จีนกับกระแสการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่หนุนความเฟื่องฟูของ healthtech

การเติบโตของธุรกิจการดูแลสุขภาพในจีนคาดว่าจะถูกผลักดันจากการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้น โรคภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต และการตระหนักที่มากขึ้นในเรื่องสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายที่สูงนับเป็นความท้าทายที่สำคัญ แต่โชคยังดีที่กระแสการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลที่กำลังดำเนินอยู่ได้ช่วยลดแรงกดดันลงได้บ้าง และยังส่งผลให้เกิดโอกาสการลงทุนที่น่าตื่นเต้นในหลายภาคส่วน

ค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพของจีนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า จาก 6.5 ล้านล้านหยวนในปี 2019 เป็น 17.6 ล้านล้านหยวนในปี 20301 ซึ่งเป็นการเติบโตควบคู่ไปกับเซ็กเตอร์ย่อยอื่นๆ เช่น การขายยา การขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ ผู้จัดจำหน่ายและอื่นๆ ส่วนปัจจัยด้านภูมิทัศน์เองก็มีพัฒนาการมาโดยตลอดทั้งทศวรรษพร้อมๆ กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยในความเป็นจริงพบด้วยว่าค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพแบบออนไลน์นั้นได้เพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่านับตั้งแต่ปี 2015

ความเฟื่องฟูของเทคโนโลยีด้านสุขภาพของจีนเพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาหลังจากรัฐได้ดำเนินการตามกรอบการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อใช้กำกับบริการดูแลสุขภาพแบบออนไลน์ในปี 2018 กฎระเบียบใหม่ได้อนุญาตให้ 1) โรงพยาบาลต่างๆ สามารถใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อทำงานร่วมกัน 2) ให้โรงพยาบาลที่เป็นระบบออฟไลน์สามารถนำเสนอบริการหรือโซลูชั่นแบบออนไลน์ และ 3 ) ให้บริษัทจัดตั้ง “โรงพยาบาลอินเทอร์เน็ต” (internet hospital) ในการทำงานร่วมกับโรงพยาบาลที่เป็นระบบออฟไลน์ โดยโรงพยาบาลอินเทอร์เน็ตสามารถเลือกใช้บริการของแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของธุรกิจการดูแลสุขภาพจากการที่หลายคนหันไปใช้ telehealth เพื่อรับคำปรึกษาทางการแพทย์ ข้อมูลระบุว่าประชากรจีนเกือบ 986 ล้านคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์พกพาในปี 20202 ซึ่งสนับสนุนด้วยเทคโนโลยี 5G ที่เร็วที่สุดในโลก ทำให้การเชื่อมต่อกับบริการทางการแพทย์ออนไลน์ไม่ได้เป็นปัญหา เราเชื่อว่ามีอยู่สองเซ็กเตอร์ที่พร้อมจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเพิ่มขึ้นของ telemedicine นั่นคือการขายยาออนไลน์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์ ดูรูปที่ 1

รูปที่ 1 : ตลาดบริการให้คำปรึกษาออนไลน์กำลังขยายตัว

asian-high-yields-keep-calm-and-carry-on-01

อนาคตที่สดใสสำหรับการขายยาออนไลน์

การขายยาออนไลน์ไม่ได้รับความนิยมมากนักในประเทศจีนด้วยเหตุผลบางประการ หนึ่งในนั้นคือชุดความคิดแบบดั้งเดิมของผู้ป่วยซึ่งหลายคนเชื่อว่าโรงพยาบาลของรัฐมีแพทย์ที่มีคุณภาพดีที่สุดและยาที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นผู้ป่วยจึงมักหลีกเลี่ยงการซื้อยาออนไลน์ ผลก็คือการขายยาที่อยู่ในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศมีสัดส่วนถึง 70% ขณะส่วนแบ่งการตลาดที่เหลือตกเป็นของร้านขายยา โดยการขายยาออนไลน์นั้นมีสัดส่วนที่ต่ำกว่า 1% ของตลาดรวมซึ่งมีมูลค่า 1.8 ล้านล้านหยวน ดูรูปที่ 2

รูปที่ 2: ยอดขายยาผ่านช่องทางออนไลน์เป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับยอดขายรวม

china-digitalisation-hastens-the-healthtech-boom-Fig 1

แต่เราเชื่อว่ารูปแบบในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนไปและการขายยาออนไลน์จะมีการเติบโตที่แข็งแกร่งในเชิงโครงสร้าง ซึ่งสนับสนุนโดยกฎระเบียบของภาครัฐที่เอื้ออำนวย ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2000 หน่วยงานกำกับดูแลได้ออกร่างข้อบังคับซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับกรอบกฎหมายสำหรับการขายยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ผ่านทางออนไลน์และการปรับราคายาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับยาที่จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยในเดือนเมษายน ปี 2021 กระทรวงพาณิชย์ได้ออกเอกสารให้การสนับสนุนมณฑลไห่หนานเป็นโครงการนำร่องสำหรับการขายใบสั่งยาออนไลน์

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากความคืบหน้าดังกล่าว ปัจจุบันยอดขายยาโรคเรื้อรังคิดเป็นสัดส่วน 55% ของยอดขายยาทั้งหมดในประเทศจีน ซึ่งโดยรวมแล้วเราคาดว่ายอดขายยาผ่านช่องทางออนไลน์จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้นอย่างน้อย 30-40% ในช่วงระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ดูรูปที่ 3 การขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ยังคาดว่าจะช่วยปรับปรุงและอำนวยความสะดวกในเรื่องคุณภาพของการให้คำปรึกษาออนไลน์

รูปที่ 3: ตลาดร้านขายยาออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

china-digitalisation-hastens-the-healthtech-boom-Fig 1

พลังของระบบการวินิจฉัยโรคด้วย AI ช่วยยกระดับขีดความสามารถ

โดยปกติแพทย์จะทำการวินิจฉัยตามประสบการณ์และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่อันห่างไกลของจีน แพทย์ส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์มากพอเนื่องจากไม่ได้พบเจอความหลากหลายของโรคต่างๆ ซึ่งนี่เองคือจุดที่ระบบการวินิจฉัยโดย AI ที่สร้างขึ้นโดยบริษัทเทคโนโลยีของจีนบางแห่งสามารถเข้ามาช่วยตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด การใช้ระบบการวินิจฉัยโดย AI นั้นทำให้แพทย์สามารถเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและมีอัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้ เครื่องมือ AI ยังสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพโดยรวม ผู้ป่วยจะมีความมั่นใจมากขึ้นต่อโรงพยาบาลที่อยู่ในเกรดรองๆ ลงมาในพื้นที่ห่างไกล และในทางกลับกัน ก็จะช่วยบรรเทาแรงกดดันในเรื่องความหนาแน่นของโรงพยาบาลเกรด A ที่อยู่ในหัวเมืองขนาดใหญ่

มีบริษัทด้านการดูแลสุขภาพที่ใช้ AI หลายแห่งในประเทศจีน โดยข้อมูลในปี 2020 พบว่ามีบริษัทเหล่านี้อยู่จำนวน 129 แห่งซึ่งไม่รวมบริษัทที่ทำงานวิจัยด้านพันธุกรรมแบบเจาะจง ซึ่งในบรรดาบริษัทเหล่านั้น มีบริษัทจำนวน 55 แห่งที่ให้บริการเครื่องสร้างภาพทางการแพทย์ โดยคิดเป็น 42.6% ของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่ใช้ AI ทั้งหมด3 แม้ว่าเทคโนโลยี AI จะถูกนำมาใช้ในกลุ่มผู้ให้บริการเครื่องสร้างภาพทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่ แต่ในที่สุดแล้วก็อาจถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มการดูแลสุขภาพอื่นๆ ดูรูปที่ 4

รูปที่ 4 : เทคโนโลยี AI ในกลุ่มธุรกิจการดูแลสุขภาพ

asian-high-yields-keep-calm-and-carry-on-01

การพิจารณาลงทุนจำเป็นต้องใช้ความเข้าใจที่ครอบคลุมและลึกซึ้ง

แม้คำอธิบายข้างต้นจะสื่อถึงทางเลือกการลงทุนอันน่าตื่นเต้นแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะปราศจากอุปสรรคไปเสียทีเดียว ผู้ลงทุนในขั้นเริ่มต้นต้องเข้าใจว่าอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพของจีนนั้นยังคงเป็นตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยนโยบาย โดยสัดส่วนที่สูงกว่า 60% ของค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลรัฐมาจากการเบิกจ่ายจากรัฐบาล ดังนั้นการที่รัฐมีบทบาทในภาคส่วนนี้เป็นอย่างมากและการเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพโดยรวม

ในประเด็นถัดมา เมื่อพิจารณาจากเซ็กเตอร์ย่อยต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมแล้ว ความเชี่ยวชาญของแต่ละเซ็กเตอร์ย่อยที่แตกต่างกันก็มีความจำเป็นในการใช้แยกแยะโอกาสที่อยู่ภายในกลุ่มเหล่านั้น ประเด็นสำคัญในการประเมินศักยภาพการลงทุนของบริษัทจึงได้แก่แนวโน้มการเติบโต ขนาดตลาดรวมที่สามารถระบุได้ และความสามารถด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญกว่านั้น ผู้ลงทุนต้องตระหนักว่าบริษัทด้านการดูแลสุขภาพไม่ใช่ทั้งหมดที่มีการเติบโตสูงโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพราะยังมีผู้ผลิตยาสามัญอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

ในขณะเดียวกัน ESG ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เราจำเป็นต้องคำนึงถึงภายใต้ขอบเขตการลงทุนด้านการดูแลสุขภาพ บริษัทประเภท healthtech ต่างเผชิญกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้อมูล นั่นคือที่มาของข้อมูล การจัดเก็บและใช้งานข้อมูล การที่มีข้อกำหนดด้านการปฏิบัติแตกต่างกันในเรื่องบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางพันธุกรรม ทำให้งานประมวลผลข้อมูลเป็นเรื่องที่มีสิ่งแอบแฝง

อนาคตที่ยิ่งใหญ่ของบิ๊กเทคโนโลยีในอาณาจักร healthtech

บทบาทของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในด้านการดูแลสุขภาพคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ตัวบ่งชี้สำคัญตัวหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงแรงส่งที่กำลังมีน้ำหนักมากขึ้นในจีนก็คือการผสานเข้ากับแพลตฟอร์ม telehealth ซึ่งก่อตั้งโดยบริษัทประกันภัย โรงพยาบาล และรัฐบาล แพลตฟอร์มที่มีความสามารถด้านซัพพลายเชนที่แข็งแกร่งอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบในการรวบรวมร้านค้าปลีกยาแบบออฟไลน์ที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือกับโรงพยาบาลและแพทย์ที่มีคุณภาพ

ในอีกด้านหนึ่ง ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นสิ่งสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของ digital healthcare ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับเซ็กเตอร์ต่างๆ ได้แก่ บริการทางการแพทย์ ระบบสุขภาพสาธารณะ การจัดหายา การคุ้มครองสุขภาพ และการจัดการด้านการดูแลสุขภาพ เราเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเติบโตเชิงโครงสร้างนี้ และเมื่อมีการลงทุนในเรื่องเหล่านี้มากขึ้นเราก็จะได้เห็นการเติบโตที่เพิ่มขึ้น

แต่ท่ามกลางเหตุการณ์ทั้งหมดที่ดูราบรื่น เราก็ยังต้องพิจารณาถึงประเด็นด้านจริยธรรมด้วย บรรดาบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่จำเป็นต้องแสดงให้เห็นด้วยความเต็มใจว่าการดูแลผู้ป่วยนั้นมีความสำคัญมากกว่าการใช้ข้อมูลเพื่อสร้างรายได้ การกำกับดูแลด้านข้อมูลต้องดำเนินการติดตามเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการปฏิบัติตามหลักการทางจริยธรรม และในท้ายที่สุดนี้ เทคโนโลยี AI ควรเป็นสินทรัพย์ ไม่ใช่ภาระหนี้สินสำหรับทุกๆ คน

Sources:
1 Frost & Sullivan
2 https://www.statista.com/statistics/273973/number-of-mobile-internet-users-in-china/
3 https://equalocean.com/analysis/2020082314614

This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in:

Singapore and Australia (for wholesale clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore, is exempt from the requirement to hold an Australian financial services licence and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Australian laws.


Hong Kong by Eastspring Investments (Hong Kong) Limited and has not been reviewed by the Securities and Futures Commission of Hong Kong.


This document is produced by Eastspring Investments (Singapore) Limited and issued in Thailand by TMB Asset Management Co., Ltd.


Indonesia by PT Eastspring Investments Indonesia, an investment manager that is licensed, registered and supervised by the Indonesia Financial Services Authority (OJK).


Malaysia by Eastspring Investments Berhad (531241-U).


United States of America (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is registered with the U.S Securities and Exchange Commission as a registered investment adviser.


European Economic Area (for professional clients only) and Switzerland (for qualified investors only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A., 26, Boulevard Royal, 2449 Luxembourg, Grand-Duchy of Luxembourg, registered with the Registre de Commerce et des Sociétés (Luxembourg), Register No B 173737.


United Kingdom (for professional clients only) by Eastspring Investments (Luxembourg) S.A. - UK Branch, 125 Old Broad Street, London EC2N 1AR.


Chile (for institutional clients only) by Eastspring Investments (Singapore) Limited (UEN: 199407631H), which is incorporated in Singapore and is licensed and regulated by the Monetary Authority of Singapore under Singapore laws which differ from Chilean laws.


The afore-mentioned entities are hereinafter collectively referred to as Eastspring Investments.


The views and opinions contained herein are those of the author on this page, and may not necessarily represent views expressed or reflected in other Eastspring Investments’ communications. This document is solely for information purposes and does not have any regard to the specific investment objective, financial situation and/or particular needs of any specific persons who may receive this document. This document is not intended as an offer, a solicitation of offer or a recommendation, to deal in shares of securities or any financial instruments. It may not be published, circulated, reproduced or distributed without the prior written consent of Eastspring Investments. Reliance upon information in this posting is at the sole discretion of the reader. Please consult your own professional adviser before investing.

 

Investment involves risk. Past performance and the predictions, projections, or forecasts on the economy, securities markets or the economic trends of the markets are not necessarily indicative of the future or likely performance of Eastspring Investments or any of the funds managed by Eastspring Investments.


Information herein is believed to be reliable at time of publication. Data from third party sources may have been used in the preparation of this material and Eastspring Investments has not independently verified, validated or audited such data. Where lawfully permitted, Eastspring Investments does not warrant its completeness or accuracy and is not responsible for error of facts or opinion nor shall be liable for damages arising out of any person’s reliance upon this information. Any opinion or estimate contained in this document may subject to change without notice.


Eastspring Investments (excluding JV companies) companies are ultimately wholly-owned/indirect subsidiaries/associate of Prudential plc of the United Kingdom. Eastspring Investments companies (including JV’s) and Prudential plc are not affiliated in any manner with Prudential Financial, Inc., a company whose principal place of business is in the United States of America.