เหตุผลที่เอเชียเปิดโอกาสให้การลงทุน ESG สร้างผลงานโดดเด่น

เราคาดว่าตัวอักษร “E” จะถูกวางเป็นเป้าหมายหลักสำหรับการลงทุน ESG ในเอเชียเนื่องจากคาดการณ์ว่าผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่มีต่อภูมิภาคนี้จะมีความรุนแรงที่สุด จากความเร่งด่วนในการดำเนินการเพื่อรับมืออย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่แข็งแกร่งจะทำให้มีการออกตราสารเพิ่มขึ้นจากธุรกิจในกลุ่มพลังงาน ขนส่ง ธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้เพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับผู้ลงทุนตราสารหนี้

การระบาดของ COVID-19 เป็นบทเรียนสำหรับผู้กำหนดนโยบายที่เพิกเฉยต่อคำเตือนก่อนหน้านี้ว่าทุกประเทศทั่วโลกมีความพร้อมน้อยมากในการรับมือกับการระบาดใหญ่ ในขณะเดียวกันก็เป็นการเรียกร้องให้ผู้ลงทุนให้ความสำคัญกับความเสี่ยงภายในพอร์ตการลงทุนของตนมากขึ้นเมื่อโมเดลความเสี่ยงแบบดั้งเดิมไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าหรือประเมินได้

“E” มีแนวโน้มเป็นเป้าหมายหลักของการลงทุน ESG ในเอเชีย

แม้ COVID-19 จะเป็นประเด็นทางสังคมที่ได้รับความสนใจอย่างมากเพราะมีผลทำให้การทำงานและการศึกษาหยุดชะงัก แต่เราเชื่อว่าความกังวลด้านสภาพภูมิอากาศจะกลายเป็นจุดสนใจหลักของการลงทุน ESG ในเอเชีย ข้อมูลของ McKinsey & Company ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าจะกระทบภูมิภาคเอเชียหนักที่สุด1 ซึ่งจากเหตุผลที่มีน้ำหนักมากขึ้นนี้ทำให้เกิดความเร่งด่วนในมาตรการรับมือที่มีประสิทธิภาพซึ่งสะท้อนถึงโอกาสที่มีมากขึ้นสำหรับผู้ลงทุนและการสร้างผลงานที่โดดเด่นของการลงทุน ESG

รายงานดังกล่าวมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 บางภาคส่วนของเอเชียอาจเห็นอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เกิดคลื่นความร้อนในระดับที่เป็นอันตราย เหตุการณ์พายุฝนหรือหิมะตกรุนแรง พายุเฮอริเคนลูกใหญ่ ภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ เหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงเหล่านี้คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร โครงสร้างพื้นฐาน ห่วงโซ่อุปทาน และประสิทธิภาพการผลิต ทาง McKinsey & Company ประมาณการว่า GDP ของภูมิภาคเอเชียที่มีความเสี่ยงจากเหตุการณ์เหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า 2 ใน 3 ของ GDP โลกซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดูรูปที่ 1

why-asia-offers-opp-for-esg-outperformance-fig-1

ในขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ในรายงานของ McKinsey ได้ระบุถึงจุดเด่นว่า “เอเชียอยู่ในสถานะที่ดีในการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้และรับโอกาสที่เกิดจากการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ” การที่เอเชียมีระดับการขยายเป็นเมืองหรือ urbanisation ยังคงเพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ทำให้ภูมิภาคนี้สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่ในเขตเมืองที่มีความแข็งแกร่ง สามารถรับมือกับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศได้มากขึ้น ธนาคารพัฒนาเอเชียคาดการณ์ว่าความต้องการโครงสร้างพื้นฐานของเอเชียในช่วงปี 2016 ถึง 2030 จะสูงเกิน 26 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรวมถึงความต้องการโครงสร้างพื้นฐานประเภทพลังงานในมูลค่า 14.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐและการขนส่ง 8.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ2 ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่เห็นได้อย่างชัดเจนสำหรับผู้ลงทุนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดัน "โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว" หรือ green infrastructure ในเอเชีย

เกาหลีและจีนเป็นผู้นำระดับโลกในด้านยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน โดยในปี 2020 เกาหลีแซงหน้าจีนขึ้นเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าอันดับหนึ่ง3 ในขณะเดียวกัน จีนเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในสัดส่วน 47% ของรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในโลกและมีการใช้รถโดยสารไฟฟ้าหรือ electric bus ในสัดส่วนสูงถึง 99% เมื่อเทียบกับการใช้รถโดยสารไฟฟ้าทั่วโลก4 นวัตกรรมเหล่านี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เนื่องจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดว่าจะมียอดเงินลงทุนหมุนเวียนใหม่ที่สูงถึง 250 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปจนถึงปี 2025 เรามีแนวโน้มที่จะเห็นโอกาสในการลงทุนมากขึ้นในกลุ่มพลังงานหมุนเวียน รายงานฉบับใหม่ของ EY ระบุว่า 7 ประเทศในเอเชียติดอันดับตลาดที่น่าสนใจที่สุดในโลกจากการเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานลม ไฟฟ้าพลังน้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งดัชนีที่จัดทำโดย EY คือ Renewable Energy Country Attractiveness Index (RECAI) ชี้ว่าจีน อินเดีย และญี่ปุ่น มีอันดับสูงที่สุดในเอเชียสำหรับโอกาสในการลงทุนและดำเนินการในขอบเขตของพลังงานหมุนเวียน

เราได้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของการออกตราสารหนี้ของกิจการในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะจากจีนและอินเดีย ชุดข้อมูลในระดับบริษัทได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อต้นทุนต่อหน่วยลดลงตามการประหยัดต่อขนาดที่ดีขึ้น รายงานของ Economist Intelligence Unit (EIU) ระบุว่าเครื่องมือทางการเงินที่สนับสนุนการดูแลสิ่งแวดล้อมนับว่ามีบทบาทสำคัญในการระดมทุนสำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียนในเอเชีย5

นอกจากนี้ เรายังมองเห็นโอกาสในการออกตราสารหนี้จากบรรดาผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเนื่องจากสัดส่วนการผลิตของภูมิภาคเมื่อเทียบกับตลาดยานยนต์ทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตอย่างมากในช่วงหลายปีข้างหน้าด้วยการสนับสนุนจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ และการใช้งานที่แพร่หลายมากขึ้น

เราคาดว่าภาคธนาคาร พลังงาน การขนส่ง และอสังหาริมทรัพย์ จะเป็นผู้นำในนวัตกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมซึ่งมีแหล่งเงินทุนสนับสนุนหรือที่เรียกว่า Green Financing

ปัจจุบันจีนเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนรายใหญ่ที่สุดในโลกได้ให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนเหลือศูนย์ (carbon neutral) ภายในปี 2060 ผู้ออกตราสารของจีนทั้งองค์กรที่รัฐเป็นเจ้าของและที่เอกชนเป็นเจ้าของ มีแนวโน้มที่จะดำเนินการอย่างจริงจังภายใต้เป้าหมายของรัฐบาลและได้กำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมแบบเชิงรุกในระดับที่เหมาะสมกับธุรกิจตน นี่จึงเป็นการนำเสนอโอกาสที่สำคัญสำหรับผู้ลงทุน ข้อมูลในปี 2020 จีนถือว่าเป็นผู้ออกพันธบัตรสีเขียวหรือ green bond รายใหญ่ที่สุดในเอเชีย ขึ้นนำหน้าญี่ปุ่น ซึ่งยังเป็นสิ่งที่น่าจับตามองต่อไปว่าจีนจะสามารถครองตำแหน่งผู้นำในปี 2021 ต่อไปได้หรือไม่ ขณะเดียวกันสิงคโปร์ก็เพิ่งประกาศแผนที่จะออกพันธบัตรโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อใช้สนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวที่ตั้งเป้าหมายแบบเชิงรุก

กระบวนการคัดสรรที่เข้มข้นกว่าการกลั่นกรองปกติ

เมื่อโอกาสเพิ่มสูงขึ้น เราเชื่อว่าผู้ลงทุน ESG ในเอเชียจะพยายามทำสิ่งที่มากเกินไปกว่าแค่เพียงคัดกรองบริษัทที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดสำหรับพอร์ตการลงทุนที่เน้น ESG

แทนที่จะโยกย้ายเงินออกไปจากกลุ่มธุรกิจ ESG ที่มีความเสี่ยงสูงแบบดั้งเดิมอย่างเช่นบริษัทพลังงานซึ่งเกี่ยวข้องกับการขุดเชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งเจ้าของสินทรัพย์และผู้ลงทุนสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านการมีส่วนร่วมและช่วยให้บริษัทนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้นมาใช้ การเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลให้ ESG ดีขึ้นในพอร์ตการลงทุนตลอดจนสังคมโดยรวม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ “win-win” สำหรับทั้งคู่ วิธีนี้ยังช่วยให้เราจำแนกความแตกต่างของบริษัทที่มีคะแนน ESG สูงอันเนื่องมาจากลักษณะทางธุรกิจที่เป็นเช่นนั้นโดยธรรมชาติ (ตัวอย่างเช่นกลุ่มเทคโนโลยี) เมื่อเทียบกับกลยุทธ์ที่มุ่งมั่นทำให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น6

เราเชื่อว่ามีหลายวิธีในการมองประเด็นที่เกี่ยวกับ ESG และหลายวิธีในการประเมินความเสี่ยงด้านนี้ งานศึกษาล่าสุดจากผู้ตอบแบบสอบถาม 300 คนซึ่งรวมถึงผู้บริหารระดับสูงในองค์กรและผู้ลงทุนสถาบันในเอเชีย พบว่า 48% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้น้ำหนักแก่ปัจจัย E, S และ G ในระดับพอๆ กัน ขณะที่ 24% ให้น้ำหนักกับปัจจัย E สูงสุด ส่วนอีก 19% ให้ความสำคัญกับปัจจัย S มากที่สุดและ 15% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าปัจจัย G สำคัญที่สุด7 ดูรูปที่ 2 ทั้งนี้ ชุดข้อมูลที่ใช้วัดค่าเชิงปริมาณในปัจจัย E, S และ G ยังถือว่ามีความแตกต่างกันในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม

รูปที่ 2: การตอบคำถาม “ปัจจัยใดต่อไปนี้มีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการตัดสินใจลงทุนของบริษัทคุณ? --- สิ่งแวดล้อม (E) สังคม (S) หรือการกำกับดูแล (G) (ข้อมูลแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม)

why-asia-offers-the-opportunity-for-esg-outperformance_clean-2

แนวทาง ESG ของเราไม่ได้มุ่งเน้นแค่เฉพาะพันธบัตรสีเขียว เพื่อสังคมและความยั่งยืน หรือ Green, Social and Sustainability (“GSS”) แต่เรายังเปิดโอกาสให้นำรวมตราสารหนี้ที่สอดคล้องกับหลักการ ESG ที่เราใช้อยู่ในกระบวนการภายใน ด้วยเหตุนี้เราจึงเต็มใจที่จะซื้อตราสารหนี้ของ บริษัทที่มีความเสี่ยงด้าน ESG ในระดับปานกลางหากบริษัทสามารถแสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะรับมือกับความเสี่ยงเหล่านั้นได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราจะไม่พิจารณาตราสารหนี้ที่แม้ว่าจะมีความเสี่ยงด้าน ESG ต่ำหากตราสารเหล่านี้ถูกมองว่าไม่พร้อมในการจัดการกับความเสี่ยงดังกล่าว ดูรูปที่ 3 ตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นดูได้จากบริษัทผู้นำส่งไฟฟ้าและก๊าซซึ่งอาจมีความอ่อนไหวต่อภาระหนี้ที่เกิดจากเหตุการณ์ไฟป่า แต่เราพร้อมที่จะรวมตราสารไว้อยู่ในพอร์ตการลงทุนหากประเมินแล้วว่าความเสี่ยงดังกล่าวสามารถลดลงได้ด้วยแผนบรรเทาไฟป่าของบริษัทและการนำเทคโนโลยีมาใช้

รูปที่ 3: ชุดข้อมูลที่ใช้การตัดสินใจด้าน ESG ของทีมตราสารหนี้เอเชีย

why-asia-offers-the-opportunity-for-esg-outperformance-fig-3

แนวทางดังกล่าวทำให้เกิดความต้องการอย่างมากในเรื่องคุณภาพและประเภทของข้อมูล ESG ที่จำเป็นจากบรรดาบริษัทต่างๆ ซึ่งอาจไม่ได้รับจากผู้ให้บริการภายนอกเสมอไป ดังนั้น เราจึงได้พัฒนากรอบการทำงานด้าน ESG ที่เราจัดทำขึ้น โดยในแง่หนึ่งความพยายามนี้เป็นส่วนขยายเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติในกระบวนการวิเคราะห์เครดิตที่เราประมวลข้อมูลของบริษัทต่างๆ อยู่เดิมแล้ว เราได้นำรวมการวิเคราะห์ด้าน ESG ไว้ในกรอบการทำงานของเราที่เกี่ยวกับเครดิตมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2017 และยังคงพร้อมที่จะเปิดรับและปรับปรุงวิธีคิดและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน ESG ต่อไป ซึ่งนอกเหนือจากการใช้ข้อมูลจากผู้ให้บริการจัดอันดับ ESG จากภายนอกแล้ว เราเชื่อว่าการมีส่วนร่วมในเชิงรุกกับผู้ออกตราสารถือเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด

เอเชีย: ทางแยกระหว่างความมั่งคั่งที่เติบโตเร็วและโอกาสด้าน ESG ที่เพิ่มขึ้น

การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้เกิดช่องโหว่ในบางกลุ่มอุตสาหกรรม แต่ขณะเดียวกันก็ได้เน้นย้ำถึงความแข็งแกร่งของกลุ่มอื่นๆ ด้วย ในขณะที่ผู้ลงทุนโยกย้ายเงินออกจากตราสารหนี้ของสายการบินไปสู่บริษัทผู้ออกตราสารในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความแข็งแกร่งกว่าอย่างเช่นเทคโนโลยี การรับรู้และตระหนักถึงความเสี่ยงด้านความยั่งยืนจึงเพิ่มขึ้นภายหลังการระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันผู้ลงทุนจำนวนมากมองว่าการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG นับเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยกำหนดความยั่งยืนของโมเดลธุรกิจของบริษัทต่างๆ การลงทุนด้าน ESG ในเอเชียที่เคยล่าช้าในอดีตกลายเป็นมีสินทรัพย์ในกองทุน ESG สูงถึง 25.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 เพิ่มขึ้นจาก 810 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 20198

รัฐบาลของประเทศในเอเชียตระหนักมากขึ้นด้วยเช่นกันว่าแนวทางการปฏิบัติด้าน ESG ที่ดีจะเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว รัฐบาลในเอเชียหลายๆ ประเทศได้ดำเนินการส่งเสริม ESG เข้าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะโดยการสนับสนุนการพัฒนาศูนย์กลาง green finance ในภูมิภาค (สิงคโปร์ ฮ่องกง) การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็น green finance (อินโดนีเซีย ไต้หวัน) หรือการบ่มเพาะตลาดพันธบัตรสีเขียว (อินเดีย) ส่วนที่สิงคโปร์เมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้มีการเปิดตัว “Green Plan 2030” ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมของสิงคโปร์ในระยะสิบปีข้างหน้าในขณะที่ประเทศพยายามผลักดันวาระแห่งชาติในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับ ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia) กำลังมองหาช่องทางในการจัดแบ่งลักษณะของธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในช่วงที่เหลือของปีนี้เพื่อในที่สุดจะได้นำมาใช้จำแนกความแตกต่างของสถาบันการเงินซึ่งขึ้นอยู่กับการสนับสนุนเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศของสถาบันการเงินแต่ละราย

เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีการผสมผสานกันระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและการสนับสนุนด้านนโยบายอันเป็นเอกลักษณ์ เราได้เห็นศักยภาพของการสร้างผลงานอันยอดเยี่ยมของการลงทุน ESG จากการเดินทางมาบรรจบกันระหว่างการสะสมความมั่งคั่งที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและโอกาสที่มีมากขึ้นสำหรับการลงทุน ESG

Sources:
1 Climate risk and response in Asia. McKinsey Global Institute. November 2020.
2 Meeting Asia’ Infrastructure Needs. Asian Development Bank. 2017.
3 https://www.dw.com/en/south-korea-leads-charge-toward-electric-vehicles/av-55182362
4 https://www.channelnewsasia.com/news/business/china-electric-vehicle-start-ups-race-for-leading-position-13822952
5 EIU. Sustainable and actionable: An ESG study of climate and social challenges for Asia. 2020
6 ESG in manager selection – Mercer’s perspective. January 2021.
7 EIU. Green Intelligence: Asia’s ESG investing, data Integrity and technology. 2019.
8 Morningstar Global Sustainable Fund Flows report. January 2021.

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.