India Outlook 4Q 2023

แนวโน้มการลงทุนในอินเดียประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 ยังมีทิศทางที่ดีต่อเนื่องหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่นักลงทุนต่างกังวลว่าอาจถูกกดดันจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่ปลายปี 2022 ที่ผ่านมา กลับชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย ตัวเลข GDP ไตรมาสล่าสุดสิ้นสุดเดือนมิถุนายนยังคงเติบโตมากถึง 7.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทรงตัวอยู่ที่ระดับใกล้เคียง 60 จุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแรงเกิดจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Pro-Growth ที่รัฐบาลนำมาใช้ตั้งแต่ต้นปีด้วยการเข้มงวดนโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้ออย่างพอดี และประคองการบริโภคด้วยนโยบายการคลัง ทำให้อัตราเงินเฟ้ออินเดียปรับตัวลงอยู่บริเวณกรอบเป้าหมายด้านบนของรัฐบาลที่ 6% อย่างรวดเร็ว และยังทำให้ธนาคารกลางสามารถคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 6.5% ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

นอกจากตัวเลขเศรษฐกิจภายในประเทศที่แข็งแกร่งแล้ว ตลาดหุ้นอินเดียยังได้แรงหนุนจากอีกสองปัจจัยเพิ่มเติม ปัจจัยแรกคือการเมืองระหว่างประเทศของจีนและสหรัฐฯที่เริ่มส่งสัญญาณร้อนแรงขึ้นอีกครั้งหลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มมีเสถียรภาพสวนทางกับจีนซึ่งกำลังถอยหลัง ทำให้สหรัฐฯใช้โอกาสนี้ในการขยายอิทธิพลมายังประเทศคู่ค้าสำคัญในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยอินเดียถือเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจใหญ่และเติบโตเร็วในเอเชีย อีกทั้งยังมีบริษัทเอกชนสหรัฐฯจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีที่ย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีนเข้าไปยังอินเดียท่ามกลางความขัดแย้งของสองมหาอำนาจ ซึ่งในไตรมาสที่ผ่านมาสหรัฐฯพยายามขยายความร่วมมือด้านการลงทุนกับอินเดียในหลายด้าน และมีการคาดการณ์การขยายตัวของ GDP ปี2024 และ 2025 อยู่ที่ 6.2% และ 6.5% ตามลำดับ

ปัจจัยที่สองที่กลับเข้ามาสนับสนุนอินเดียในช่วงปลายปีคือกำไรของบริษัทจดทะเบียนซึ่งยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศ สวนทางประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียที่ถูกปรับประมาณการกำไรลงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดสั่งซื้อสินค้าในหลายๆประเทศที่พึ่งพาการบริโภคจากจีน โดยดัชนี SENSEX ของตลาดหุ้นอินเดียได้รับคาดการณ์ประมาณการกำไร (EPS) ขึ้นไปแล้วกว่า 14% ในปี 2024 นอกจากนั้นระดับราคาหุ้น หรือ Valuation ซึ่งวัดจากอัตราส่วนราคาหลักทรัพย์ต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน (P/E Ratio) ยังอยู่ที่ระดับค่าเฉลี่ย 10 ปี ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สมเหตุสมผล

Indonesia Outlook 4Q 2023

อินโดนีเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีพัฒนาการเชิงบวกในช่วงไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมาหลังจากที่ตัวเลขเงินเฟ้อ CPI สามารถชะลอตัวกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 2-4% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2022 ที่เงินเฟ้อเริ่มพุ่งทะลุกรอบของรัฐบาล โดยเงินเฟ้อที่ปรับตัวลงเกิดจากการเร่งตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางอินโดฯในเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมาจากระดับ 3.5% ไปอยู่ที่ระดับ 5.75% ทั้งนี้การชะลอตัวอย่างรวดเร็วของเงินเฟ้อทำให้ธนาคารกลางตัดสินใจคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมตั้งแต่ต้นปี 2023 และเป็นปัจจัยที่ช่วยรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจอินโดฯให้ยังเติบโตที่ระดับเฉลี่ย 5% ต่อเนื่องนับแต่ผ่านช่วง Covid-19 ซึ่งสวนทางกับประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียที่ตัวเลข GDP ชะลอตัวลงหลักเผชิญกับเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้น นอกจากนั้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงร่วมกับเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพยังส่งผลให้ค่าเงินรูเปียห์เป็นสกุลเงินเดียวของประเทศขนาดใหญ่ในเอเชียที่ยังสามารถคงตัวอยู่ได้ในปี 2023 สวนทางกับประเทศอื่นๆที่อ่อนค่าลงอย่างรุนแรง ซึ่งแนวโน้มค่าเงินที่แข็งแกร่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้าลงทุนในตลาดหุ้นและตราสารหนี้ของอินโดฯเนื่องจากไม่ต้องกังวลกับการขาดทุนค่าเงินมากนักอีกด้วย

ภาคการส่งออกซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของทั้งเศรษฐกิจและตลาดหุ้นของอินโดฯ มีพัฒนาการในเชิงบวกในช่วงปลายปีเช่นกัน หลังจากที่สินค้าส่งออกหลักของประเทศอย่างเช่น น้ำมันปาล์ม นิกเกิล และลิเทียมคาร์บอเนต ที่ราคาอ่อนแอต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2022 เริ่มส่งสัญญาณผ่านจุดต่ำสุดจากราคาที่เริ่มทรงตัว พร้อมกับที่ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Future) ของสินค้าสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวในปี 2024 มีราคาสูงกว่าราคาปัจจุบัน (Spot) แล้วในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันระดับราคาหุ้นอินโดฯที่ยังค่อนข้างถูกยังเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ตลาดหุ้นน่าสนใจเข้าลงทุนอีกด้วย ระดับราคาหุ้น หรือ Valuation ซึ่งวัดจากอัตราส่วนราคาหลักทรัพย์ต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน (P/E Ratio) ปรับตัวถูกลงและเข้าสู่ระดับ -1 S.D. จากค่าเฉลี่ย 10 ปีในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา

Vietnam Outlook 4Q 2023

เวียดนามถือเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่เศรษฐกิจยังคงเติบโตอย่างมีเสถียรภาพท่ามกลางปัจจัยกดดันทั้งจากภายในแต่ละประเทศอย่างเงินเฟ้อ และภายนอกประเทศอย่างการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯและการฟื้นตัวที่ช้ากว่าคาดของคู่ค้าอันดับต้นๆอย่างจีน โดยตัวเลข GDP ของเวียดนามยังคงเติบโตได้ในระดับ 3-4% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2023 ขณะที่ยอดค้าปลีกภายในประเทศในช่วง 9 เดือนแรกเติบโตได้โดยเฉลี่ย 10% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขาดเพียงตัวเลขส่งออกที่หดตัวตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ในขณะเดียวกันการปรับนโยบายการเงินอย่างรวดเร็วเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อด้วยการเพิ่มดอกเบี้ยถึงครั้งละ 1% ต่อเนื่องในช่วงปลายปี 2022 จากอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4% ไปยังระดับ 6% ช่วงให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลงเร็วกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค ละทำให้เวียดนามสามารถปรับลดดอกเบี้ยกลับมาอยู่ที่ระดับ 4.5% ในปัจจุบันก่อนหน้าประเทศอื่นๆทั่วโลกยังยังเผชิญกับดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้แรงกดดันด้านการเงินภายในประเทศผ่อนคลายอย่างรวดเร็ว

นอกจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและความกังวลเงินเฟ้อกับดอกเบี้ยจะผ่อนคลายลงแล้ว ในไตรมาสสุดท้ายปลายปีเวียดนามยังได้ผลประโยชน์ทางอ้อมจากการเมืองระหว่างประเทศของจีนและสหรัฐฯที่เริ่มส่งสัญญาณร้อนแรงขึ้นอีกครั้งหลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มมีเสถียรภาพสวนทางกับจีนซึ่งกำลังถอยหลัง ทำให้สหรัฐฯใช้โอกาสนี้ในการขยายอิทธิพลมายังประเทศคู่ค้าสำคัญในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยสหรัฐฯได้เดินหน้าทำสัญญาความร่วมมือทางการค้าฉบับใหม่กับเวียดนามในเดือนกันยายนที่ผ่านมาภายใต้ พรบ. CHIPS ซึ่งเป็น พรบ. ที่สหรัฐฯออกแบบเพื่อต่อต้านการขโมยเทคโนโลยีด้านเซมิคอนดักเตอร์ของจีน ซึ่งจะทำให้สหรัฐฯเข้ามาช่วยเวียดนามสร้าง Supply Chain ทางด้านเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งมีมูลค่ากว่า 5.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2022 ให้เติบโตในเวียดนามอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยมีการคาดการณ์การขยายตัวของ GDP ปี2024 และ 2025 อยู่ที่ 6.3% และ 6.7% ตามลำดับ

ทั้งเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศต่างเป็นแรงหนุนการเติบโตของประเทศเวียดนามในระยะกลางถึงยาว ในด้านของตลาดหุ้นเวียดนามเองก็มีความน่าสนใจเข้าลงทุนในช่วงนี้เช่นกัน นับจากที่ดัชนี VN Index ของเวียดนามปรับตัวลงจากระดับสูงสุดที่ 1,500 จุดในปี 2022 จากความกังวลประเด็นที่หน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์เข้ามาปราบปรามและเข้มงวดกฎระเบียบเกี่ยวกับการปั่นหุ้น ทำให้มูลค้าการซื้อขายหุ้นในตลาดลดลงจากระดับ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1 หมื่นล้านในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามความกังวลดังกล่าวกำลังลดลงอย่างมีนัยยะหลังรัฐบาลเริ่มหันไปให้ความสำคัญกับการประคองเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามูลค่าการซื้อขายหุ้นฟื้นกัลป์บไปอยู่ที่ระดับ 3 หมื่นล้านต่อวันได้เป็นครั้งแรก ซึ่งแสดงถึง Sentiment เชิงบวกของนักลงทุนในตลาดที่กำลังกลับมาอย่างต่อเนื่องนั่นเอง ในส่วนของการคาดการณ์การเติบโตของกำไรในปี 2023-2025 คาดว่าจะมีการเติบโต อยู่ที่ 26% , 31% และ 15% ตามลำดับ

ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

Interesting reads

Know more
Big Tech ถูกเทขายหลังผลประกอบการ 2 นางฟ้าน่าผิดหวัง
Big Tech จะหมดรอบหรือแค่ปรับฐาน?

in insights

ตราสารทุน

Big Tech ถูกเทขายหลังผลประกอบการ 2 นางฟ้าน่าผิดหวัง Big Tech จะหมดรอบหรือแค่ปรับฐาน?

25 ก.ค.

ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงแรง โดยดัชนั S&P500 ปรับตัวลง 2.3% และ Nasdaq100 ปรับตัวลง 3.7%

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 22-26 ก.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 22-26 ก.ค.67

22 ก.ค.

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 20,000 รายเป็น 243,000 รายในสัปดาห์สิ้น ...

สหรัฐฯ เตรียมคุมเข้มผู้ผลิตเครื่องผลิตชิป กดดันหุ้น Semi ร่วงยกแผง

in insights

ตราสารทุน

สหรัฐฯ เตรียมคุมเข้มผู้ผลิตเครื่องผลิตชิป กดดันหุ้น Semi ร่วงยกแผง

18 ก.ค.

ฝ่ายบริหารของไบเดนกำลังพิจารณาใช้ข้อจำกัดทางการค้าที่เข้มงวดที่สุดต่ออุตสาหกรรมชิปเพื่ ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่  15 - 19 ก.ค. 67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 15 - 19 ก.ค. 67

15 ก.ค.

ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักที่เรียกว่า Core CPI ซึ่งไม่รวมถึงราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 8 -  12 ก.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 8 - 12 ก.ค.67

08 ก.ค.

การจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น 2.06 แสนตำแหน่งสูงกว่าที่คาดการณ์ที่ 190,000 ตำแห ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่  24 28 มิ.ย.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 24 28 มิ.ย.67

24 มิ.ย.

PMI สหรัฐฯร้อนแรงต่อเนื่อง ดัชนี PMI สหรัฐฯประจำเดือน มิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการ ...

มุมมองการลงทุน ประจำเดือนมิถุนายน

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุน ประจำเดือนมิถุนายน

21 มิ.ย.

เราเชื่อว่าโมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงต่อไป ในขณะที่การใช ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 17 – 21 มิ.ย.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 17 – 21 มิ.ย.67

17 มิ.ย.

นักลงทุนมองข้าม Fed Dot plot ลดดอกเบี้ยเหลือ 1 ครั้ง การประชุม FOMC ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 27 - 31 พ.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 27 - 31 พ.ค.67

27 พ.ค.

รัฐบาลจีนเตรียมพร้อมที่จะเก็บภาษีรถยนต์นำเข้าที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่สูงถึง 25% เนื่อง ...

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ 
ประจำวันที่ 20 - 24 พ.ค.67

in insights

ตราสารทุน

มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 20 - 24 พ.ค.67

20 พ.ค.

เศรษฐกิจของญี่ปุ่นหดตัวในไตรมาสแรกเนื่องจากผู้บริโภคและบริษัทต่างๆ ลดการใช้จ่ายลง โดย ...

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.