุณเลยพูดเพื่อให้ลูกหยุดว่า “เงินไม่พอซื้อ” จากนั้นลูกจะหยุดร้องไห้งอแงเอง (หวังว่านะ)

สิ่งที่ลูกได้ยิน

ถึงแม้ว่าคำนี้อาจจะดูเหมือนวิธีสอนลูกเรื่องเงินที่โหดแต่เปี่ยมไปด้วยความรัก พ่อแม่ผู้ปกครองควรคิดอยู่เสมอว่าลูกมีความรู้สึกที่อ่อนไหวมากๆ คำว่า “เงินไม่พอซื้อ” อาจจะทำให้ลูกสับสนกับคำว่า “เราไม่มีเงิน” ก็ได้ และนี่อาจจะทำให้ลูกกังวลและเครียดเรื่องสถานภาพทางการเงินของครอบครัว

คุณควรพูดอะไรแทน

คุณสามารถสอนลูกเรื่องราคาของสิ่งต่างๆ ด้วยการบอกว่า “มันไม่คุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายเลย มีอย่างอื่นที่ดีกว่า มีอย่างอื่นที่เราควรซื้อนะ”

3.“ไม่รู้จะผ่านเดือนนี้ไปได้ยังไง”

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองนำลูกเข้ามามีส่วนร่วม ในการตัดสินใจและการพูดคุยเรื่องเงิน ให้คุณบอกความจริงเกี่ยวกับสถานภาพทางการเงินของครอบครัว เพื่อเป็นการสอนลูกถึงความยากลำบากของชีวิต

สิ่งที่ลูกได้ยิน

สิ่งนี้ร้ายแรงกว่าการบอกว่า “เงินไม่พอซื้อ” การบอกให้ลูกรู้เกี่ยวกับปัญหาทางการเงิน อาจจะทำให้ลูกใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัวว่าจะไม่มีบ้านให้อยู่หรือไม่มีจะกิน ลูกต้องการความมั่นคงและปลอดภัย3.

คุณควรพูดอะไรแทน

การดึงลูกเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องเงินเป็นเรื่องที่ดีและสามารถทำได้ แต่การคุยเรื่องความกังวลและปัญหาเรื่องเงินนั้นไม่ใช่ การให้ลูกเห็นว่าคุณดิ้นรนสู้ชีวิตยังคงเป็นเรื่องดี แต่ขอให้เป็นไปในทางบวกและสร้างกำลังใจ นี่เป็นโอกาสที่ดีที่จะสอนลูกให้อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ด้วยการบอกว่า “มาระดมสมองกัน และลองเสนอวิธีที่ช่วยเราเก็บเงิน”

things-parents-say-about-money-and-what-2

4. “อยากได้อะไรเดี๋ยวซื้อให้หมดเลย”

พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนอยากมอบสิ่งที่ตัวเองขาดไปในวัยเด็กกับลูก คุณอาจจะได้ยินพวกเขาพูดว่า “อยากได้อะไรเดี๋ยวซื้อให้หมดเลย”

สิ่งที่ลูกได้ยิน

นี่เป็นวิธีการที่สอนให้ลูกมีสิทธิ์ใช้เงิน เมื่อลูกได้ยินแบบนี้ คุณกำลังบอกลูกว่าเงินไม่สำคัญ ลูกจะได้ทุกสิ่งอย่างแค่เพียงเอ่ยปากขอ

คุณควรพูดอะไรแทน

การให้รางวัลเด็กด้วยของขวัญอาจจะเป็นเรื่องดีในการสอนลูกเรื่องเงิน แต่ของขวัญพวกนี้ต้องลงแรงเพื่อให้ได้มา ลองตั้งระบบให้รางวัลขึ้นมา เช่น ให้รางวัลเมื่อเรียนดีหรือทำงานบ้าน บอกลูกของคุณว่า “ถ้าลูกทำแบบนี้ / ตั้งใจทำสิ่งนี้ ลูกก็จะได้สิ่งนี้ (ของรางวัลที่ตกลงกันไว้)”

5. “เปลืองเงิน”

คุณคิดในใจว่า “จะต้องมีหุ่นสไปเดอร์แมนสักกี่ตัวกัน” แล้วคำพูดที่หลุดออกจากปากคุณก็คือ “เปลืองเงิน”

สิ่งที่ลูกได้ยิน

ตอนที่คุณซื้อรองเท้าคู่ใหม่ คุณรู้สึกดีกับตัวเอง ดังนั้นตอนที่ลูกคุณซื้ออะไรสักอย่าง ลูกคุณก็รู้สึกดีเช่นกัน นั่นเป็นเพราะว่าการซื้อของพวกนี้ มันไปตอบสนองตัวตนของคุณ เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นมนุษย์และเป็นไปโดยธรรมชาติ การที่คุณบอกว่าสิ่งที่ลูกต้องการเป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองเงิน นั่นคือคุณกำลังบอกว่าลูกของคุณไร้ค่า

คุณควรพูดอะไรแทน

ใช้โอกาสนี้สอนลูกเกี่ยวกับความจำเป็นและความต้องการ ถามลูกว่า “ก็รู้ว่าลูกอยากได้ แต่มันจำเป็นจริงๆ เหรอ”

6.ไม่คุยเรื่องเงินเลย

พ่อแม่ผู้ปกครองบางคนเลือกที่จะไม่คุยเรื่องเงินกับลูกเลย

สิ่งที่ลูกได้ยิน

ถ้าคุณไม่พูดอะไรเลย ลูกคุณก็จะถูกปล่อยให้ตีความเอาเองว่ามันหมายความว่ายังไง ลูกอาจจะมีความคิดและค่านิยมผิดๆ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อมุมมองและวิธีจัดการเงินเมื่อลูกโตเป็นผู้ใหญ่

คุณควรพูดอะไรแทน

เมื่อไม่พูดเรื่องเงินกับลูก ผลลัพธ์แบบที่เลวร้ายน้อยที่สุดก็คือ ถือว่าพลาดโอกาสสอนลูกในเรื่องที่สำคัญ ส่วนแบบที่เลวร้ายที่สุดคือ มันอาจจะทำให้มีค่านิยมผิดๆ เกี่ยวกับเงิน ดังนั้นให้คุณใช้เวลาสอนลูกเรื่องเงินโดยใช้คำพูดที่เหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก การทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกมีค่านิยมที่ดีและเป็นบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริงตลอดชีวิต

รับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมตามบุคลิกลักษณะของคุณ

การวิเคราะห์โดยละเอียด ลิงก์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเนื้อหาล่าสุด

Sources:
1 https://www.1life.co.za/blog/kids-money-talk
2 https://www.360financialliteracy.org/Topics/Spending-Saving/The-Basics/Talking-to-Your-Kids-about-Money
3 https://www.forbes.com/sites/alicegwalton/2012/07/25/how-parents-stress-can-hurt-a-child-from-the-inside-out/#41c4a3496b38
4 http://www.businesspsych.org/articles/280.html

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.