กำจัดวัชพืช

เปรียบได้กับวัชพืชที่บั่นทอนผลผลิตทางการเกษตร ก็คือความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับการลงทุนที่อาจทำให้นักลงทุนไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย เราทลายความเชื่อเหล่านี้และชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเข้าใจผิดที่พบเจอบ่อเราทลายความเชื่อเหล่านี้และชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเข้าใจผิดที่พบเจอบ่อย

Knowing and understanding the risks when investing helps one to make better investment decisions.

ความเชื่อที่ 1

ความเสี่ยงจากการลงทุนใดๆ เป็นเรื่องที่แย่

ข้อเท็จจริง

ความเสี่ยงถือเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุน

ไม่ควรกลัวความเสี่ยง แต่เข้าใจ การทำความเข้าใจความเสี่ยงและอยู่ร่วมกับความเสี่ยงนั้นได้ นับเป็นกุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายทางการเงิน

เคล็ดลับ: แม้แต่นักลงทุนที่มีความระมัดระวังก็ยังต้องรับความเสี่ยงเพื่อให้เงินออมของพวกเขาสามารถเติบโตได้เร็วกว่าเงินเฟ้อ

ความเชื่อที่ 2

มีแต่ความเสี่ยงสูงเท่านั้น ที่จะให้ผลตอบแทนสูง

ข้อเท็จจริง

ความเสี่ยงต่ำสามารถสร้างผลตอบแทนสูง หากราคาที่ซื้อมาต่ำ และถือครองเป็นระยะเวลานาน

ยกตัวอย่างเช่น หุ้นสาธารณูปโภค มักถูกมองว่ามีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากมีลักษณะธุรกิจไม่เป็นไปตามวัฏจักร การลงทุนในหุ้นเหล่านี้ในราคาที่เหมาะสม อาจมีความน่าสนใจจากรายได้ที่สม่ำเสมอและกำไรจากส่วนต่างราคา เพราะหุ้นสาธารณูปโภคหลายๆ ตัวมีการจ่ายเงินปันผลเป็นประจำ

ความเชื่อที่ 3

ความเสี่ยงเป็นเรื่องเดียวกับความผันผวน

ข้อเท็จจริง

ความผันผวนที่สูงขึ้น ไม่จำเป็นต้องหมายถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้น

โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งราคาเปลี่ยนแปลงขึ้นลงมากเท่าไหร่ การลงทุนก็จะยิ่งผันผวนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความผันผวนที่สูงขึ้นไม่ได้หมายความว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้น การลงทุนในช่วงที่ตลาดผันผวนสามารถให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนระยะยาวได้

เคล็ดลับ: การมีเป้าหมายทางการเงินที่ถูกกำหนดมาเป็นอย่างดี สามารถช่วยให้นักลงทุนก้าวผ่านสภาวะตลาดที่แกว่งตัวขึ้นๆ ลงๆ และยึดอยู่กับเป้าหมายได้ต่อไปในช่วงเวลาที่มีความปั่นป่วน

Investors who understand the reasons behind market volatility, can take advantage of the arising investment opportunities.

ความเชื่อที่ 1

ความผันผวนเป็นเรื่องแย่

ข้อเท็จจริง

ความผันผวนเป็นลักษณะปกติประการหนึ่งของสภาพตลาด

ความผันผวนเป็นลักษณะพื้นฐานของตลาด โดยในยุคหลังวิกฤติการเงินโลก มีการเข้าซื้อสินทรัพย์โดยธนาคารกลางของตลาดพัฒนาแล้ว ทำให้ความผันผวนของตลาดอยู่ระดับต่ำผิดปกติ ซึ่งปรากฏการณ์นี้อาจดำเนินต่อหรือยุติลง

ช่วงเวลาที่มีความผันผวนต่ำที่ยืดระยะเวลานานออกไป ทำให้นักลงทุนเกิดความวางใจและรับความเสี่ยงที่มากเกินไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินของตน

ความเชื่อที่ 2

อย่าลงทุนในยามที่ตลาดผันผวน

ข้อเท็จจริง

นี่อาจเป็นช่วงเวลาแห่งโอกาสด้วยเช่นกัน

เมื่อตลาดดิ่งลง ความกลัวจะทำให้หุ้นถูกเทขายมากเกินไป เท่ากับเป็นการสร้างโอกาสให้แก่นักลงทุน

ความเชื่อที่ 3

หุ้นที่มีความผันผวนต่ำ = ผลตอบแทนต่ำ

ข้อเท็จจริง

หุ้นเหล่านี้สร้างผลตอบแทนชนะหุ้นที่มีความผันผวนสูงได้ในระยะยาว

งานวิจัยตั้งแต่ต้นปี 1967 แสดงให้เห็นว่าหุ้นที่มีความผันผวนต่ำสร้างผลตอบแทนได้เหนือกว่าหุ้นที่มีความผันผวนสูงในระยะยาว ความแปลกในเรื่องนี้พบได้ในหลายภูมิภาคและหลายประเทศ

เคล็ดลับ: การมีเป้าหมายทางการเงินที่ถูกกำหนดมาเป็นอย่างดี สามารถช่วยให้นักลงทุนก้าวผ่านสภาวะตลาดที่แกว่งตัวขึ้นๆ ลงๆ และยึดอยู่กับเป้าหมายได้ต่อไปในช่วงเวลาที่มีความปั่นป่วน

สิ่งสำคัญที่สุดของการลงทุนคือ คุณภาพของการลงทุน ไม่ใช่ขนาด

ความเชื่อที่ 1

ยิ่งใหญ่ ยิ่งดี…

ข้อเท็จจริง

'"ขนาด" ไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่ง

บริษัทที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง (Large cap) โดยทั่วไปจะมีความมั่นคงกว่าและมีข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะมากกว่า อย่างไรก็ตาม บริษัทที่มีมูลค่าตามราคาตลาดน้อย หลายรายกลับมีความน่าสนใจ เนื่องจากมีนวัตกรรมและความคล่องตัว

การลงทุนแค่เพียงในบริษัทขนาดใหญ่ คุณอาจพลาดโอกาสทางด้านการเติบโตที่มีคุณภาพสูงในระยะเริ่มต้น หากแต่เป็นบริษัทขนาดเล็ก

ความเชื่อที่ 2

หุ้นขนาดเล็กมีความเสี่ยง

ข้อเท็จจริง

หุ้นเหล่านี้อาจมีความยืดหยุ่นที่ดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่

ในอดีต หุ้นขนาดเล็กมีความผันผวนมากกว่าหุ้นขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยภายในประเทศมีความสำคัญต่อหุ้นขนาดเล็ก จึงอาจมีความยืดหยุ่นมากกว่าหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อความไม่แน่นอนทั่วโลกอยู่ในระดับสูง (เช่น การค้า การส่งออก)

ความเชื่อที่ 3

หุ้นขนาดเล็กสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่

ข้อเท็จจริง

เป็นเรื่องยากที่จะกล่าวเช่นนั้น

เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง คุณจึงต้องมองแบบ 360º ไปยังแต่ละบริษัท การวิจัยไม่มีข้อสรุปว่าหุ้นขนาดเล็กทำผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่ได้ตลอดเวลา ดังนั้น นักลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามที่ต้องการ เพียงแค่เลือกหุ้นที่มีขนาดเล็กมากกว่าเลือกหุ้นขนาดใหญ่

เนื่องจากหุ้นขนาดเล็กมีข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะน้อย เป็นกลุ่มธุรกิจที่มักเผชิญกับการกำหนดราคาที่ผิดพลาด ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้จัดการแบบเชิงรุก (active manager) สามารถเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้ได้

เคล็ดลับ: การมีทั้งบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็กอยู่รวมกัน สามารถช่วยให้คุณได้รับความหลากหลายและสุขสบายที่สุดกับสิ่งที่ทั้งสองรูปแบบนี้มอบให้

อคติที่มีอิทธิพลต่อวิธีที่เราคิด สามารถส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของเรา

ความเข้าใจผิด ประการที่ 1

คุณสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

ข้อเท็จจริง

คุณแทบจะไม่สามารถควบคุมผลกระทบจากตลาดที่จะมีต่อการลงทุนของคุณ

การคิดว่าคุณสามารถควบคุมสถานการณ์ได้อาจทำให้คุณซื้อขายมากจนเกินไป และ / หรือ พยายามที่จะจับจังหวะของตลาด การกระทำเช่นนี้อาจทำให้คุณมีการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตโฟลิโอของคุณน้อยเกินไป

เคล็ดลับ: ถามตัวเองว่าทำไมคุณถึงลงทุน และอะไรที่อาจผิดพลาด การคงมุมมองระยะยาวจะทำให้สามารถรับมือกับภาพลวงตาที่ว่าคุณสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

ความเข้าใจผิด ประการที่ 2

หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงจะดีที่สุด

ข้อเท็จจริง

บางครั้งการหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอาจไม่ดีที่สุดเสมอไป แม้ว่าจะดูปลอดภัยก็ตาม

คุณอาจรู้สึกสบายใจมากขึ้นในการทำสิ่งเดิมๆ เหตุเพราะความเฉื่อยชา และไม่ได้เป็นการตัดสินใจที่มีการไตร่ตรองอย่างดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสัญชาตญาณของคุณที่จะยึดติดอยู่กับความคุ้นเคย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสิ่งต่างๆ มีความไม่แน่นอน

เคล็ดลับ: การเปลี่ยนมุมมองอาจช่วยได้ด้วยอคติที่เกิดขึ้นเอง เช่น หากสงสัยว่าคุณควรเพิ่มพันธบัตรเข้าไปในพอร์ตการลงทุนของคุณหรือไม่ ให้ถามตัวเองว่าทำไมคุณถึงไม่ควรทำเช่นนั้น

ความเข้าใจผิด ประการที่ 3

ยึดติดอยู่กับสิ่งที่คุณรู้จัก

ข้อเท็จจริง

อย่าพลาดโอกาสจากสิ่งที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แต่เป็นทางเลือกที่น่าไขว่คว้า

การเลือกที่จะลงทุนเฉพาะในบริษัทหรือตลาดที่คุณคุ้นเคยมากกว่า (เช่น ชอบหุ้นหรือตลาดในประเทศ) ผู้ลงทุนอาจล้มเหลวในการกระจายพอร์ตการลงทุนได้อย่างเพียงพอ

เคล็ดลับ: คุ้นเคยไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย ที่ปรึกษาทางการเงินสามารถช่วยคุณตรวจสอบความเหมาะสมของการลงทุนในปัจจุบัน พร้อมชี้ให้คุณตระหนักถึงโอกาสอื่นๆ ที่มีอย

ความเข้าใจผิด ประการที่ 4

ถ้าคุณกำลังสูญเสียเงินทอง รอสักพักเพื่อทำคืนกลับมา

ข้อเท็จจริง

ในบางครั้งก็เป็นสิ่งดีที่สุดที่ต้องลดการขาดทุนของคุณให้เร็ว และเดินหน้าต่อเพื่อค้นหาทางเลือกที่น่าสนใจอื่นๆ

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ลงทุนกลัวการขาดทุนมากกว่ากำไรที่พวกเขาต้องการได้รับ นี่จึงเป็นเหตุผลที่พวกเขาไม่ยอมตัดการลงทุนใดๆ ที่ขาดทุนด้วยความหวังว่าจะได้เงินคืนกลับมา

เคล็ดลับ: ลองนึกภาพว่าคุณจำเป็นต้องสิ้นสุดการลงทุนที่มีอยู่ ก่อนที่จะไปลงทุนอย่างอื่น วิธีนี้จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งที่คุณขาดหายและสามารถหาจุดมุ่งเน้นได้มากกว่า

ผู้ลงทุนมักจะมุ่งเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนและช่วงขาลง เพื่อจำกัดผลการขาดทุน โดยมีเงินสด ทองคำ และพันธบัตรสหรัฐ ที่ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย สินทรัพย์ประเภทนี้ควรต้องเก็บรักษามูลค่าเมื่อเวลาผ่านไป แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอ

ความเข้าใจผิด ประการที่ 1

เงินคือพระเจ้า

ข้อเท็จจริง

การถือเงินสดมีจุดด้อยในตัวเอง

มูลค่าของเงินดอลลาร์มีมูลค่าในวันนี้มากกว่าวันพรุ่งนี้ - เนื่องจากเงินเฟ้อ แม้ผู้ลงทุนแบบอนุรักษ์นิยมที่สุดยังจำเป็นต้องนำเงินสดไปลงทุน เพื่อให้มั่นใจว่าเงินออมของพวกเขาจะเติบโตได้รวดเร็วกว่าเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ

เคล็ดลับ: เงินสดที่ถูกทิ้งไว้เฉยๆ หมายถึงผลตอบแทนที่หายไป เงินที่อยู่นิ่งๆ ในธนาคารไม่ควรสูงเกินกว่าค่าใช้จ่ายประจำวันที่อยู่ได้นาน 6 เดือน

ความเข้าใจผิด ประการที่ 2

ทองคำ คุณค่าที่ไม่เคยจางหาย

ข้อเท็จจริง

ทองคำก็มีแง่มุมของความเสี่ยง

ทองคำอาจป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ แต่ถือเป็นการลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะคุณไม่สามารถสร้างรายได้ด้วยการถือทองคำ ขณะทองคำช่วยเพิ่มความหลากหลายให้แก่พอร์ตการลงทุน แต่ราคาจะถูกกระทบด้วยความเชื่อมั่นในตลาด ภาวะเศรษฐกิจ และค่าเงินดอลล่าร์

เคล็ดลับ: คุณอาจพิจารณาเลือกซื้อหุ้นของบริษัทที่ทำกิจการเหมืองทองคำ นอกเหนือจากทองคำแท่งและเหรียญ แต่ก็ต้องระมัดระวังในเรื่องความสามารถในการทำกำไรของบริษัทเหล่านั้น

ความเข้าใจผิด ประการที่ 3

พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่สุด

ข้อเท็จจริง

ไม่มีสิ่งใดที่ปราศจากความเสี่ยงได้อย่างสมบูรณ์

พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หรือ US Treasuries มีสภาพคล่องสูง ได้รับอันดับเครดิตของประเทศสูง และไม่เคยผิดนัดชำระ แต่เช่นเดียวกับพันธบัตรทุกประเภท อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นสามารถที่จะกัดกร่อนมูลค่าการลงทุนของคุณ

เคล็ดลับ: ธนาคารกลางมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ การลงทุนในพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Treasury Inflation Protected Securities (TIPS)) เป็นวิธีหนึ่งในการปกป้องพอร์ตโฟลิโอของคุณจากความเสี่ยงนี้

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบอาจสกัดกั้นเราไม่ให้คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ในการลงทุน และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม

ความเชื่อที่ผิดประการที่ 1

การทำความดีมาพร้อมต้นทุน

ความเป็นจริง

การมุ่งเน้นในปัจจัย ESG สามารถช่วยลดระดับการเปิดรับความเสี่ยงด้านต่างๆ ในระยะยาว

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผลตอบแทนจากการลงทุนที่ยั่งยืนนั้นสามารถเทียบเทียมกันได้กับตลาดในระยะยาว[1] บริษัทที่มีนโยบายที่ดีซึ่งคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมักจะมีแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมากกว่าและมีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่สามารถสร้างความเสียหายได้น้อยลง นั่นหมายความว่าจะช่วยให้ผลประกอบการของบริษัทเหล่านั้นมีความผันผวนน้อยลงด้วย

1 MSCI, “Foundations of ESG Investing”, https://www.msci.com/documents/10199/03d6faef-2394-44e9-a119- 4ca130909226

คุณสามารถได้รับผลตอบแทนที่เทียบเคียงกันได้แต่มีความผันผวนที่ต่ำกว่าในระยะยาว ด้วยการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ

ความเชื่อที่ผิดประการที่ 2

การลงทุนที่รับผิดชอบเป็นเรื่องแฟชั่น

ความเป็นจริง

เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่คุณคิด

เมื่อผู้ลงทุนต่างยอมรับว่าความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นความท้าทายระดับโลกในระยะยาว การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบจึงกลายมาเป็นเรื่องที่อยู่ในกระแสหลักมากยิ่งขึ้น โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2020 หลักการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ หรือ the Principles of Responsible Investing มีผู้ลงนามจากทั่วโลกจำนวน 3,038 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์จำนวน 103.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

คุณสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกผ่านการลงทุนของคุณด้วยการคัดเลือกผู้จัดการที่รวมการพิจารณาประเด็น ESG ไว้อยู่เสมอ

ความเชื่อที่ผิดประการที่ 3

การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบหมายความว่าคุณไม่ได้ลงทุนในบริษัทที่มีประวัติ ESG ไม่ดีนัก

ความเป็นจริง

มีอยู่หลากหลายแนวทางสำหรับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ

ผู้จัดการสินทรัพย์แต่ละรายมีแนวทางการลงทุนแบบมีความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน บางรายเลือกที่จะไม่รวมบริษัทบางแห่ง ขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทเหล่านั้น ส่วนรายอื่นๆ ก็เลือกที่จะรวมปัจจัยด้าน ESG ที่สำคัญเข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจลงทุนและเข้าไปมีความเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ไปลงทุน แนวทางหลังนั้นเป็นความคาดหวังที่จะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านกลยุทธ์และกิจกรรมทางธุรกิจซึ่งอาจเพิ่มมูลค่าให้แก่การลงทุนของพวกเขาเมื่อเวลาผ่านไป

มีหลายวิธีในการรวมการพิจารณาเรื่อง ESG เข้าไว้ในกระบวนการลงทุน ดังนั้น ควรเลือกกองทุนที่มีวัตถุประสงค์การลงทุนที่สอดคล้องกับความเชื่อหลักๆ ของคุณ

ความเชื่อที่ผิดประการที่ 4

การลงทุนที่รับผิดชอบอาจทำให้ฉันเปิดรับความเสี่ยงต่อเฉพาะบางเซ็กเตอร์มากหรือน้อยเกินไป

ความเป็นจริง

ผู้จัดการอาจจำกัดหรือไม่จำกัดต่อการเปิดรับความเสี่ยงเฉพาะเซ็กเตอร์ก็เป็นได้

ผู้ลงทุนบางรายกังวลว่าการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบนั้นอาจทำให้เกิดผลลัพธ์ในแบบที่ไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจรวมถึงการเปิดรับความเสี่ยงต่อกลุ่มเทคโนโลยีมากเกินไป (ซึ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์) หรือการเข้าถึงกลุ่มการเงินน้อยเกินไป (ซึ่งมีข้อโต้แย้งมากมายจากประสบการณ์ที่ผ่านมา)

ในความเป็นจริง ผู้จัดการอาจจำกัดหรือไม่จำกัดต่อการเปิดรับความเสี่ยงเฉพาะเซ็กเตอร์ เพื่อบริหารผลงานที่เบี่ยงเบนออกจากตลาดในระยะสั้น

ควรตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนเพื่อให้เข้าใจถึงความเบี่ยงเบนหรือความโน้มเอียงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนของคุณ

ความเชื่อที่ผิดประการที่ 5

การลงทุนที่รับผิดชอบนั้นมีประสิทธิภาพน้อยในตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากการถูกจัดอันดับ ESG ไว้ต่ำกว่า

ความเป็นจริง

การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของบริษัทที่มุ่งเน้นพิจารณาเรื่อง ESG มากขึ้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า

ตลาดพัฒนาแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรป อาจเป็นผู้นำในด้านคุณภาพของข้อมูลที่บริษัทได้เปิดเผยตัวชี้วัดทาง ESG รวมทั้งในแง่ของการมีอันดับ ESG ที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับ ESG ไม่ได้มีความสำคัญต่อตลาด หากแต่เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของบริษัทเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตลาดเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ลงทุนไม่อาจพึ่งพาอันดับ ESG ได้เพียงอย่างเดียวแค่นั้น เพราะพบว่ามีบ่อยครั้งที่การจัดอันดับ ESG ของผู้ให้บริการในแต่ละรายอาจไม่เห็นพ้องต้องกันก็เป็นได้!

อย่าเลี่ยงหนีจากการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบในเอเชียและตลาดเกิดใหม่ ผู้กำหนดนโยบายในประเทศต่างๆ เหล่านี้หลายๆ แห่งกำลังปฎิบัติตามกรอบการทำงานเพื่อปรับปรุงการรายงาน ESG ในตลาดของตน ซึ่งจะกลายมาส่งผลต่อพฤติกรรมของบริษัทในทิศทางที่ดีขึ้น

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบอาจสกัดกั้นเราไม่ให้คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ในการลงทุน และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม

ความเชื่อที่ผิด ข้อที่ 1

ตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่า จึงให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเช่นกัน

ความเป็นจริง

ตราสารหนี้อาจนำเสนอผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่าหุ้น

จากข้อมูลในอดีตพบว่า ตราสารหนี้ทั่วโลกสามารถให้ผลตอบแทนแบบปรับความเสี่ยงที่ดีกว่าหุ้น โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอัตราส่วนที่เรียกว่า sharpe ratio (วัดผลตอบแทนที่ปรับความเสี่ยง) ของตราสารหนี้ทั่วโลกมีค่าสูงกว่าหุ้นทั่วโลกและหุ้นในเอเชีย1

ความเชื่อที่ผิด ข้อที่ 2

ราคาตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเมื่อราคาหุ้นปรับตัวลง

ความเป็นจริง

ตราสารหนี้อาจได้ประโยชน์จากปัจจัยเดียวกับที่ช่วยผลักดันราคาหุ้น

ตราสารหนี้มีแนวโน้มสร้างผลงานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีอัตราการเติบโตต่ำ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำหรืออยู่ในทิศทางที่ปรับตัวลง โดยปกติแล้วมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่หุ้นอ่อนแอ

อย่างไรก็ตาม ตราสารหนี้เอกชนที่ให้ผลตอบแทนสูง ยังอาจทำผลงานได้ดีในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูและหุ้นที่อยู่ในช่วงราคาวิ่งขึ้นแรง เนื่องจากผลกำไรที่แข็งแกร่งขึ้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงของตราสารเหล่านี้ได้โดยไม่กระทบการจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้น

ความเชื่อที่ผิด ข้อที่ 3

คุณไม่จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์แบบเชิงรุกสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้

ความเป็นจริง

ไม่ใช่ว่าตราสารหนื้ทั้งหมดจะถูกจัดทำขึ้นมาเหมือนๆ กัน

การลงทุนแบบ Passive investing ซึ่งเป็นการทำตามดัชนีที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานของตราสารหนี้อาจไม่เหมาะสมเสมอไปเพราะมักถูกครอบงำโดยประเทศหรือบริษัทที่ออกตราสารนั้นๆ มากที่สุด ซึ่งนั่นไม่ใช่เหตุผลที่ดีที่สุดในการครอบครองตราสารเสมอไป!

ตราสารหนี้ยังมาพร้อมกับความเสี่ยงที่แตกต่างกันในด้านเครดิต โอกาสการผิดนัดชำระหนี้ และความเสี่ยงด้าน ESG ตลอดจนระยะเวลาที่ครบกำหนดและความเสี่ยงจากค่าเงินที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ผู้ลงทุนจึงมีโอกาสได้รับประโยชน์จาก การคัดเลือกตราสารหนี้แบบเชิงรุก โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน

Sources:
1 ตราสารหนี้โลกเป็นการชี้วัดโดย Bloomberg Barclays Global Aggregate Index ส่วนตราสารหนี้โลกรวมเอเชียชี้วัดโดย MSCI AC World and MSCI Asia Pac ex Japan Indexes โดยเป็นข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2020

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของแต่ละกองทุน และข้อมูลอื่นๆ ในเว็บไซต์ www.eastspring.co.th อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้ การวัดผลการดำเนินงานของกองทุนบนเว็บไซต์นี้ ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ซึ่งผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน