Quant investing ในเอเชีย : กลยุทธ์ความผันผวนต่ำที่ช่วยปกป้องและเสริมความแกร่งให้กับพอร์ต

ช่วงเวลาแห่งความผันผวนของตลาดที่รุนแรงขึ้นกลายมาเป็นเหตุการณ์ที่พบได้บ่อยกว่าเดิมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยการปรับฐานอย่างรวดเร็วและร่วงลงไปลึกอยู่หลายครั้ง อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนที่ใช้กลยุทธ์ความผันผวนต่ำ จะสามารถคงสถานะการลงทุนไว้ได้ในขณะที่พยายามลดความผันผวนในพอร์ตโฟลิโอของตนให้ต่ำลง ด้วยวิธีนี้ผู้ลงทุนจะสามารถลดความเสี่ยงของการออกจากตลาดในช่วงเวลาเลวร้ายที่สุดและพลาดจังหวะที่ดีที่สุดของตลาดซึ่งอาจทำให้ผลตอบแทนโดยรวมลดลงอย่างมาก

กลยุทธ์เชิงปริมาณหรือ Quant strategies มักได้รับความสนใจจากแนวทางการลงทุนที่มีโครงสร้าง แบบเป็นระบบ และสามารถดำเนินการซ้ำได้ ซึ่งการขจัดอคติทางพฤติกรรมและอาศัยหลักฐานที่เกิดขึ้นจริงจากข้อมูลจำนวนมาก ทำให้การลงทุนเชิงปริมาณจะไม่ถูกบดบังด้วยความลำเอียงของมนุษย์และความชอบส่วนบุคคล

ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดที่ไม่ได้อิงกับการลงทุนเชิงปริมาณได้ชี้ถึงประเด็นที่ว่ากลยุทธ์เหล่านี้อาศัยข้อมูลในอดีตซึ่งอาจไม่ได้จัดเตรียมแบบจำลองเชิงปริมาณให้มีความรวดเร็วเพียงพอในการคาดการณ์และปรับให้เข้ากับเหตุการณ์ของตลาดในอนาคต ซึ่ง COVID-19 ถือเป็นตัวอย่างในกรณีนี้ อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์เชิงปริมาณที่มีความผันผวนต่ำ ("low vol") สามารถส่งมอบสิ่งที่มุ่งหวังได้ นั่นคือการให้ผลตอบแทนที่มั่นคงกว่าตลาดแม้ในช่วงที่เกิดภาวะการปรับตัวลงอย่างรุนแรงจาก COVID และการกลับมาฟื้นตัวของตลาดถัดจากนั้น

สายพันธุ์ delta ของ COVID ที่ระบาดมากขึ้นในเอเชียเมื่อปี 2021 ส่งผลให้ดัชนีความผันผวนขั้นต่ำของ MSCI เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น (MSCI Asia ex Japan Minimum Volatility Index) ปรับตัวลดลง 5% ในระหว่างวันที่ 18 มีนาคมถึง 20 สิงหาคม ในขณะที่ดัชนี MSCI เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น ซึ่งเป็นดัชนีที่ครอบคลุมหุ้นมากกว่าได้ปรับตัวลดลง 10.7%1 รูปแบบความเคลื่อนไหวนี้ได้แสดงให้เห็นซ้ำๆ ตลอดทั้งปีในแต่ละรอบที่ตลาดปรับฐานจากจุดสูงสุดสู่จุดต่ำสุด (drawdown)

ความผันผวนที่เพิ่มขึ้น

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความผันผวนของตลาดที่รุนแรงกว่าเดิมได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นการปรับฐานอย่างรวดเร็วและร่วงลงลึกอยู่หลายรอบ เหตุการณ์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้ามากนัก ทั้งนี้ ความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับความผันผวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมีนาคม 2020 และยังคงอยู่ที่ระดับที่สูงกว่าที่เราเคยเห็นมาเกือบตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเริ่มมาจากความไม่แน่นอนที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวภายหลังการแพร่ระบาดของ COVID ดูรูปที่ 1

ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความผันผวนของตลาดในช่วงที่ผ่านมาได้แก่ การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจีน นโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟดในสหรัฐ ราคาที่พุ่งสูงขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์ อาหาร และพลังงาน และเหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้นั่นคือวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน

รูปที่ 1: ความผันผวนพุ่งสูงขึ้นนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020

income-investing-in-asia-building-resilience-with-asian-reits-and-dividends-fig3

ในปี 2019 พบว่ามีทั้งหมด 42 วันที่ดัชนี MSCI เอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น แกว่งตัวเกินกว่า 1% ก่อนมาในปี 2020 ตัวเลขดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวมาอยู่ที่ 86 วัน จนมาถึงไตรมาสแรกของปี 2022 ซึ่งจำนวนวันที่มีการแกว่งตัวเกินระดับดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้ว 25 วัน2

ความผันผวนที่เกิดขึ้นดังกล่าว ผู้ลงทุนที่ไม่สามารถทนต่อความเสียหายจากการปรับฐานของตลาดได้ก็อาจตัดสินใจออกจากตลาดทันทีในช่วงเวลาที่ย่ำแย่ที่สุด จึงอาจพลาดโอกาสเมื่อตลาดเกิดการดีดตัวกลับขึ้นอย่างมาก กลยุทธ์ผันผวนต่ำได้เข้ามาช่วยลดความสูญเสีย โดยปรับตัวลดลงน้อยในช่วงที่ตลาดปั่นป่วน แต่ในทางกลับกัน กลยุทธ์ดังกล่าวต้องการการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเพื่อกลับคืนสู่ระดับเดิม ซึ่งผลกระทบนี้จะค่อยๆ ให้ผลพอกพูนเมื่อเวลาผ่านไป

ความโดดเด่นของกลยุทธ์ผันผวนต่ำในเอเชีย

ตลาดเกิดใหม่และตลาดเอเชียมักจะมีความผันผวนสูงกว่าตลาดพัฒนาแล้ว ดูรูปที่ 2 โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ทั้ง EM และเอเชียต่างประสบกับการแกว่งตัวจากจุดสูงสุดสู่จุดต่ำสุด (drawdowns) ที่รุนแรงกว่าสหรัฐและยุโรปในช่วงที่มีความผันผวนสูง ขณะที่ระยะเวลาในการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดเหล่านี้ก็มีความสำคัญพอๆ กัน ข้อมูลระบุว่าในช่วงเวลาเดียวกัน ตลาดเอเชียใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ย 14 วันในการฟื้นตัวหลังจากเกิดแรงเทขาย เมื่อเทียบกับ 4 วันสำหรับตลาดสหรัฐและ 8 วันสำหรับตลาดยุโรป3 การที่เอเชียมีความเสี่ยงในการเผชิญกับภาวะ drawdowns ที่เพิ่มขึ้นและใช้เวลานานขึ้นสำหรับการฟื้นตัวนั้น กลยุทธ์ความผันผวนต่ำในเอเชียจึงดูน่าสนใจเป็นพิเศษในฐานะกลยุทธ์การลงทุนที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถเดินฝ่าภาวะความปั่นป่วนของตลาดได้ดีขึ้นและมีสถานะลงทุนอยู่ต่อไปได้ในระยะยาว

รูปที่ 2 : ตลาดเอเชียเผชิญกับสภาวะ drawdowns ที่รุนแรงกว่า

income-investing-in-asia-building-resilience-with-asian-reits-and-dividends-fig3

ในอีกด้านหนึ่ง COVID ได้สร้างรอยแผลทางเศรษฐกิจไว้ให้เอเชีย แม้ภูมิภาคถูกคาดการณ์ว่าจะยังคงเติบโต 5.2% ในปี 2022 และ 5.3% ในปี 20234 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะไม่เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียมทั่วภูมิภาคเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่มีลักษณะแตกต่างกัน เศรษฐกิจเอเชียจะยังคงพัฒนาและเข้าสู่ระดับการเติบโตเต็มที่ ขณะเดียวกัน ก็จะเผชิญการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจอยู่เป็นระยะ ซึ่งอาจทำให้เกิดความผันผวนของตลาดได้ กรณีดังกล่าวรวมถึงการที่จีนใช้มาตรการคุมเข้มด้านกฎระเบียบในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคส่วนอื่นๆ ในปี 2021 ดังนั้น ผู้ลงทุนที่ต้องการเปิดรับความเสี่ยงสู่หุ้นเอเชียในภาพที่ใหญ่กว่าก็สามารถพิจารณาเสริมพอร์ตการลงทุนของตนด้วยกลยุทธ์ความผันผวนต่ำในเอเชีย

การปรับขึ้นดอกเบี้ยดูเหมือนจะถูกลดความสำคัญลง

ความกังวลเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐได้ส่งผลกระทบต่อหุ้นเอเชียในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยวิธีที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐผ่อนคลายลงนั้น ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่าอาจต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขนาดที่มากกว่าที่เคยคาดการณ์ ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่ผู้ลงทุนจะมีความกังวลต่อแรงกดดันที่ฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

ครั้งสุดท้ายที่เฟดแสดงจุดยืนว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกมากก็คือระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 2004 ถึง 29 มิถุนายน 2006 โดยในช่วงเวลาดังกล่าวมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 425 basis points นั่นคือจาก 1% เป็น 5.25% และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น MSCI Asia ex Japan Minimum Vol Index ก็ยังคงให้ผลตอบแทนที่ 26% ดูรูปที่ 3

รูปที่ 3 : กลยุทธ์ผันผวนต่ำทำผลงานได้ดีในช่วงการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ผ่านมา

income-investing-in-asia-building-resilience-with-asian-reits-and-dividends-fig4

เกราะป้องกันเงินเฟ้อ

หุ้นที่มีความผันผวนต่ำนั้นมักพบในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีลักษณะ defensive และโดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นบริษัทที่เติบโตเต็มที่ มีผลประกอบการมั่นคง กระแสเงินสดที่คาดการณ์ได้ และเงินปันผลสูง บริษัทที่จ่ายเงินปันผลนั้นถือเป็นเกราะป้องกันภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีแรงกดดันเงินเฟ้อ ด้วยการส่งมอบผลตอบแทนจากทุนคืนในทันทีและเป็นการยืนยันความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดของบริษัท

รายได้จากเงินปันผลยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนระยะยาวของผลตอบแทนจากหุ้นในเอเชีย ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทในเอเชีย ไม่รวมญี่ปุ่น มีอัตราส่วนกระแสเงินสดอิสระรวมที่ครอบคลุมภาระหนี้สิน (aggregate free cashflow cover ratio) ในระดับสูงที่สุด ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่าเงินปันผลนั้นได้รับแรงสนับสนุนที่มากพอจากงบดุลที่แข็งแกร่ง ดูรูปที่ 4

รูปที่ 4 : อัตราส่วนกระแสเงินสดอิสระครอบคลุมภาระหนี้ของบริษัทในเอเชีย ไม่รวมญี่ปุ่น อยู่สูงกว่า 1 เท่านับตั้งแต่ปี 2013

income-investing-in-asia-building-resilience-with-asian-reits-and-dividends-fig3

หุ้นในเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น ที่ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงกว่า 3% นั้น มีจำนวนมากกว่าถึงเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับหุ้นยุโรป และมากกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับหุ้นสหรัฐ5 ซึ่งการเลือกหุ้นด้วยความระมัดระวังในหุ้นที่มีคุณภาพดี มีความผันผวนต่ำและจ่ายเงินปันผล จะช่วยให้รับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้

พอร์ตการลงทุนผันผวนต่ำ ≠ พอร์ตการลงทุนที่ประกอบด้วยหุ้นผันผวนต่ำ

ในขณะที่ประโยชน์จากกลยุทธ์ความผันผวนต่ำนั้นเห็นได้ชัดเจน แต่ข้อเสียเปรียบหลักก็คือกลยุทธ์นี้มักมีความล่าช้าเมื่อตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังเช่นในสถานการณ์ COVID ซึ่งทำให้เห็นว่าการพึ่งพาแนวทางที่ประกอบด้วยปัจจัยเดียวอย่าง “ความผันผวนต่ำ” นั้น อาจไม่ได้ผลเสมอไปในการบรรลุเป้าหมาย drawdown ที่ต่ำกว่าแต่มีส่วนร่วมในตลาดในภาพกว้างกว่าซึ่งผู้ลงทุนจำนวนมากต้องการ

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมควรใช้แนวทางที่คำนึงถึงการครอบคลุมหุ้นในจำนวนมาก แทนที่จะไปมุ่งเน้นแต่หุ้นที่มีลักษณะเฉพาะจากความผันผวนต่ำ ดังนั้น พอร์ตการลงทุนที่เกิดขึ้นจากแนวทางนี้จะได้รับประโยชน์จากโอกาสที่มากขึ้นในการเพิ่มค่าอัลฟ่า ผ่านหุ้นที่มีลักษณะทางพื้นฐานที่น่าสนใจ จากนั้นจึงใช้ประโยชน์จากแนวทางการสร้างพอร์ตการลงทุนขั้นสูงเพื่อให้ได้พอร์ตที่มีความผันผวนต่ำ

กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดการกระจายความเสี่ยงที่ดีระหว่างกลุ่มธุรกิจ ประเทศ อุตสาหกรรม และหุ้นต่างๆ จนได้ผลลัพธ์คือพอร์ตการลงทุนความผันผวนต่ำ ไม่ใช่พอร์ตที่ประกอบด้วยหุ้นผันผวนต่ำ ผู้ลงทุนระยะยาวที่ต้องการยืนหยัดลงทุนในเอเชียอย่างเต็มที่แม้ในช่วงที่มีความผันผวนสูง อาจพิจารณาจัดสรรสินทรัพย์เพิ่มเติมด้วยกลยุทธ์ความผันผวนต่ำเพื่อช่วยในการจัดการความเสี่ยงจากการเกิด drawdown ในช่วงที่ตลาดเผชิญความผันผวน

บทความนี้เป็นบทความที่หกจากซีรีส์ที่มีทั้งหมดแปดบทความซึ่งได้สำรวจกลยุทธ์การลงทุนต่างๆ ที่ผู้ลงทุนสามารถนำไปปรับใช้เพื่อคว้าโอกาสที่กำลังเกิดขึ้นในเอเชีย

Sources:
1 Refinitiv Datastream, MSCI indices, Eastspring Investments as of 31 December 2021
2 Bloomberg, MSCI Asia Pacific ex Japan index, Eastspring Investments as of 31 March 2022
3 eVestment, Eastspring Investments as of 31 March 2022
4 Asian Development Bank, April 2022
5 MSCI indices and companies are constituents of MSCI World Index, as of March 2022

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.